16625 : โครงการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/6/2564 10:32:11
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์ (Go Eco U.)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
30/06/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ความร่วมมือระหว่างสายใยวิชาการแม่โจ้-ชุมพร และสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร 2564 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 4. การบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
เป้าประสงค์ MJU64 : 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
ตัวชี้วัด 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมงานบริการวิชาการที่เสริมสร้างทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากประสบการณ์การการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร พบว่า องค์กรเครือข่ายฯ ได้ขับเคลื่อนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เพื่อประสานความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย รวมทั้งเป็นการร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชนสมาชิก ภายในเครือข่าย และขยายแนวคิดดังกล่าวสู่แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพรและพื้นที่เชื่อมโยง เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนภายในจังหวัดชุมพรแบบวงรอบ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวโดยไม่คำนึงถึงเฉพาะจุดท่องเที่ยวจุดใดจุดหนึ่ง แต่มุ่งพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในเส้นทางท่องเที่ยวตามระดับศักยภาพของพื้นที่และกิจกรรมที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน 3) ยุทธศาสตร์ การตลาดและประชาสัมพันธ์ การพัฒนาสื่อประเภทต่างๆ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและความต้องการของสมาชิกเครือข่าย เช่น จัดทำทำเนียบแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน การพัฒนาเวปไซด์เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน การทำปฏิทินและคู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร การจัดทำโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนด้วยช่องทางต่างๆ การกระจายนักท่องเที่ยวไปยังชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายระดับภาคใต้ และประเทศ เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับภาคใต้และประเทศ โดยหวังให้เกิดการปฏิบัติการร่วมระหว่างเครือข่ายฯจังหวัดต่างๆ และนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ และระดับประเทศ ต่อไป ซึ่งการขับเคลื่อนองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ดำเนินการผ่านรูปแบบ “สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร” และจากผลการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเครือข่ายฯ ดังกล่าว ส่งผลให้สมาคมฯ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2556 ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2558 และครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2560 ประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดังนั้น ในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับความไว้วางใจจากชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ ให้เป็นเลขานุการเครือข่าย จึงเห็นว่า เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดชุมพร ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับเครือข่ายภายในจังหวัด พร้อมทั้งเป็นการหนุนเสริมศักยภาพขององค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ให้เป็นไปตามกรอบแผนงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรเครือข่ายให้บรรลุตามกรอบแผนงาน อันประกอบด้วย แผนการประชุม แผนการประชาสัมพันธ์ แผนพัฒนาองค์กรและบุคลากร แผนการติดตามและประเมินผล แผนนโยบายและงบประมาณ และแผนสำรวจและค้นหาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งนี้ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ และสมาชิกองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร (กทท.ดชช.ชพ) ซึ่งเป็นเครือข่ายหนึ่งที่ซ้อนอยู่ร่วมกับ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ และเครือข่ายธนาคารต้นไม้ โดยเป็นการขับเคลื่อนขององค์กรภาคประชาชนภายใต้ชื่อ “เครือข่ายจากภูผาสู่มหานที” นอกจากนี้กระบวนการดังกล่าวจะนำไปสู่การเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนภายในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับจังหวัดหรือในระดับกลุ่มจังหวัดภายใต้นโยบายและแผนการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ต่อไป ทั้งนี้การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ดำเนินกิจกรรมผ่านทาง คณาจารย์สาขาพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยบูรณาการภาระงานหลักของอาจารย์ มหาวิทยาลัยฯ คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยคาดหวังว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพรและจังหวัดต่างๆ จะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน-ชุมชน สังคม-วัฒนธรรม และกระตุ้นให้ประชาชนท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชน และนำมาบูรณาการจัดการเรียนการสอนระหว่างคณาจารย์ และนักศึกษาสาขาพัฒนาการท่องเที่ยวและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ และสมาชิกองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนภายในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
KPI 1 : จำนวนชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ชุมชน 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
ชื่อกิจกรรม :
การประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 30/06/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์โควิด19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม
ช่วงเวลา : 30/06/2564 - 30/09/2564
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล