16050 : โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อเป็นผู้นำทางด้านสุขภาพ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
อาจารย์ ดร.กัญจน์ จันทร์ศรีสุคต (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/10/2563 15:50:42
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  16/11/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  ประชาชนในชุมชน นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ บุคลากรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสถาบันการศึกษาอื่น ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน (สสส.) และองค์กรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน 2564 2,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ปิยะพันธุ์  นันตา
อาจารย์ ดร. กัญจน์  จันทร์ศรีสุคต
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA64 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ LA64-2.4.2 มีการบริการวิชาการที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา
ตัวชี้วัด LA64-4.4.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
กลยุทธ์ LA64 2.4.2-5.ส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่บริโภคสุราติดเป็นอันดับ 5 ของโลก สุราหรือเบียร์ที่เราดื่มจะให้ความเพลิดเพลิน บางคนใช้สุราแก้ความเครียดบางคนใช้สุราเพื่อความผ่อนคลาย ผลของการดื่มสุรานอกจากจะทำเกิดปัญหากับสุขภาพของผู้ดื่มแล้วยังก่อให้เกิดมีปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของผู้ดื่ม และเกิดปัญหาต่อเนื่อง เช่น กระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในครอบครัว, ปัญหาอุบัติเหตุ, อาชญากรรม, โรคเอดส์, ยาเสพติด, การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของเด็กเยาวชน, สูญเสียอาชีพรายได้จนนำไปสู่ความยากจน ตลอดจนความเสื่อมถอยทางศีลธรรมประเพณีที่ดีงาม จากการศึกษาผลกระทบ พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้คนไทยเสียชีวิตทุก 20 นาที ปีละกว่า 26,000ราย กระทรวงสาธารณสุขประเมินว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอันดับ 1 (ตามการคำนวณความสูญเสียปีสุขภาวะ(DALYs) ข้อมูลปี 2552) และจากการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่รัฐต้องจ่ายประมาณ 1.51 แสนล้านบาทต่อปี (คิดเป็นร้อยละ 1.97ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) เพื่อรักษาพยาบาล ค่าทรัพย์สินเสียหายค่าฟ้องร้องคดีและการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ รัฐได้รับประโยชน์จากภาษีปีละประมาณ 80,000 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2552) การดื่มสุราเป็นปริมากมากจะให้ผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคตับแข็ง มะเร็ง ความดันโลหิตสูง เลือดออกทางเดินอาหาร ฯลฯ และก่อให้เกิดอุบัติเหตุเป็นผลให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นอีกด้วย และจากผลเสียของการดื่มสุราดังกล่าว ทำให้เกิดผลเสียสุขภาพ ปัญหาสังคม จากปัญหาและผลเสียของการดื่มสุราดังกล่าว นักศึกษาได้เรียนรู้จากวิชา ศท 013 สุขภาพเพื่อการดำรงชีวิต จึงได้ร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในโครงการส่งเสริมศักยภาพนายสิบตำรวจในการเป็นเครือข่ายตำรวจชุมชนร่วมลดปัจจัยเสี่ยงเพื่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพและยังทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมเกิดความเข้มแข็งต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษานำความรู้เรื่องเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อภาวะสุขภาพไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนและประชาชนที่สนใจ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้นำความรู้เรื่องเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อภาวะสุขภาพไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนและประชาชนที่สนใจ
KPI 1 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้นำความรู้เรื่องเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อภาวะสุขภาพไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชนและประชาชนที่สนใจ
ชื่อกิจกรรม :
โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อเป็นผู้นำทางด้านสุขภาพ จัดกิจกรรมที่ถนนคนเดินวัวลาย เวลา 17.00-20.00 น.

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 07/11/2563 - 07/11/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยะพันธุ์  นันตา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กัญจน์  จันทร์ศรีสุคต (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์  สีดาเพ็ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เมธี  วงศ์วีระพันธุ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง ( 2 คัน x 1000 บาท x 1 วัน )
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
งบประมาณน้อย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เพิ่มงบประมาณ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อเป็นผู้นำทางด้านสุขภาพ
ช่วงเวลา : 07/11/2563 - 07/11/2563
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล