16702 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่และกลยุทธ์การตลาดเพื่อมุ่งสู่ตลาดสีเขียว
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
อาจารย์ ดร.น้ำฝน รักประยูร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/8/2564 11:28:00
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ และคนในชุมชนบ้านนาคูหา ตำบลส่วนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. น้ำฝน  รักประยูร
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
อาจารย์ ดร. วิลาสินี  บุญธรรม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 64-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 64-3.1.7 ร้อยละของโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
กลยุทธ์ 64-3.1.7.1 ส่งเสริมและยกระดับโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “การเกษตรยังคงต้องพึ่งพาทรัพยากรสำคัญ ได้แก่ ดิน และน้ำ เช่นที่เคยเป็นมา นักศึกษาทั้งหลายที่จะเป็นเกษตรกรแห่งอนาคต จึงควรจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจธรรมชาติของทรัพยากร ๒ สิ่งนี้ ให้มีความรู้ถ่องแท้ และศึกษาค้นคว้า ทดลองหาวิธีทำการเกษตรที่เหมาะสม อย่างที่สมัยนี้เรียกกันว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือไม่ทำความเสียหายแก่ทรัพยากร หรือเมื่อทรัพยากรเสื่อมโทรมลง ก็ต้องเรียนรู้วิธีอนุรักษ์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สามารถใช้ประโยชน์สืบต่อไปได้อีกหลายชั่วอายุคน” (พระราชดำรัส การประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี ตำบลหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2560) สอดคล้องกับ การตลาดสีเขียว (Green Marketing) ถือเป็นกลยุทธ์ที่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ กำลังจับตาดูอยู่ว่าจุดขายของผลิตภัณฑ์สีเขียวจะแรงพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมได้หรือไม่ แต่อย่างไรกระแสด้านสิ่งแวดล้อมก็เป็นกระแสหนึ่งที่ผู้ผลิตต้องจับตามองอยู่เสมอ เพราะนอกจากจะมีกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นภาคบังคับได้ออกมาอยู่เรื่อยๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ก็ยังมีมาตรการภาคสมัครใจอีกหลายประการ ไม่ว่า ISO 14001, ISO 50001, Green procurement, Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์และองค์กร ตลอดจนฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 เป็นต้น ที่พร้อมจะเป็นกลไกที่ช่วยผลักดันการตลาดสีเขียวอยู่เสมอ จนเชื่อว่าในเวลาอันไม่นานผู้บริโภคจะมาสนใจและคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม จนเกิดกระแสจิตสำนึกต่อสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าการสนใจในเรื่องราคา ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตได้มีโอกาสแสวงหาตลาดเพื่อความเป็นผู้นำในการสร้างความแตกต่างของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่น่าสนใจที่ต้องคำนึงในการผลักดันตลาดสีเขียว คือ ผู้บริโภคไม่น้อยยินดีจ่ายแพงขึ้นสำหรับสินค้าลดโลกร้อน ภาชนะบรรจุของ Green Product ควรทำจากวัสดุรีไซเคิล ยิ่งถ้าการออกแบบได้คำนึงถึงการประหยัดและลดต้นทุนก็จะเหมาะสมยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการเกือบทุกธุรกิจ สามารถประยุกต์เข้าสู่ตลาดสีเขียวได้ อยู่ที่การสร้างแนวคิดให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์และบริการเท่านั้น จากลักษณะและปัจจัยดังกล่าว ผู้ประกอบการที่สนใจการตลาดสีเขียว จะต้องนำไปประยุกต์ใช้ตลอดส่วนประสมการตลาด (4 P) คือ ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เช่น ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ต้องเริ่มตั้งแต่การผลิตสินค้า ที่ควรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือการลงทุนเพิ่มเพื่อปรับให้กระบวนการผลิตสินค้าในทุกขั้นตอนทุกกระบวนการ ที่จะไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าที่ผลิตออกมาต้องออกแบบการใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายง่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การใช้ หลังใช้ หรือทำลาย เช่น การเลือกใช้วัสดุอื่นแทนพลาสติกและย่อยสลายได้ วัตถุดิบที่ไม่เป็นพิษหรือเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ประหยัดไฟฟ้า เป็นต้น บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ บนดอยสูง มีอากาศดี ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ บรรยากาศที่เงียบสงบของที่นี่ อากาศบริสุทธิ์สดชื่น ความเป็นมิตร และอัธยาศัยไมตรีที่ดีของชาวบ้านทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจเมื่อมาเยือนถิ่นนี้ ที่นี่มีฝายแม้วที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และมีสภาพภูมิอากาศ ที่เย็นตลอดทั้งปี ทำให้สามารถปลูกผลไม้ได้หลากหลายชนิด เช่น ลางสาด ลองกอง เงาะ ทุเรียน ฯลฯ นอกจากนี้ บ้านนาคูหายังเน้นการทำการตลาดสีเขียว โดยในชุมชนจะมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ เช่น แก้ว กระบอกน้ำ กาน้ำร้อน ที่ใส่ทิชชู เป็นต้น แต่ประสบปัญหาเรื่องรา และมอด ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อออกจำหน่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมายของกลุ่มที่วางไว้ เนื่องจากผู้บริโภคกังวลถ้าหากซื้อไปแล้วจะสามารถใช้งานได้ไม่นาน ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวเพื่อจะใช้นวัตกรรมด้านการออกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด หรือ Eco-design และมีการนำนวัตกรรมด้านการป้องกันการเกิดราและมอดของ รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย มาใช้ในการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งมีการจัดทำแผนการตลาดและกลยุทธ์การตลาดเพื่อสามารถนำมาขายในเชิงพาณิชย์ผ่านระบบออนไลน์ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ประเภทภาชนะในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และชุมชนได้เรียนรู้วิธีอนุรักษ์ป่าไผ่เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สามารถใช้ประโยชน์สืบต่อไปได้อีกหลายชั่วอายุคน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ประเภทภาชนะในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2 เพื่อถ่ายทอดกระบวนการวางแผนการตลาดและกลยุทธ์ตลาดสีเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่
3 เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้วิธีอนุรักษ์ป่าไผ่ให้เกิดความยั่งยืน เป็นแหล่งรายได้แก่ครัวเรือน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ประเภทภาชนะในเชิงพาณิชย์จำนวนอย่างน้อย 5 ผลิตภัณฑ์ 2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้เข้าร่วมโครงการได้แผนการตลาดและกลยุทธ์การตลาดสีเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่
KPI 1 : จำนวนผลิตภัณฑ์ภาชนะจากไม้ไผ่ที่ได้รับการพัฒนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ผลิตภัณฑ์ 5
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 4 : จำนวนผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชนที่ผลิต ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่มีศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดสีเขียวในเชิงพาณิชย์ในระดับประเทศได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ราย 10
KPI 5 : ร้อยละความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 7 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ประเภทภาชนะในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ผลิตภัณฑ์ 5
KPI 8 : จำนวนแผนการตลาดและกลยุทธ์การตลาดสีเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แผน 1
KPI 9 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ประเภทภาชนะในเชิงพาณิชย์จำนวนอย่างน้อย 5 ผลิตภัณฑ์ 2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้เข้าร่วมโครงการได้แผนการตลาดและกลยุทธ์การตลาดสีเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ประเภทภาชนะในเชิงพาณิชย์มุ่งสู่ตลาดสีเขียว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหรว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 2. x3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
4. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับวิทยากร จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท
5. ค่าเช่าสถานที่ในการอบรมเชิงปฎิบัติการ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27500.00
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การถ่ายทอดกระบวนการวางแผนการตลาดและกลยุทธ์ตลาดสีเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับวิทยากร จำนวน 1 คัน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท
4. ค่าเช่าสถานที่ในการอบรมเชิงปฎิบัติการ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 70 บาท (ขนาด A4 จำนวน 50 หน้า) เป็นเงิน 2,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา ดินสอ กระดาษ A4 กระดาษบรู๊ฟสีน้ำตาล เป็นเงิน 1,020 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,020.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,020.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16620.00
ชื่อกิจกรรม :
ประสานงานและเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง (รถยนต์ส่วนตัว) ระยะทาง 150 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท จำนวน 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 240 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 2,880 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,880.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,880.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5880.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์โควิดทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการตามแผนออกไปเนื่องจากมีมาตรการให้ Work from Home
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
จัดการประสานงานทางโทรศัพท์กับผู้นำชุมชนและผู้นำกลุ่ม และเมื่อสถานการณ์ดีขึ้นจึงได้เริ่มดำเนินการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล