17525 : โครงการ "ศึกษาสารสกัดสมุนไพรเสม็ดขาวเพื่อยับยั้งเชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora palmivora) สาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางณิชาพล บัวทอง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/11/2564 10:16:30
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2564  ถึง  30/09/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนและผู้ที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง ณิชาพล  บัวทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ นาตาลี อาร์  ใจเย็น
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.3 พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.1 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 37. พัฒนาองค์ความรู้และผลักดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโลกกำลังประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะทางการเกษตร มีการใช้สารเคมีปริมาณมากในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในธรรมชาติ และมีผลทางอ้อมต่อสุขภาพของมนุษย์ ทั่วโลกจึงได้ตื่นตัวในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสารสกัดจากธรรมชาติมาใช้ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรเพื่อให้มีความปลอดภัยต่อระบบนิเวศน์ มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พืชสมุนไพรหลายชนิดมาใช้ในการยับยั้งและป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้เช่นเดียวกับสารเคมี ซึ่งเสม็ดขาว(Melaleuca cajuputi Powell) เป็นพืชที่น่าสนใจชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นไม้พื้นเมือง และพบมากในบริเวณป่าชายเลนและป่าพรุ ได้มีรายงานการค้นพบสาร cineole (นิจศิริและพยอม, 2534) และในน้ำมันหอมระเหยจากใบเสม็ดขาวมีสาร cineole, beta-pinene, alpha-terpineol ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้หลายชนิด เช่น Proteus vugaris, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli เชื้อรา Penicillium notatum และ Aspergillus niger เชื้อราก่อโรคผิวหนัง Epidermophyton floccosum และ Trichophyton rubrum เชื้อยีสต์ Candida albican (Christop และคณะ , 2000) จากข้อมูลข้างต้นพบว่า สารสกัดและน้ำมันหอมระเหยจากใบเสม็ดขาวสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ แบคทีเรียและเชื้อราได้หลายชนิด การวิจัยนี้จึงได้นำมาทดลองยับยั้งโรครากเน่าและโคนเน่า (root rot and stem rot) ที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora palmivora. ในทุเรียน การปลูกทุเรียนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเกษตรกรมักประสบปัญหากับโรคพืชที่สำคัญ ได้แก่ โรครากเน่าและโคนเน่า (root rot and stem rot) ที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora palmivora (Butler.) Butler (เชษฐา, 2541; ปัญจมาและสมศิริ, 2545) โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก การแพร่ระบาดของ เชื้อโรคจะรุนแรง ส่งผลให้ต้นทุเรียนได้รับความเสียหายถึงร้อยละ 72.8 (ปัญจมา, 2546) สามารถเกิดได้ตั้งแต่ทุเรียนเป็นต้นกล้าจนถึงต้นโต สามารถเกิดได้กับทุกส่วนของต้นทุเรียน ตั้งแต่ ราก ลำต้น ใบและผล พื้นที่ปลูกที่เหมาะแก่การแพร่ระบาดของโรค คือ สภาพที่มีฝนตกชุกตลอดเวลา ความชื้นในดินและอากาศสูง ลมพายุพัดผ่าน เหมาะกับการเจริญของเชื้อราสาเหตุของโรค ทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างรุนแรง เชื้อไฟทอฟธอรา เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่ในดิน เชื้อไฟทอฟธอรา อาจมีหลายชนิดที่เข้าทำลายทุเรียนมีชื่อว่า Phytophthora palmivora (ไฟทอฟธอรา ปาล์มมิโวลา) เชื้อจะสามารถสร้างสปอร์พิเศษมีผนังหนา (chlamydospores) ที่ทนสภาพแวดล้อมได้ดี มีชีวิตอยู่ในดินได้นานภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อไฟทอฟธอรา เช่น อากาศแห้งแล้ง ดินขาดน้ำ เมื่อดินได้น้ำในหน้าฝน เชื้อก็จะเจริญเติบได้ต่อไป ดังนั้น ในช่วงหน้าแล้ง โรคจะไม่ระบาด ไม่มีโรคไฟทอฟธอราบนต้นทุเรียน แต่เมื่อเข้าหน้าฝน โรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น (จากงานวิจัยวิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บรวบรวมโรครากเน่าและโคนเน่า ในการศึกษาข้อมูลเชื้อ Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่า จากแหล่งปลูกทุเรียนจริง เพื่อใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมและการประยุกต์ใช้ในงานวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลต่อยอดงานวิจัยและนำไปใช้ได้จริงในอนาคตต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาสารสกัดสมุนไพรเสม็ดขาวเพื่อยับยั้งเชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora palmivora) ในโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ตัวอย่างสารสกัดสมุนไพรเสม็ดขาวเพื่อยับยั้งเชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora palmivora) สาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 4 : จำนวนตัวอย่างงานวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ตัวอย่าง 100
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 6 : เนื้อเยื่อเสม็ดขาว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ขวด 100
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ตัวอย่างสารสกัดสมุนไพรเสม็ดขาวเพื่อยับยั้งเชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora palmivora) สาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน
ชื่อกิจกรรม :
สารสกัดสมุนไพรเสม็ดขาวเพื่อยับยั้งเชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora palmivora) สาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน
1) เตรียมตัวอย่างพืชเสม็ดขาวและเชื้อไฟทอฟธอรา
2) ศึกษาพัฒนาเทคนิคการเตรียมเชื้อไฟทอฟธอราและตัวอย่างสารสกัดเสม็ดขาวจากส่วนต่างๆ
3) ทดลองเชื้อราไฟทอฟธอราโดยการยับยั่งตัวอย่างด้วยสารสกัดเสม็ดขาว
4) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเสม็ดขาว
5) เก็บ/วิเคราะห์ข้อมูล
6) สรุปผลรายงานฉบับสมบูรณ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2564 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางณิชาพล  บัวทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์นาตาลี อาร์  ใจเย็น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ, ปากกา, แฟ้มฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น กระถาง, ดิน, ไม้ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น มีด, กะละมัง, กระดาษชำระ ฯลฯ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ จานแก้ว, วุ้น, สารเคมี ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
หลักการเพาะเลี้ยงและการจัดจำแนกเชื้อจุลินทรีย์ ประสิทธิภาพของสมุนไพรต่อการยับยั่งเชื้อจุลินทรีย์
ช่วงเวลา : 01/12/2564 - 31/03/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล