17554 : การพัฒนาศักยภาพการผลิตกล้วยไม้นกคุ้มไฟด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/12/2564 15:44:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจําปีงบประมาณ 2565 แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผน งานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลัก เผย แพร่ความรู้งานบริการวิชาการและ ประชาสัมพันธ์แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุด หนุนทั่วไป เงินอุด หนุนโครงการบริการวิชาการ (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ) 2565 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผานิตย์  นาขยัน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.3 พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65 AP การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65 AP องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 65 AP ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรได้ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตลอดถึงการพัฒนาองค์ความรู้และผลักดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กล้วยไม้นกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmannicus Rolfe.) เป็นกล้วยไม้ดิน (terrestrial orchids) ที่มีเหง้าอวบน้ำทอดเลื้อยไปตามพื้นดินในป่าดิบที่ระดับความสูง 900-1200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีลวดลายบนผืนใบที่งดงามมาก จัดอยู่ในกลุ่ม jewel orchids หรือกลุ่มที่มีใบสวยมีเกล็ดประกายระยิบระยับสะท้อนแสง และมักมีลวดลายตัดกันของสีอย่างชัดเจน ปัจจุบันนกคุ้มไฟในธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการบุกรุกป่าทำพื้นที่การเกษตร และเมื่อสภาพป่าเปลี่ยนไป ความชื้นในอากาศลดน้อยลงจนไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต กล้วยไม้ชนิดนี้ก็ค่อยๆหายไปในที่สุด ปัจจุบันสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านในโครงการหมู่บ้านอนุรักษ์ฟ้ามุ่ย หมู่บ้านโป่งไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ทำการเพาะเมล็ดขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ และขยายเพิ่มจำนวนโดยปักชำในอาหารวุ้นในสภาพปลอดเชื้อ (สมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ในพระปรมราชินูปถัมภ์, 2561) นอกจากนี้ยังมีคุณค่าทางคลินิก โดยมีสารสกัดที่มีคุณสมบัติต่อต้านโรคเรื้อรัง (Chronic disease) หลายโรค เช่น antioxidative stress, anti-inflammation, and anti-insulin (Budluang et al. 2017) จากความสำคัญและความเสี่ยงของการสูญพันธุ์ของกล้วยไม้นกคุ้มไฟดังกล่าวมาแล้ว จึงจำเป็นต้องหาแนวทางการพัฒนากล้วยไม้นกคุ้มไฟอย่างเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตามด้วยลักษณะทางสรีระวิทยาของนกคุ้มไฟที่มีความซับซ้อนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการขยายพันธุ์ที่ไม่ค่อยติดดอกออกฝัก เนื่องจากมีระบบการผสมเกสรที่สลับซับซ้อน อาจรวมไปถึงการต้องการแมลงช่วยผสมเกสร (Dressler, 1981; Benzing, 1982; Jones, 1993 อ้างใน Batty A. L. et al, 2002) นอกจากนี้กล้วยไม้ดินยังมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในธรรมชาติเนื่องจากหลากหลายสาเหตุ ได้แก่ ไฟไหม้ป่า การขยายพื้นที่การเกษตรหรือการขยายตัวของเมือง การทำเหมืองแร่ หรือแม้กระทั่งการลักลอบซื้อหาเพื่อการสะสมที่ไม่ถูกวิธี (Batty A. L. et al, 2002) จึงทำให้การขยายพันธุ์นกคุ้มไฟในธรรมชาติเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก และอาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคต หากไม่มีการหาวิธีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในปีที่ผ่านมามีการศึกษาเพื่อพยายามในการขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงให้นกคุ้มไฟมีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาต่อในรูปการผลิตเชิงพาณิชย์ หากผลการศึกษาทั้งด้านการผสมพันธุ์เกสรเพื่อการเพาะเมล็ดสามารถดำเนินการสำเร็จไปได้ระดับหนึ่ง ด้วยพบปัญหาอุปสรรคเมล็ดที่ผสมมีลักษณะไม่สมบูรณ์ การเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ(Tissue culture) จากชิ้นส่วนของต้นสามารถทำได้สำเร็จแต่การเพาะเมล็ดนกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อยังไม่ประสบความสำเร็จนัก จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความสัมพันธ์ของระบบการเจริญเติบโตของนกคุ้มไฟกับปัจจัยอื่นและพัฒนาการเพาะขยายพันธุ์ต่อไป นักวิทยาศาสตร์ Batty A. L. et al. (2002) กล่าวว่ากล้วยไม้ดินมักมีความเฉพาะเจาะจงกับถิ่นที่อยู่ โดยเฉพาะพันธุที่หายาก ในที่นี้หมายรวมถึงมีการพึ่งพิงกับเชื้อราที่เฉพาะเจาะจงที่เรียกว่าความสัมพันธ์แบบพึ่งพา Mycorrhiza เนื่องจากเมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมากและไม่มีอาหารสะสม การงอกในธรรมชาติจึงเป็นไปอย่างลำบาก แต่อย่างไรก็ตามเมล็ดกล้วยไม้หลายชนิดจะสามารถงอกและเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีไมคอร์ไรซา (อบฉันท์, 2549; ปวริส และคณะ, 2557) หรือใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาที่เข้ากันได้(fully compatible) หรือที่มีความเฉพาะเจาะจงกับชนิดกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ (สุรีย์พร, 2556)ทั้งนี้เชื้อราที่อาศัยอยู่ในรากกล้วยไม้โดยทั่วไปเป็นเชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซา (endomycorrhiza) ซึ่งมีความสำคัญต่อกันและกันระหว่างกล้วยไม้และเชื้อราชนิดนี้แบบพึ่งพาอาศัยกัน เชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซาจะช่วยอาหารอาหารและน้ำให้เมล็ดกล้วยไม้ ทำให้เมล็ดกล้วยไม้สามารถเจริญเติบโตเป็นลูกกล้วยไม้และต้นกล้วยไม้ได้ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้กล้วยไม้มีสุขภาพดี แข็งแรง ในขณะที่กล้วยไม้จะให้สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตแก่เชื้อรา นอกจากนี้ สุรีย์พร (2556) กล่าวว่ามีกล้วยไม้หลายชนิดที่ไม่สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ(tissue culture) เพียงอย่างเดียว แต่สามารถเพาะเลี้ยงสำเร็จโดยการเพาะเมล็ดแบบสมชีพหรือการเพาะเมล็ดโดยร่วมกับราไมคอร์ไรซากล้วยไม้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจเชื้อราไมคอร์ไรซากล้วยไม้ในพื้นที่ธรรมชาติของกล้วยไม้นกคุ้มไฟ และศึกษาผลของเชื้อราไมคอร์ไรซาที่มีต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้นกคุ้มไฟโดยการเพาะเลี้ยงแบบสมชีพ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์และใช้ในการขยายพันธุ์ต่อยอดในด้านต่างๆ ของกล้วยไม้นกคุ้มไฟต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อสำรวจเชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซากล้วยไม้ในพื้นที่ธรรมชาติของกล้วยไม้สมุนไพรนกคุ้มไฟ
เพื่อศึกษาผลของเชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซาที่มีต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สมุนไพรนกคุ้มไฟ
เพื่อศึกษาผลของเชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซาที่มีต่อปริมาณสารสำคัญในกล้วยไม้สมุนไพรนกคุ้มไฟ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การพัฒนาศักยภาพการผลิตกล้วยไม้นกคุ้มไฟด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
KPI 1 : ตัวชี้วัดที่ 1 จำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ชนิด 5
KPI 2 : ตัวชี้วัดที่ 2 รายงานและบทความเชิงวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เรื่อง 2
KPI 3 : ตัวชี้วัดที่ 3 องค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เรื่อง 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การพัฒนาศักยภาพการผลิตกล้วยไม้นกคุ้มไฟด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : การสำรวจและศึกษาศักยภาพของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ จากกล้วยไม้ดินสกุล Anoectochilus burmannicus

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชชานนท์  สมบูรณ์ชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ปรมินทร์  นาระทะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ระวี  คเณชาบริรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.รุ่งทิพย์  กาวารี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการช่วยปฏิบัติงานในห้องทดลองและโรงเรือน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
14,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
34,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 34,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 114600.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : การทดสอบผลของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่มีต่อการเจริญเติบโตกล้วยไม้นกคุ้มไฟ Anoectochilus burmannicus ในสภาพปลอดเชื้อและสภาพโรงเรือน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.รุ่งทิพย์  กาวารี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการเตรียมวัสดุทางการเกษตรและอุปกรณ์เพาะเลี้ยงกลัวยไม้และ เพาะเลี้ยง ดูแล และบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูลเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่มีต่อการเจริญเติบโตกล้วยไม้นกคุ้มไฟ Anoectochilus burmannicus
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 85400.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง เป็นเรื่องทางเทคนิคในระบบการทำงาน ที่ผู้ปฏิบัติงานรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จัดการเรื่องระบบไฟฟ้าของตู้แช่แข็งเชื้อจุลินทรีย์ไม่ดีพอเกิดความเสียหายแก่เชื้อจุลินทรีย์จำนวนหนึ่ง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ต้องมีการควบคุมผู้ปฏิบัติอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล