16812 : โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางรัตนา ศรีวิชัย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/1/2564 10:00:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา และกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการพระราชดำริประจำปี 2564 2564 168,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ธนวัฒน์  รอดขาว
นาย อดิศักดิ์  การพึ่งตน
น.ส. จันทร์เพ็ญ  สะระ
นาง วิไลวรรณ  สถาพรศรีสวัสดิ์
นาย บุญรัตน์  ยิ่งโยชน์
นาง รัตนา  ศรีวิชัย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ วส64-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก(MOC)
เป้าประสงค์ วส64-1.6 เป็นหน่วยงานที่สนองงานโครงการตามพระราชดำริ
ตัวชี้วัด วส64-14. ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการโครงการตามพระราชดำริ
กลยุทธ์ วส64-1.6.1 สนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521 จึงได้มีพระราชกระแสร์รับสั่งให้สถาบันฯ หาลู่ทางเพื่ออนุรักษ์ และพัฒนาต้นน้ำห้วยแม่โจ้ และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้งแก่ราษฎรในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการสอนพระราชประสงค์ โดยขั้นแรกมหาวิทยาลัย ได้ประสานงานกับสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ สำรวจสภาพพื้นที่และแหล่งน้ำโดยทั่วไป และได้ขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวางแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านในทุกด้านอย่างสอดคล้องกับความนึกคิด ความต้องการ และความร่วมมือร่วมใจของราษฎรอันแท้จริง ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ และได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมชลประทานพิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นบริเวณต้นน้ำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรของราษฎร และได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดทำแปลงปลูกไม้ใช้สอยสำหรับหมู่บ้านโปงและหมู่บ้านใกล้เคียง ตลอดจนส่งเสริมบริการด้านการเพาะปลูก พร้อมทั้งพัฒนาอาชีพและแปรรูปผลผลิตเกษตร ให้มีการเก็บรักษาและจำหน่ายต่อไป และเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร โครงการพระราชดำริบ้านโปง ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ บริเวณบ่อน้ำแท่นพระยาหลวงโดยมีพระราชกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณาจารย์ นักศึกษา ช่วยกันดูแลรักษาและให้ปลูกไม้โตเร็วเพิ่มเติมเพราะเป็นต้นน้ำลำธาร เช่น ให้ปลูกแคไทย เพาโรเนีย และไม้โตเร็วพื้นเมือง นอกจากนี้ยังช่วยแนะนำอาชีพให้แก่ราษฎร และให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ดีที่สุด เมื่อปีพ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ใช้พื้นที่บางส่วน ทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรชาวบ้านโปงปลูกดอกเบญจมาศเพื่อการค้า โดยรวมกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดเตรียมแปลงสาธิต จัดการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน วางแผนการปลูก ตลอดจนจัดหาตลาด เพื่อจำหน่ายผลผลิต และยังสนับสนุนค่าต้นพันธุ์เบญจมาศ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ในรูปแบบให้สินเชื่อ มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ควบคุมดูแลเกษตรกร ได้ทำโครงการส่งเสริมจนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 23 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 และเสด็จพระราชดำเนินไปอ่างเก็บน้ำทอดพระเนตรสภาพน้ำและสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าสันทรายพื้นที่โครงการพัฒนาบ้านโปงฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำริ และพระกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สร้างฝายกั้นต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำสายต่างๆ เพื่อให้ป่ามีความชุ่มชื้น และดำเนินการทำโครงการทฤษฎีใหม่ โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน จัดพื้นที่ตอนท้ายอ่างห้วยโจ้ เพื่อให้ราษฎรมีแหล่งน้ำสำหรับใช้เพาะปลูกเลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ ให้มีการปลูกหญ้าแฝกบริเวณ ขอบอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ และพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ไม่ให้หน้าดินถูกกัดเซาะหรือถูกน้ำชะล้างเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ จากพระราชกระแสร์รับสั่งของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ดังกล่าว สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เห็นถึงความสำคัญ จึงทำโครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา วิจัย ด้านการเรียนการสอน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงงานบริการวิชาการให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป
เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืช พันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการปลูกไม้ดอก ได้แก่ เบญจมาศและเก๊กฮวย กิจกรรมที่ 2 อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ได้แก่ ไม้ผล กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมที่ 3 การปลูกและอนุรักษ์ป่าไม้ใช้สอยโตเร็ว
KPI 1 : ตัวชี้วัดที่ 6 ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร รายได้ที่เกิดจาการดำเนินงานต่อปี
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
168000 บาท 168000
KPI 2 : ตัวชี้วัดที่ 9 การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ไร่ 5
KPI 3 : ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 5 : ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ตัวชี้วัดที่ 7 ส่งเสริมพัฒนาอาชีพรวมถึงการให้บริการวิชาการไม้ดอก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชนิด 2
KPI 7 : ตัวชี้วัดที่ 8 อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ไม้ผล กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ประเภท 3
KPI 8 : ตัวชี้วัดที่ 5 ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 9 : ตัวชี้วัดที่ 2 จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการปลูกไม้ดอก ได้แก่ เบญจมาศและเก๊กฮวย กิจกรรมที่ 2 อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ได้แก่ ไม้ผล กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมที่ 3 การปลูกและอนุรักษ์ป่าไม้ใช้สอยโตเร็ว
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1
ส่งเสริมการปลูกไม้ดอก ได้แก่ เบญจมาศและเก๊กฮวย

กิจกรรมที่ 2
อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ได้แก่ ไม้ผล กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ

กิจกรรมที่ 3
การปลูกและอนุรักษ์ป่าไม้ใช้สอยโตเร็ว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายธนวัฒน์  รอดขาว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายอดิศักดิ์  การพึ่งตน (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.จันทร์เพ็ญ  สะระ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางวิไลวรรณ  สถาพรศรีสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายบุญรัตน์  ยิ่งโยชน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางรัตนา  ศรีวิชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาคนงานเกษตรปฏิบัติงานขยายพืชและดูแลรักษา (จำนวน 2 คน x 11 เดือน x 7,000 บาท เป็นเงิน 154,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
154,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 154,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ขุยมะพร้าว สารควบคุมโรคและแมลง ภาชนะปลูกพืช เป็นเงิน 14,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
14,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 168000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล