16729 : โครงการการเลี้ยงปูนาในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยระบบอัจฉริยะและการพัฒนาผลิตภัณฑ์มุ่งสู่อุตสาหกรรมอาหารปลอดภัย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/12/2563 11:25:07
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไปที่สนใจความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปูนาในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยระบบอัจฉริยะ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 50,000 บาท 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ กานต์  ทิพยาไกรศรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดาพร  ตงศิริ
อาจารย์ ดร. โดม  อดุลย์สุข
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-64-4. การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT-64-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT-64-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
เป้าประสงค์ FT-64-4.2 เป็นคณะที่สนองโครงการในพระราชดำริ
ตัวชี้วัด FT-64-4-8 ระดับความสำเร็จในการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ
กลยุทธ์ FT-64-4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในยุคทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็น พืช ปศุสัตว์ แม้กระทั่งการทำประมง เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน มนุษย์จึงต้องเรียนรู้และพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ที่มีมากขึ้น เช่นความต้องการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น การลดต้นทุนการผลิต การลดการใช้แรงงาน การติดต่อสื่อสารถึงกันข้อจำกัดด้านระยะทางลดน้อยลงจากการใช้เวลาในการติดต่อที่ยาวนานในอดีตจึงเปลี่ยนไป เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารสามารถนำพาข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถทำการเกษตรที่เป็นเรื่องเหนื่อยยาก กลับกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดาย (นายธีรพงศ์ มังคะวัฒน์,2554) ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับงานด้านการเกษตร เพื่อจะนำมาช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับเกษตรกร เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะนั้นตั้งอยู่บนแนวคิดของการทำเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farm) Smart Farm คือ การทำเกษตรอัจฉริยะมีการใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้องแม่นยำ ตรงต่อความต้องการของการทำเกษตร ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากร และยังช่วยลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่ต่างกัน เกษตรอัจฉริยะมีการบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสมสามารถควบคุมผลผลิตได้อย่างสม่ำเสมอในแต่ละพื้นที่ (สิตาวีร์ ธีรวิรุฬห์,2559 ) การทำการเกษตรแบบอัจฉริยะนั้นจะมีต้องมีการกำหนดรูปการทำงานแบบขั้นตอน มีการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประเมินและวิเคราะห์การทำงาน และสามารถตรวจสอบที่ไปที่มาของผลผลิตพร้อมทั้งติดตามผล (กฤษดา ชื่นจิตต์,2559) อีกทั้ง แนวคิด Smart Farm หมายถึงเกษตรกรที่มีความรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม สามารถวางแผนโดยรู้ถึงอุปสงค์ตลาดและเตรียมการผลิตให้สอดคล้อง รวมทั้งมีความสามารถในเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและในการแก้ปัญหาได้รวดเร็ว โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้านเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนหลักการและเหตุผล ตลอดจนรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเกษตร (ดร. ฤทัยชนก จริงจิตร,2556) นักวิจัยทั้งใน เอเชีย ยุโรป และอเมริกาได้ผสมผสานเทคโนโลยีด้านการเกษตรเข้ากับเทคโนโลยีด้านไอที (Information Technology) และอุปกรณ์สื่อสารเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการวางแผน การจัดการและควบคุม ในด้านการเกษตร เช่นการติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิในพื้นที่เพาะปลูก พื้นที่เลี้ยงสัตว์ หรือแม้กระทั่งในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ความชื้นในโรงเรือน ทรานสดิวเซอร์วัดอัตราการไหลของท่อส่งน้ำในสวน ในฟาร์มหรือในโรงเพาะฟัก เซนเซอร์วัดพารามิเตอร์ต่างๆ ที่จำเป็นในการทำเกษตร โดยผู้ใช้งานจะเก็บค่าพารามิเตอร์ต่างๆเข้าสวนกลางแล้วไปประมวลผลเพื่อนำไปออกแบบการขั้นตอนการควบคุมต่อไป ด้วยเทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของประเภทการประกอบกิจการ ดังนั้นจากประโยชน์ของเกษตรอัจฉริยะจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้เช่นกัน ปูนา (Rice field crab) เป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจมากสามารถหาได้ตามท้องทุ่งนาข้าวทั่วไปในช่วงฤดูฝนซึ่งในปัจจุบันปูนาตามแหล่งน้ำธรรมชาติเริ่มมีจำนวนลงลดแต่ความต้องการของตลาดปูนามีความต้องการตลอดเวลา (พัชรี,2560) อีกทั้งมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจสำหรับชาวประมงและเกษตรกรหลายย่อย เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดีถือว่าเป็นปูที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของคนเหล่านั้น นอกจากการขายสดแล้วยังสามารถนำมาใช้แปรรูปได้อีกหลากหลายอย่างเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับปูนา ในส่วนของการบริโภคปูนานั้น ปูนาถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมชั้นดีนั้นสามารถหาได้ง่ายในนาข้าวและนำไปทำอาหารได้หลายชนิด เช่น นำปูไปดองไว้ใส่ในส้มตำหรือยำมะม่วง เนื้อใช้ทำลาบปู มันปูใช้ทำปูอ่อง ก้ามปูใช้ทำก้ามปูนึ่งนำไปจิ้มกับน้ำจิ้ม หรือนำก้ามไปผัดผงกระหรี่ ส่วนปูตัวเล็กๆ ชาวบ้านจะจับมาทำน้ำปูซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองอันเลื่องชื่อของภาคเหนือ น้ำปูใช้เป็นเครื่องชูรสอาหารให้มีรสชาติอร่อยยิ่งขึ้น เช่น นำน้ำปูมาใส่ในยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ส้มตำ ตำส้มโอ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปทำน้ำพริกน้ำปูแล้วรับประทานร่วมกับหน่อไม้ต้ม(นิตยา , 2552) ในส่วนของทางด้านการตลาดนั้น สามารถ ขายได้ทั้งแบบสดและแบบดอง หรือจะนำมาแปรรูปเป็นน้ำพริกเผากะปิปู ซึ่งสามารถขายส่งได้ตามร้าน อาหารก็สร้างรายได้ต่อหลายบาทเดือน โดยจากปูนาตัวเล็ก ๆ ที่เอาไปใช้ใส่ส้มตำนั้นแบบสดที่ยังไม่ได้ดอง จะสามารถนำมาขายได้กิโลกรัมละ 80-100 บาท ส่วนปูตัวใหญ่ที่กำลังจะลอกคราบหรือที่เราเรียกกันว่า ปูนิ่ม จะขายได้กิโลกรัมละ 1,200 บาท นอกจากนี้ทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ยังมีการนำมาแปรรูปปูนาต่าง ๆอีก เช่น ปูนาดอง ราคากิโลกรัมละ 150 บาท น้ำปูนาหรือน้ำปู ราคากิโลกรัมละ 380 บาท ปูนาอ่องหรือมันปูอ่อง ราคากิโลกรัมละ 200 บาท และอื่น ๆ มากมาย น้ำพริกปูนา 80 กรัม กระปุกละ 60 บาท ปูนาทอดกรอบ ปูนาต้ม ปูนานึ่ง เป็นต้น ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับปูนาและ เป็นที่สนใจต่อผู้บริโภคในปัจจุบัน เป็นอย่างมาก (อภิชาติ ,2560) หากมองในด้านผลผลิตของปูนาตามธรรมชาติในปัจจุบัน พบว่า การจับปูนาตามธรรมชาติมีปริมาณลดลงทุกปี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งดิน น้ำ ต้นไม้ อุณหภูมิ การใช้สารเคมีเพื่อฆ่าแมลงและกำจัดวัชพืช และการใช้ปุ๋ยเคมี สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการทำลายระบบนิเวศ หรือสภาพแวดล้อมแหล่งอาศัยของปูนา ส่งผลให้ปูนาตามธรรมชาติลดลง และไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่ปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงปูนาเพื่อมาทดแทนผลผลิตจากธรรมชาติได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ (นิตยา, 2552) ทั้งนี้การเพาะเลี้ยงปูนาอาจจะเป็นแนวทางที่สามารถผลิตปูนามาทดแทนปูนาจากธรรมชาติ และหากมีการพัฒนาระบบการเลี้ยงปูนาที่มีความแม่นยำในการจัดการ สามารถควบคุมการผลิต และลดต้นทุน เช่น การใช้ระบบอัจฉริยะในการเลี้ยง เราก็จะสามารถยกระดับการเลี้ยงปูนาไทยและต่อยอดสู่ตลาดโลกได้ ทางผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาแนวทางการเลี้ยงปูนาด้วยนวัตกรรมโรงเรือนอัจฉริยะขึ้นมา โดยในโรงเรือนนี้จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนด้วยกัน คือ 1.โรงเรือนปิดที่มีการควบคุมอุณหภูมิ 2. บ่อเลี้ยงปูนาที่มี ระบบอัจฉริยะ ได้แก่ เซนเซอร์วัดค่าต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ คุณภาพน้ำ โดยแบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่ คอนโดพ่อแม่พันธุ์ปูนา บ่อเลี้ยงปูนาขนาดตลาด และบ่อเลี้ยงลูกพันธุ์ปูนา 3. ระบบหมุนเวียนน้ำอัจฉริยะ และ 4.ระบบบำบัดน้ำด้วยเทคโนโลยีการใช้ถ่านชีวภาพเพื่อกรองและบำบัดน้ำ ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเลี้ยงแบบลดต้นทุนและดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ การใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคง และยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
การเลี้ยงปูนาในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยระบบอัจฉริยะและการพัฒนาผลิตภัณฑ์มุ่งสู่อุตสาหกรรมอาหารปลอดภัย
เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกร ผู้สนใจนำความรู้ไปใช้เพื่อเป็นการประกอบอาชีพการดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ การใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไปที่สนใจความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปูนาในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยระบบอัจฉริยะและการพัฒนาผลิตภัณฑ์มุ่งสู่อุตสาหกรรมอาหารปลอดภัย ได้ใช้ประโยชน์โครงการ โดยการไปปรับใช้ตามแนวทางพัฒนารูปแบบการเลี้ยงและการเพิ่มมูลค่า
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : บูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น ๆ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พันธกิจ 1
KPI 3 : เกษตรกร/เยาวชน/นักศึกษาได้รับองค์ความรู้กระบวนการเลี้ยงปูนาในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยระบบอัจฉริยะ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : เกษตรกร/เยาวชน/นักศึกษาได้องค์ความรู้กระบวนการเลี้ยงปูนาในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยระบบอัจฉริยะใช้เองในพื้นที่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไปที่สนใจความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปูนาในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยระบบอัจฉริยะและการพัฒนาผลิตภัณฑ์มุ่งสู่อุตสาหกรรมอาหารปลอดภัย ได้ใช้ประโยชน์โครงการ โดยการไปปรับใช้ตามแนวทางพัฒนารูปแบบการเลี้ยงและการเพิ่มมูลค่า
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติเรื่องการเลี้ยงปูนาในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยระบบอัจฉริยะและการพัฒนาผลิตภัณฑ์มุ่งสู่อุตสาหกรรมอาหารปลอดภัย
1. ประชาสัมพันธ์
2. ติดต่อประสานงานและ จัดทำเอกสารและคู่มือ
3. จัดฝึกอบรมครั้งที่ 1
จัดฝึกอบรมครั้งที่ 2
4. สรุปผลการจัดทำโครงการ
5. จัดทำรายงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์กานต์  ทิพยาไกรศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร  ตงศิริ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.โดม  อดุลย์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 รุ่น เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 2 รุ่น เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 3 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 รุ่น เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 1 คนๆ ละ 1 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 รุ่น เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น อาหารสัตว์น้ำ, กากน้ำตาล, ปูนขาว,กระชัง ฯลฯ เป็นเงิน 26,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 26,800.00 บาท 0.00 บาท 26,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ, ปากกา, ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 6,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,900.00 บาท 0.00 บาท 6,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
14.อ.กานต์-ทิพยาไกรศรี-ย.002-64.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล