16435 : โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การควบคุมและกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ชีววิธี"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
อาจารย์ปิยนุช จันทรัมพร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/3/2564 10:40:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
03/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกรในพื้นที่ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ปิยนุช  จันทรัมพร
อาจารย์ ประสาทพร  กออวยชัย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 64 MJU 1.2 มีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (Organic farm & fruit)
ตัวชี้วัด 64 MJU 1.2 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
กลยุทธ์ 64 MJU 1.2.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 4. การบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
เป้าประสงค์ MJU64 : 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
ตัวชี้วัด 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมงานบริการวิชาการที่เสริมสร้างทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological control) เป็นการใช้ประโยชน์จากศัตรูธรรมชาติ(Natural enemies) ของศัตรูพืชซึ่ง ประกอบด้วย ตัวห้ำหรือแมลงห้ำ (Predators) ตัวเบียนหรือแมลงเบียน (Parasites หรือ Parasitoids) เชื้อโรค (Pathogens) ของศัตรูพืช และชีวินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ ไปทำการควบคุมศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นแมลงศัตรูพืชโรคพืชหรือวัชพืช ศัตรูธรรมชาติ (Natural Enemies) คือสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืช สัตว์และแมลงที่เป็นตัวสาเหตุทำให้เกิดการตายของพืช สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์เหล่านี้ได้แก่ ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรคของศัตรูพืช ซึ่งจะทำลายศัตรูเหล่านี้ให้มีปริมาณลดลงและลดความเสียหายของศัตรูพืช ตัวห้ำหรือแมลงห้ำ (Predators) หมายถึง สัตว์หรือแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งที่กินสัตว์หรือแมลงอื่นหรือที่ เรียกว่า “เหยื่อ (Prey)” เป็นอาหาร โดยทั่วไปตัวห้ำจะมีขนาดใหญ่และเข็งแรงกว่าเหยื่อ และจะทำให้เหยื่อตายในเวลารวดเร็ว ตัวห้ำ 1 ตัว สามารถกินเหยื่อได้หลายตัวและหลายชนิด อีกทั้งยังสามารถกินเหยื่อได้ทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ไข่ ตัวอ่อน หรือหนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ตัวอย่างของสัตว์ตัวห้ำ เช่น นก กบ คางคก กิ้งก่า งู แมงมุม โดยแมลงตัวห้ำจะมีทั้งชนิด และปริมาณมากกว่าสัตว์ตัวห้ำอื่น ๆ เช่น แมลงปอ ด้วงเต่าลายหยัก ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงดิน แมลงช้างปีกใส มวนพิฆาต มวน เพชฌฆาต ตั๊กแตนต าข้าว เป็นต้น ตัวเบียนหรือแมลงเบียน (Parasites หรือ Parasitoids) หมายถึง แมลงที่เบียดเบียนเหยื่อ (host) หรือเกาะกินอยู่กับเหยื่อ จนกระทั่งเหยื่อตาย แมลงเบียนมีหลายประเภท ซึ่งถ้าแบ่งตามความสัมพันธ์กับเหยื่อ จะแบ่งออกได้เป็นแมลงเบียนไข่ (egg-parasite) แมลงเบียนหนอน (larval parasite) แมลงเบียนดักแด้ (pupal parasite) แมลงเบียนตัวเต็มวัย (adult parasite) เป็นต้น เชื้อโรค (Pathogens) คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่และเจริญเติบโตบนสัตว์หรือแมลงอาศัย ทำให้สัตว์หรือแมลงอาศัยนั้นเป็นโรคและตายในที่สุด จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไส้เดือนฝอย และโปรโตซัว ในธรรมชาติศัตรูพืช (แมลงศัตรูพืช สัตว์ ศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช) จะถูกจุลินทรีย์ต่าง ๆ ทำลายอยู่เสมอ จุลินทรีย์จึงเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญในการควบคุมประชากรของศัตรูพืชให้อยู่ในระดับต่ำ การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี จะช่วยให้เกษตรกรสามารถนำศัตรูธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ทำการเกษตร ไปให้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมศัตรูพืชในระยะยาว ช่วยให้เกิดสมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศ ซึ่งมีผลต่อการลดปัญหาการเกิดศัตรูพืชระบาดและไม่เกิดศัตรูพืชชนิดใหม่ๆ ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคผลผลิตทางการเกษตร อีกทั้งเกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม อันจะส่งผลให้การนำเข้าสารเคมีที่เป็นพิษลดน้อยลงและลดการกีดกันในตลาดต่างประเทศ และยังสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ว่า “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” โครงการบริการวิชาการนี้ จะสอดคล้องกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100 โดยมุ่งเน้นไปสู่การเป็นเกษตรอินทรีย์ และการดำเนินงานโครงการ Well-being @ Chumporn อีกทั้งเป็นการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างทักษะวิชาชีพ โดยอาศัยแหล่งทุนภายนอก

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชสอดคล้องกับแนวทางพระราชดำริของพระเจ้าอายู่หัวฯ
2.สร้างสมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศและลดการเกิดการระบาดของศัตรูพืช
3.เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การควบคุมและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี”
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : สร้างสมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศและลดการเกิดการระบาดของศัตรูพืช
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 5 : เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 7 : เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 9 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การควบคุมและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี”
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การควบคุมและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี”
- กิจกรรม
1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การควบคุมและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี”
2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ปิยนุช  จันทรัมพร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ประสาทพร  กออวยชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คนๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 2 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 300 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาสตร์ เช่น เชื้อไตรโคเดอมา หัวเชื้อไตรโคเดอมา หัวเชื้อราเขียว เป็นเงิน 15,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,900.00 บาท 0.00 บาท 15,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร กระดาษ ปากกา แฟ้ม ฯลฯ เป็นเงิน 7,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้ไม่สามารถอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับเปลี่ยนมาเป็นการอบรมออนไลน์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002 อ.ปิยนุช จันทรัมพร ปี2564
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล