16624 : โครงการจัดทำบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ(จำลอง)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/6/2564 11:28:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์ (Go Eco U.)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
30/06/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ จำนวน 20 คน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม จำนวน 10 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน บูรณาการกับรายวิชาของสาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ 2564 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 4. การบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
เป้าประสงค์ MJU64 : 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
ตัวชี้วัด 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมงานบริการวิชาการที่เสริมสร้างทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ถือเป็นแนวคิดขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข แบบพออยู่พอกิน และไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทั้งยังเป็นแนวคิดที่จะนำไปสู่การพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจ และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ดังนั้นในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการเกษตร และเป็นแหล่งผลิตบุคลากรออกสู่ภาคเกษตรกรรม จำนวนมาก จึงควรมีการน้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบกับมหาวิทยาลัย มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ สถานที่และบุคลากรที่เอื้อต่อการพัฒนาและบริการวิชาการด้านการท่องเที่ยวทั้งทางทะเลและทางบก โดยที่มหาวิทยาลัยฯ มีพื้นที่ติดชายหาดระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และมีอุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุปกรณ์ดูนก เรือคายัค อุปกรณ์ดำน้ำตื้นและดำน้ำลึก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยฯ จึงมีแนวคิดในการจัดตั้งบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง) ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สู่ระดับสากล ทั้งนี้เพื่อน้อมนำแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาส่งเสริมความรู้แก่สังคม ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คณะทำงานจึงต้องการนำแนวคิดดังกล่าวเสนอผ่านรูปแบบการบริหารจัดการบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง) เพื่อการบูรณาการความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากรประจำสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นแหล่งปฎิบัติงานด้านการท่องเที่ยวและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป ซึ่งคาดว่าประโยชน์เหล่านี้จะสามารถขยายผลสู่การนำกลับไปใช้ที่บ้าน และในชีวิตประจำวันเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ดังนั้นคณะทำงานโดยการดำเนินงานภายในรูปแบบบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งบริษัทนำเที่ยวเชิงเนิวศ (จำลอง) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นศูนย์กลาง และเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นใกล้เคียง และเพื่อบูรณาการความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากรประจำสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้สามารถร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ และฝึกทักษะในการปฎิบัติวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่นิสิตและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสทางด้านเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นในการสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบครบวงจรที่ยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อจัดตั้งบริษัทนำเที่ยวจำลอง โดยมีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นศูนย์กลาง และเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นใกล้เคียง
เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในการแข่งขันทางวิชาการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อบูรณาการความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากรประจำสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้สามารถร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ และฝึกทักษะในการปฎิบัติวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่นิสิตและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การสร้างเสริมประสบการณ์จากการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง)
KPI 1 : จำนวนนักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในอำเภอละแม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การสร้างเสริมประสบการณ์จากการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง)
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 30/06/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์โควิด 19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับกิจกรรมตามสถานการณ์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชาการวางแผนฯ , กิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว และการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ช่วงเวลา : 30/06/2564 - 30/09/2564
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล