17338 : โครงการ "การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุด" (โครงการ 1 คณะ 1 ผลิตภัณฑ์)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/9/2564 16:42:00
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2564  ถึง  31/12/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เกษตรกร และประชาชนที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการ 1 คณะ 1 ผลิตภัณฑ์ 2564 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลดรงค์  ทองสง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธิรักษ์  ผลเจริญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. บุญศิลป์  จิตตะประพันธ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.2 มีผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.15 จำนวนงานวิจัยที่นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
กลยุทธ์ 64 MJU 2.2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 3. การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมการเป็นมหาวิทยาลัยสุขภาวะ (well-being)
เป้าประสงค์ MJU64 : 3.2 ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด 3.2.1 จำนวนผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์แก่หน่วยงานภายนอกอย่างเป็นรูปธรรมและมีการรับรองการใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ 4. ผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โครงการการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุด เป็นโครงการที่ได้น้อมนำศาสตร์ของพระราชา แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ในการทำการเกษตรแบบพอเพียง ดังนั้นโครงการนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งตามปรัชญามหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านการเกษตรและเป็นมหาลัยเกษตรอินทรีย์แห่งแรกที่พร้อมให้บริการวิชาการแก่สังคม นอกจากนี้องค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการทำโครงการสามารถบริการวิชาการองค์ความรู้ และถ่ายทอดให้กับเกษตรกรหรือผู้สนใจ ตลอดจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในอนาคตได้ เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลพลอยได้และเศษเหลือทิ้งจากเปลือกมังคุดให้กับผู้ที่สนใจต่อไปนําเปลือกมังคุดไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย โดยทั่วไปในมังคุด 1 ผล ประกอบด้วยส่วนเปลือกร้อยละ 83 เนื้อร้อยละ 15 และเมล็ดร้อยละ 2 โดยน้ําหนัก ดังนั้นผลพลอยได้และเศษเหลือทิ้งส่วนใหญ่ คือ เปลือกมังคุด หากมีวิธีการกําจัดไม่ถูกวิธีอาจสร้างปัญหาต่ออุตสาหกรรมการแปรรูปมังคุด ซึ่งอาจกลายเป็นขยะในรูปของแข็งปริมาณมาก การสร้างมูลค่าเพิ่มจากเปลือกมังคุดจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ มังคุดอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เปลือกมังคุดเป็นแหล่งของสารฟีนอลิก มีสรรพคุณทางยา โดยใช้เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสีย สารฟีนอลิกสําคัญที่พบในมังคุด ได้แก่ แซนโทน แทนนิน และโปรแอนโทไซยานิน สารแซนโทนพบมากในเปลือกมังคุด เมล็ด และเนื้อมังคุด ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบในยางสีเหลืองที่ผิวเปลือกมังคุด ปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนาสกัดสารแซนโทนจากมังคุด โดยแซนโทนเป็นสารเคมีเชิงซ้อนที่มีคาร์บอนและออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ มีคุณประโยชน์อย่างมากในด้านเวชกรรม อุตสาหกรรม เครื่องสําอาง และนําไปเป็นส่วนประกอบอาหารที่ให้ประโยชน์อย่างมากทั้งในด้านโภชนาการและสมุนไพร จากการศึกษาและวิจัยพบว่า สารสกัดในเปลือกมังคุดมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Phytophthora palmivora Butler. และเชื้อ Corticium salmonicolor Berk & Br. เมื่อนำไปสกัดและนำไปวิเคราะห์หาปริมาณของสารออกฤทธิ์ที่สกัดได้ ด้วยเทคนิค HPLC พบว่าสามารถสกัดสารแซนโทน (Xanthones) จากเปลือกมังคุดได้ 1.2023 mg/g ของเปลือกมังคุด จากการทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกมังคุด พบว่าบริเวณยับยั้งเชื้อ (Inhibition zone) ของสารสกัดจากเปลือกมังคุดมีค่ามาก และการทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (MIC) ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด สำหรับเชื้อ Phytophthora palmivora Butler. มีค่าเท่ากับ 13.3 mg/ml และเชื้อ salmonicolor Berk & Br. มีค่าเท่ากับ 5.29 mg/ml และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ (MBC) ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด สำหรับเชื้อ Phytophthora palmivora Butler. มีค่าเท่ากับ 23 mg/ml และเชื้อ salmonicolor Berk & Br. มีค่าเท่ากับ 13.3 mg/ml ซึ่งพบว่าสารสกัดจากเปลือกมังคุดใช้ความเข้มข้นน้อยที่สุด (233 mg/ml) ในการยับยั้งเชื้อทั้ง 2 ชนิด จากผลการทดลองข้างต้นแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเปลือกผลมังคุด มีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาสารสกัดสารแซนโทนจากเปลือกมังคุดเข้มข้นที่ได้ผลจากการทดลองและวิจัยที่มีประสิทธิภาพสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ผงสารสกัดเปลือกมังคุดเข้มข้น คือ สารแซนโทน (Xanthone) เป็นการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสุขภาวะ (well-being) สามารถมาใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตร ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรค มีความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งของเปลือกมังคุดในภาคด้านเกษตร และสามารถลดปริมาณขยะปัญหาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน เป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคและแมลงได้ดีกว่าผลิตภัณฑ์เคมีที่มีขายตามท้องตลาดปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคมุ่งเน้นที่จะทดแทนการใช้สารเคมี และลดความเสี่ยงต่อสารพิษตกค้าง ให้มีความปลอดภัยต่อผู้ผลิตผู้บริโภคและเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นการต่อยอดนำเอาคุณประโยชน์ของสารสกัด Xanthone ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราสาเหตุโรคพืชต่อไป ดังนั้นผลิตภัณฑ์ผงสารสกัดแซนโทนที่นำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในระบบการผลิตแบบปลอดภัยไร้สารพิษตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้บริโภค เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยเป็นการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง รวมถึงเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้จากงานวิจัยและพัฒนา

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้จากงานวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยเป็นการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และเพื่อบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสกัดสารแซนโทนในเปลือกมังคุด
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสารป้องกันโรคและแมลงจากเปลือกมังคุด 1 ผลิตภัณฑ์
KPI 1 : จำนวนของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
ผลผลิต : เอกสารคู่มือการผลิต
KPI 1 : คู๋มือการผลิต
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 คู่มือ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสารป้องกันโรคและแมลงจากเปลือกมังคุด 1 ผลิตภัณฑ์
ชื่อกิจกรรม :
การผลิตผลิตภัณฑ์สารสกัด Xanthone จากเปลือกมังคุด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 30/09/2564 - 31/12/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา  จินดาซิงห์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
เช่น หมึกพิมพ์ กระดาษสติ๊กเกอร์กันน้ำ กระดาษปริ้นรูป ฯลฯ เป็นเงิน 45,000 บาท
2) ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
เช่น ขวดแกลลอนพร้อมฝา ถุงฟลอยด์ซิป ฟิลม์หด ฯลฯ เป็นเงิน 55,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
ผลผลิต : เอกสารคู่มือการผลิต
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาโรคพืช ปีการศึกษา 2563
ช่วงเวลา : 01/06/2563 - 31/05/2564
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
การใช้สารสกัด Xanthone จากเปลือกมังคุดป้องกันกำจัดโรคในทุเรียน
ช่วงเวลา : 01/09/2563 - 31/10/2564
ตัวชี้วัด
สมศ 6 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำมาใช้ประโยชน์
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล