16705 : โครงการพัฒนาและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์บ้านนาตมเพื่อเพิ่มมูลค่า
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/1/2564 9:30:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์บ้านนาตมและผู้สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. สมบัติ  กันบุตร
อาจารย์ ดร. น้ำฝน  รักประยูร
อาจารย์ ดร. วิลาสินี  บุญธรรม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 64-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 64-3.1.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64-3.1.4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลิตสูงอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจพอเพียง แก่มวลมนุษยชาติ และสรรพชีวิต สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ... สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าตลอด ระยะเวลาอันยาวนานกว่า ๖๗ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงงานอย่างตรากตรำพระวรกาย เพื่อพัฒนาและยกระดับ คุณภาพชีวิตของปวงชนชาวไทยให้อยู่ดีมีสุข พร้อมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ อย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมาย ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงสัจธรรมแห่ง แนวพระราชดำริในการทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้นำมาประมวลเป็นภาพใหญ่และจัดกลุ่มเป็น 5 สัจธรรม ได้แก่ (1) เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน (2) เรียนรู้จากหลักธรรมชาติ (3) บริหารแบบบูรณาการ (4) มุ่งผลสัมฤทธิ์ และ (5) ชัยชนะแห่งการพัฒนา และนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง... นำสู่ความสุขอย่างยั่งยืน จากสัจธรรมแห่ง แนวพระราชดำรินั้น นำสู่“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยทุกระดับมาโดยตลอด เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที ่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีแนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย (1) พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และ (2) ใช้หลักวิชาความรู้ มีคุณธรรม ดำเนินชีวิตด้วยความเพียร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาเป็นเวลายาวนาน โดยได้ พระราชทาน “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนิน ไปในทางสายกลางจากนั้นชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกระแสโลกและในบริบทไทยที่ให้ความสำคัญ กับการพัฒนาที่มีดุลยภาพ ทั้งในมิติเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนำเสนอการพัฒนาที่มั่นคง ยั่งยืน ตามรอยพระยุคลบาท ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาคนและสังคม และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ... เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยอย่างยั่งยืน จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ได้ทรงงานอย่างหนักและตรากตรำพระวรกายมายาวนาน เพื่อต่อสู้กับความยากจน สร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่พสกนิกร โดยได้พระราชทานพระราชดำริและโครงการพัฒนา มากมายถึง ๔,๓๕๐ โครงการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความอยู่ดี กินดี มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีการศึกษา มีอาชีพที่มั่นคง และดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีนับเป็น การวางรากฐานการพัฒนาที ่มั่นคงและยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยและปวงชนชาวไทยอย่างครบถ้วน ในทุกๆ ด้าน ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของ ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหาย และไร้สมรรถภาพความไม่สมดุลนี้เป็นอันตรายยิ่งกระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้น ได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังชีวิตต่ำเป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช พืชจะอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรคและทำให้การคุกคามของแมลง และเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่ายซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ดินที่เสื่อมคุณภาพนั้น จะเร่งการเจริญเติบโตของวัชพืชให้แข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืช ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหาร และระบบการเกษตรของเราซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง ในโลกปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูกทำให้การลงทุนสูง และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปี ไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลทำให้เกษตรกรขาดทุน มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ และศรัทธาหลักทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้ว ก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับประเภทของเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรคใด มีความสุขในการปฏิบัติก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ และประสบความสำเร็จ ดังที่ตั้งใจไว้เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริงเมื่อเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน การสร้างแนวคิดให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์และบริการเท่านั้น จากลักษณะและปัจจัยดังกล่าว บ้านนาตมชุมชนอินทรีย์ จะต้องนำไปประยุกต์ใช้ในส่วนประสมการตลาด (4 P) คือ ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เช่น ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ต้องเริ่มตั้งแต่การผลิตสินค้า ที่ควรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือการลงทุนเพิ่มเพื่อปรับให้กระบวนการผลิตสินค้าในทุกขั้นตอนทุกกระบวนการ ที่จะไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าที่ผลิตออกมาต้องออกแบบการใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายง่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การใช้ หลังใช้ หรือทำลาย เช่น การเลือกใช้วัสดุอื่นแทนพลาสติกและย่อยสลายได้ วัตถุดิบที่ไม่เป็นพิษหรือเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ประหยัดไฟฟ้า เป็นต้น บ้านนาตม ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านที่การเกษตรอินทรีย์ที่ปลูกข้าวอินทรีย์ในปี 2560 – 2562 ผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ข้าวทองม้วน ข้าวแคบ เป็นต้น แต่ประสบปัญหาเรื่องการแปรรูป บรรจุภัณฑ์ ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อออกจำหน่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมายของกลุ่มที่วางไว้ เนื่องจากผู้บริโภคกังวลถ้าหากซื้อไปแล้วไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวเพื่อจะใช้พัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์บ้านนาตม ด้านแปรรูป การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ และช่องทางการตลาด ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มาใช้ในการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้สามารถยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์จากบ้านนาตมในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสุขภาพต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อยกระดับการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเกษตรอินทรีย์ในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสุขภาพอย่างยั่งยืนในพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความอยู่ดี กินดี มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง
2. เพื่อถ่ายทอดกระบวนการสื่อสารทางด้านการตลาดและกลยุทธ์ตลาดสุขภาพสำหรับผลิตภัณฑ์จากอินทรีย์บ้านนาตมในการพัฒนาที่มีดุลยภาพ ทั้งในมิติเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเกษตรอินทรีย์ในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสุขภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการวางแผนการสื่อสารการตลาดและกลยุทธ์ตลาด การสร้างตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์จากข้าวเกษตรอินทรีย์
KPI 1 : จำนวนแผนการกระบวนการสื่อสารทางด้านการตลาดและกลยุทธ์ตลาดสุขภาพสำหรับผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์บ้านนาตม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แผน 1
KPI 2 : ผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชนที่ผลิต ผลิตภัณฑ์จากข้าวเกษตรอินทรีย์มีศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดสุขภาพในเชิงพาณิชย์ในระดับประเทศได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 6 : ร้อยละของความพึงพอใจร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสุขภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ผลิตภัณฑ์ 3
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 9 : ร้อยละความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : การพัฒนายกระดับการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสุขภาพ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ผลิตภัณฑ์ 3
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเกษตรอินทรีย์ในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสุขภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการวางแผนการสื่อสารการตลาดและกลยุทธ์ตลาด การสร้างตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์จากข้าวเกษตรอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมยกระดับการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสุขภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหรว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 2. x3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
4. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับวิทยากร จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท
5. ค่าเช่าสถานที่ในการอบรมเชิงปฎิบัติการ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27500.00
ชื่อกิจกรรม :
ถ่ายทอดกระบวนการสื่อสารทางด้านการตลาดและกลยุทธ์ตลาดสุขภาพสำหรับผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์บ้านนาตม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับวิทยากร จำนวน 1 คัน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท
4. ค่าเช่าสถานที่ในการอบรมเชิงปฎิบัติการ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม (ขนาด A4 จำนวน 50 หน้า) จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา ดินสอ กระดาษ A4 กระดาษบรู๊ฟสีน้ำตาล เป็นเงิน 1,020 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,020.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,020.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16620.00
ชื่อกิจกรรม :
ประสานงานและเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง (รถยนต์ส่วนตัว) ระยะทาง 150 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท จำนวน 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 240 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 2,880 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,880.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,880.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5880.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล