17259 : SAS-64-โครงการอบรมการเขียนและนำเสนอผลงานวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ศิริกานดา ไข่คำ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/10/2564 17:45:05
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/05/2564  ถึง  31/07/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  บุคลากรสังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์และผู้สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินสะสมเพื่อบริหารเงินเหลือจ่าย แผนงานยุทธศาสตร์ ผลผลิตผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ กิจกรรมสนัสนุนบริหารจัดการทั่วไป แผนงานบริหารมหาวิทยาลัย งานบริหารทั่วไป กองทุนทั่วไป งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการพัฒนางานเดิมยุทธ์ 2 2564 3,600.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. ภัคสุณีย์  ดวงงา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.5 มีระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.26 ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตาม Training Program
กลยุทธ์ 64 MJU 2.5.7 สนับสนุนบุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาสมรรถนะตาม Training Roadmap ของแต่ละตำแหน่ง ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานหรือสูงกว่าที่มาตรฐานกำหนด
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64 (6) พัฒนาระบบบริหารและการจัดการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ตามแนวทางการบริหารภาครัฐแนวใหม่
เป้าประสงค์ SAS 63-65 (6.1) ยกระดับการบริหารวิทยาลัยบริหารศาสตร์สู่วิทยาลัยชั้นนำ
ตัวชี้วัด SAS 64 ความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร
กลยุทธ์ SAS สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรตามสมรรถนะและความต้องการของวิทยาลัยเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพตามสายงาน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ภาษาต่างประเทศในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญยิ่งและเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้พัฒนาศักยภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก การเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของหน่วยงานเพื่อให้มีทักษะด้านภาษาต่างประเทศในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสาร แสวงหาความรู้ สร้างความร่วมมือ เจรจาต่อรอง และสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพได้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ประกอบกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากร โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ เพื่อมุ่งสู่การบรรลุวิสัยทัศน์อันได้แก่ “การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ” ผลงานทางวิชาการนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ประกอบกับการศึกษา ค้นคว้าทางวิชาการ นำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการเป็นการนำเอาความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ที่ผ่านการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย มากำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบาย มีการวิเคราะห์ตามหลัก วิชาการซึ่งต้องมีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนและสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้น ๆ อย่างเป็นระบบ เมื่อสร้างสรรค์แล้วก็ย่อมมีการเผยแพร่ผลงานดังกล่าวออกไป ซึ่งกระทำในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบวารสาร การประชุมวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการเขียนผลงานทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติและระดับนานาชาติ ต้องมีการประมวลความคิดอย่างมีระเบียบ ถ่ายทอดเป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน สามารถสื่อความรู้ความเข้าใจกับผู้อ่านได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผลงานวิชาการนั้น ซึ่งในปัจจุบันผลงานทางวิชาการที่นำเผยแพร่ในวารสารวิชาการของไทยมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมตามหลักเกณฑ์พื้นฐานของสากล มีกระบวนการของวารสารวิชาการที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อผลักดันให้ได้เผยแพร่และยกระดับที่สูงขึ้นในระดับนานาชาติ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาการที่จำเป็นต้องผลิตผลงานวิชาการรองรับการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นทุกระดับ และเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาตัวเองเข้าสู่ระดับนานาชาติ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมการเขียนและการนำเสนอผลงานวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อให้บุคลากร นักวิจัย และผู้สนใจ เข้าใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ทั้งการสร้างสรรค์ผลงานเองหรือการอ้างอิงและการใช้ผลงานของผู้อื่น รวมถึงการเผยแพร่ผลงานในช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะการตีพิมพ์หรือนำเสนอผลงานในระดับนานาชาติได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการเขียนและนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศ
เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตผลงานวิจัย งานวิชาการ และงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ อันส่งผลให้หน่วยงานสามารถบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อพัฒนาผลงานวิชาการของบุคลากรสำหรับตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติและระดับนานาชาติ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้เพิ่มพูนประสบการณ์ในการเขียนและนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้เพิ่มพูนประสบการณ์ในการเขียนและนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้เพิ่มพูนประสบการณ์ในการเขียนและนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ
ชื่อกิจกรรม :
บรรยายเทคนิคการเขียนและการนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/07/2564 - 14/07/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ภัคสุณีย์  ดวงงา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 1,200 บาท x 3 ชั่วโมง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล