16063 : โครงการการจัดการเส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2564
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.กรรณิกา ชัยอุดมวิถี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/10/2563 15:30:29
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  120  คน
รายละเอียด  นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวต่างชาติ,นักศึกษาไทย,บุคลากรในมหาวิทยาลัย, และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ห้างร้าน บริษัท หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณจากวิทยาลัยนานาชาติ สถานบริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาด้านการท่องเที่ยว
แผนงานพื้นฐาน
แผนงานรอง:แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ผลผลิต:ผลงานการให้บริการวิชาการ
กิจกรรมหลักจัดเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์
แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุน
หมวดเงินทั่วไป
โครงการเส้นทางท่องเที่ยว
2564 22,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. รดาพร  ทองมา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. วินิตรา  ลีละพัฒนา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.3 พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) ว่าหมายถึงการท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กที่มีการจัดการอย่างดีเยี่ยม เพราะสามารถดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยวให้มีความดึงดูดใจอย่างไม่เสื่อมคลาย และธุรกิจท่องเที่ยวมีการปรับปรุง คุณภาพให้ได้ผลกำไรอย่างเป็นธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนสม่ำเสมออย่างเพียงพอ แต่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดอย่างยืนยาว (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา,2542 :11) ลักษณะการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีลักษณะสำคัญอยู่ 6 ประการดังนี้ คือ 1.1 เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภท ทุกแห่ง 1.2 เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว 1.3 เป็นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม 1.4 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและวัฒนธรรม 1.5 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยืนยาว 1.6 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น และคืนผลประโยชน์กลับสู่ทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น หลักการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน กล่าวใน อุษาวดี พูลพิพัฒน์ (2545 : 12) ว่ามีหลักการดังนี้ 2.1 การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable ) ทั้งในส่วนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญและเน้นการทำธุรกิจในระยะยาว 2.2 การลดการบริโภคที่เกินความจำเป็นและการลดของเสีย (Reducing Over-consumption and Waste) จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายในระยะยาว และเป็นการเพิ่มคุณภาพของการท่องเที่ยวด้วย 2.3 การรักษาและส่งเสริมความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ (Maintaining Diversity ) สังคม และวัฒนธรรม จะช่วยขยายฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต 2.4 การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning) เข้ากับกรอบแผนกลยุทธ์การพัฒนาแห่งชาติ การพัฒนาท้องถิ่น และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะช่วยขยายศักยภาพการท่องเที่ยว 2.5 การท่องเที่ยวที่รองรับกิจกรรมในท้องถิ่น (Supporting Local Economic) โดยคำนึงถึงราคาและพัฒนาคุณค่าของสิ่งแวดล้อมไว้ ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการประหยัด แต่ยังป้องกันสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายอีกด้วย 2.6 เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น (Involving Local Communities) ในด้านการจัดการผลตอบแทนของประชาชน และสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและการจัดการการท่องเที่ยว 2.7 การประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ประชาชนท้องถิ่น องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง (Consulting Stakeholders and the Public) เพื่อลดข้อขัดแย้งและร่วมแก้ปัญหา 2.8 เป็นการฝึกอบรมบุคลากร (Training Staff ) โดยสอดแทรกแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาแบบยั่งยืนแก่บุคลากรท้องถิ่นทุกๆระดับ เพื่อยกระดับการบริการการท่องเที่ยว 2.9 ข้อมูลข่าวสารที่สื่อให้กับนักท่องเที่ยว โดยมุ่งสร้างความเข้าใจในการเคารพต่อธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว (Marketing Tourism Responsibly) อีกทั้งเป็นการช่วยยกระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง 2.10 การวิจัยและติดตามผล (Undertaking Research) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) มีหลักการที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งเป็นกระแสความคิดหลักของโลกในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา และได้รับความสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Commission on Sustainable Development) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งหลักการโดยทั่วไปของการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ จะต้องมีการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลายาวนาน และมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ รวมทั้งมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อนำหลักการนี้มาปรับใช้กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงมีจุดเน้นที่สำคัญดังนี้ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27) 1. จะต้องดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลา ยาวนานจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน มิใช่เพียงเพื่อคนรุ่นปัจจุบันเท่านั้น 2. ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 3. มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการจัดการ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว 4. มีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และชุมชนในท้องถิ่น เพื่อการวางแผนงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม 5. มีการสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่แนวคิด การศึกษาวิจัย และความรู้เกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ออกไปในหมู่ประชาชน ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด โดยคณะฯ ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยว ใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทางด้านการท่องเที่ยว โดยเน้นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่ชุมชนในท้องที่โดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และในเขตภาคเหนือ โดยได้ส่งเสริมและสนับสนุนทุกวิถีทางให้ชุมชนในท้องถิ่นได้ตระหนักถึงการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนภายในชุมชน โดยได้ส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษา ให้การสนับสนุนทางวิชาการ การทำวิจัย การบริการวิชาการให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตได้ได้วางแผนจะให้การท่องเที่ยวของชุมชนได้เข้าถึงและได้ใส่ใจในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ACE) เช่นกัน แต่ทั้งนี้การที่จะเข้าถึงชุมชนได้ อย่างทั่วถึง และสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ วิทยาลัยนานาชาติจะต้องมีการเตรียมการ มีการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถให้ความรู้ที่ยั่งยืนแก่ผู้ขอรับบริการ โดยผ่านหน่วยงานของวิทยาลัยนานาชาติ คือ สถานบริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาด้านการท่องเที่ยว (Tourism Training and Consulting Service Center)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้และฟาร์มมหาวิทยาลัย ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนอย่างยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้างฐานเรียนรู้ด้านการเกษตรให้แข็งแกร่ง และมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว
เพื่อให้บริการความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษา ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในภูมิภาคกลุ่มอาเซียน
เพื่อตอบสนองนโยบายในเชิงรุกของมหาวิทยาลัย ด้านการศึกษาทางการท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน+6
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนนักท่องเที่ยว
KPI 1 : จำนวนนักท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
120 คน 120
ผลผลิต : ร้อยละของโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
KPI 1 : ร้อยละของโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
ผลผลิต : ร้อยละความพึงพอใจที่มีต่อการท่องเที่ยว
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจที่มีต่อการท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนนักท่องเที่ยว
ชื่อกิจกรรม :
เส้นทางท่องเที่ยว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.รดาพร  ทองมา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆ ละ 30 บาท, จำนวน 12 ครั้ง 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
900.00 บาท 900.00 บาท 900.00 บาท 900.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาพนักงานขับรถ 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
600.00 บาท 600.00 บาท 600.00 บาท 600.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
900.00 บาท 900.00 บาท 900.00 บาท 900.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,500.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุการเกษตร(ใช้ในฐานเรียนรู้) เช่น ค่าก้อนเห็ด,ค่าต้นกล้าข้าว,ดินผสม,ฟางอัด เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,600.00 บาท 1,600.00 บาท 1,600.00 บาท 1,600.00 บาท 6,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 22000.00
ผลผลิต : ร้อยละของโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ผลผลิต : ร้อยละความพึงพอใจที่มีต่อการท่องเที่ยว
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล