16958 : โครงการ “แม่โจ้ชวนยิ้ม ชิมกัญ(ชา)”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.พรทิวา ชัยคำเพ็ชร์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/2/2564 14:58:00
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/02/2564  ถึง  28/02/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  ร้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ และต่างจังหวัด ที่มีความสนใจ สื่อมวลชน และบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2564 180,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน  มะโนชัย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ
กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 64 MJU 1.2 มีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (Organic farm & fruit)
ตัวชี้วัด 64 MJU 1.3 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์กัญชงกัญชาคุณภาพสูง
กลยุทธ์ 64 MJU 1.2.3 สร้างความเป็นเลิศด้านกัญชงและกัญชา
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามความในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 ได้ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. ๒๕๒๒ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (1) กัญชา (cannabis) พืชในสกุล Cannabis และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชาในส่วนของเปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก และกากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก (2) กัญชง (hemp) พืชซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. sativa อันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชง ในส่วนของเปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก เมล็ดกัญชง (hemp seed), น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง (hemp seed extract) และกากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชงและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายของรัฐบาล และสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องการพัฒนามหาวิทยาลัยตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย สู่ปีที่ 100 จึงจะจัดให้มีโครงการ “แม่โจ้ชวนยิ้มชิมกัญ(ชา)” ขึ้นในวันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ณ โรงปลูกกัญชาทางการแพทย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ บริเวณพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยจะเชิญร้านอาหารมาร่วมประกอบอาหารจากชิ้นส่วนกัญชา ส่วนที่ไม่เป็นยาเสพติด เพื่อเป็นการสร้างความรู้และความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด โดยสามารถนำมาประกอบอาหารในครัวเรือนหรือจำหน่ายในร้านอาหารของตัวเองได้ แต่ต้องมาจากผู้ได้รับอนุญาตปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับอนุญาตผลิต (ปลูก) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เป็นใบอนุญาตเลขที่ 7/2562 (ปลูก) และใบอนุญาตเลขที่ 8/2562 (ปลูก) และได้ขอแก้ไขการขอเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของโครงการปลูกกัญชา และปรับแก้ไขแผนการผลิตการใช้ประโยชน์และแผนการจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1) เพื่อเป็นการเสริมสร้างและถ่ายทอดความรู้ในการบริโภคและประกอบอาหารจากส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด อย่างปลอดภัย
2) เพื่อส่งเสริมนโยบายของรัฐบาล และสนับสนุนประชาสัมพันธ์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย สู่ปีที่ 100
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : รายการอาหารจากส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ที่มีความปลอดภัย
KPI 1 : จำนวนร้านอาหารที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 ร้าน 40
KPI 2 : การเสริมสร้างความรู้ผ่านการประกอบอาหารจากส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 รายการ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : รายการอาหารจากส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ที่มีความปลอดภัย
ชื่อกิจกรรม :
จัดงาน“แม่โจ้ชวนยิ้ม ชิมกัญ(ชา)”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/02/2564 - 21/02/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน  มะโนชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ  ตันโช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.จงรักษ์  บัวลอย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดงาน “แม่โจ้ชวนยิ้ม ชิมกัญ(ชา)”
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
164,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 164,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บรวบรวมข้อมูล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
15,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 180000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล