17546 : การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบเติบโตของนกคุ้มไฟในระบบไมโครโพนิกส์และผลต่อการรอดชีวิตหลังย้ายปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
ดร.ณิชมน ธรรมรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/11/2564 12:16:51
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2565 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา  ภูมิสุทธาผล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4.การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1.4 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สกุล Anoectochilus เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีที่อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 35 ชนิด (species) พบการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนจากประเทศอินเดียผ่านเทือกเขาหิมาลัย จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปยังทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะควีนแลนด์ และทางตอนใต้ของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกโดยในประเทศไทยพบ 6 ชนิด คือ Anoectochilus burmanicus, Anoectochilus lylei, Anoectochilus roxburghii, Anoectochilus albolineatus, Anoectochilus geniculatus และ Anoectochilus reinwardtii กล้วยไม้สกุล Anoectochilus เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กล้วยไม้อัญมณี (jewel orchid)” ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่มีใบสวยมีเกล็ดประกายสะท้อนแสง เนื่องจากสีของเส้นใบที่โดดเด่นคล้ายอัญมณี กล้วยไม้สกุลนี้เป็นไม้ในร่ม เจริญเติบโตดีในพื้นที่ชื้นแฉะที่มีซากผุของหินและซากทับถมของใบไม้ ในต่างประเทศมีการศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของกล้วยไม้สกุล Anoectochilus โดยมีการรายงานว่า Anoectochilus roxburghii, Anoectochilus formasamus, Anoectochilus koshunensis และ Anoectochilus elwesii ใช้รักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับไตและตับ ช่วยกระตุ้นการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในเซลล์ที่ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับกล้วยไม้สกุลนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่กล้วยไม้สกุลนี้ที่พบในประเทศไทย อาจมีสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกัน นกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmanicus Rolfe) เป็นกล้วยไม้ดินขนาดเล็ก ลักษณะลำต้นทอดชูยอด ใบรูปรีแกมรูปไข่หรือรีกว้างจนเกือบกลม ขนาดของใบกว้าง 3 ซม. ยาว 5 ซม. ปลายใบแหลม สีม่วงคล้ำ มีลายร่างแหสีแดง ช่อดอกยาว 6 - 8 ซม. ช่อดอกมีลักษณะมีขนปกคลุม ดอกขนาด 1 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปรี กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปขอบขนานและเบี้ยว ปลายกลีบมน ทั้งสามกลีบสีม่วงแดง ด้านหลังมีขนปกคลุม กลีบดอกเชื่อมกันกับกลีบเลี้ยงบน กลีบปากสีเหลืองสด กลางกลีบเป็นรูปแถบและมีครีบอยู่ด้านหลัง ปลายกลีบแผ่ออกเป็นสองแฉก มีเดือยดอกรูปกรวย พบในป่าดิบเขาริมลำธาร ที่ดินเป็นดินร่วนปนทรายและมีเศษซากพืชทับถม แสงแดดรำไร เขตกระจายพันธุ์แถบประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศลาว โดยพบครั้งแรกในประเทศพม่า ส่วนประเทศไทยพบที่ เชียงใหม่ ตาก และเลย ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ช่วงออกดอกจะไม่ทิ้งใบ (ภาพที่ 1) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเพิ่มการผลิตต้นพันธุ์พืชให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งช่วยลดปัญหาการลักลอบนำพืชออกมาจากแหล่งธรรมชาติ จึงเป็นแนวทางที่สำคัญอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการขยายพันธุ์กล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟให้ได้ปริมาณมาก อย่างไรก็ตามในขั้นตอนต่าง ๆ ของการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีขั้นตอนที่เป็นระยะวิกฤติ คือ ระยะการชักนำให้ออกราก ซึ่งจะส่งผลให้ต้นแข็งแรงและเจริญเติบโตดีหลังย้ายปลูก และระยะการย้ายปลูกและปรับสภาพต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หากปฏิบัติไม่เหมาะสมอาจประสบปัญหาอัตราการรอดชีวิตของพืชต่ำ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในโรงเรือนและในภาชนะเพาะเลี้ยงแตกต่างกันมาก ดังนั้นต้องอาศัยวิธีการปรับสภาพต้นที่เหมาะสมเพื่อให้ต้นพันธุ์มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น แนวทางหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อปรับสภาพต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ ระบบไมโครโพนิกส์ (microponic system) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและระบบไฮโดรโพนิกส์ (hydroponic system) ซึ่งสามารถลดพื้นที่เพาะเลี้ยงและการปฏิบัติดูแลพืชทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก โดยพืชที่เลี้ยงในระบบไมโครโพนิกส์เมื่อนำไปออกปลูกจะมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น นอกจากนี้ในการนำพืชในที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากพืชได้รับสารอาหารและน้ำต่อเนื่อง ทำให้มีการเจริญเติบโตดี มีความสะอาดสูงเนื่องจากไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก รวมทั้งสามารถควบคุมโรคและแมลงศัตรูได้ง่าย โครงการนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของนกคุ้มไฟที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเมื่อนำมาเพาะเลี้ยงต่อในระบบไมโครโพนิกส์ เพื่อเป็นการชักนำการออกรากและปรับสภาพต้นก่อนย้ายปลูก และทดสอบการรอดชีวิตหลังย้ายปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ โดยคาดหวังว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งไมโครโพนิกส์และไฮโดรโพนิกส์ จะสามารถผลิตต้นพันธุ์นกคุ้มไฟที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการแบบดั้งเดิม ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะเป็นแนวทางที่สามารถนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนกคุ้มไฟเชิงพาณิชย์หรือเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการสกัดสารพฤกษเคมีสำคัญต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของนกคุ้มไฟที่เพาะเลี้ยงในระบบไมโครโพนิกส์และผลต่อการรอดชีวิตหลังย้ายปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การเจริญเติบเติบโตของนกคุ้มไฟในระบบไมโครโพนิกส์และผลต่อการรอดชีวิตหลังย้ายปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์
KPI 1 : จำนวนรายวิชาที่ประยุกต์ใช้โครงการฯ ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
KPI 2 : สภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของนกคุ้มไฟในระบบไมโครโพนิกส์และผลต่อการรอดชีวิตหลังย้ายปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 3 : กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ครั้ง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การเจริญเติบเติบโตของนกคุ้มไฟในระบบไมโครโพนิกส์และผลต่อการรอดชีวิตหลังย้ายปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบเติบโตของนกคุ้มไฟในระบบไมโครโพนิกส์และผลต่อการรอดชีวิตหลังย้ายปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ภูมิสุทธาผล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางภานรินทร์  ปรีชาวัฒนากร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสร้างชุดอุปกรณ์ไฮโดรโพนิกส์ (1 ชุด x 30,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงานระดับปริญญาโท (1 คน x 240 บาท x 200 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,200.00 บาท 19,200.00 บาท 19,200.00 บาท 2,400.00 บาท 48,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 112,750 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
40,000.00 บาท 50,000.00 บาท 22,750.00 บาท 0.00 บาท 112,750.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 190750.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/11/2564 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ภูมิสุทธาผล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางภานรินทร์  ปรีชาวัฒนากร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25 คน x 2 มื้อ x 25 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,250.00 บาท 1,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (25 คน x 1 มื้อ x 80 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 9250.00
ชื่อกิจกรรม :
สรุปและรายงานผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ภูมิสุทธาผล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางภานรินทร์  ปรีชาวัฒนากร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล