15840 : โครงการ การส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง Work-Integrated Leaning ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
ดร.สราวุธ สอนใจ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/9/2563 10:18:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/06/2563  ถึง  31/12/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  250  คน
รายละเอียด  อาจารย์ประจำ และผู้เรียน สังกัดคณะที่มีการจัดการเรียนการสอนทุกคณะ/วิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน แผนงานพื้นฐาน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ
กิจกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายด้านการศึกษา
แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุน
งบเงินอุดหนุนทั่วไป
เงินอุดหนุนโครงการยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต(โครงการ การส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง Work-Integrated Learning ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน)
2563 3,000,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภูสิต  ปุกมณี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพล  เลาห์รอดพันธุ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ญาณิน  โอภาสพัฒนกิจ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.1.4 ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนแม่บทบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1- สบพ. การส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร คณาจารย์และการบริหารหลักสูตรให้รองรับการเรียนการสอนที่มุ่งผลลัพธ์ (OBE)
เป้าประสงค์ 1.3 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณภาพ สอดคล้องตามเกณฑ์
ตัวชี้วัด 1.3.1 จำนวนอาจารย์ และนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในระดับชาติ และนานาชาติ
กลยุทธ์ 63-สบพ. 1.3.1 เชิดชูและสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์และนักศึกษาสร้างผลงานนวัตกรรมด้านการวิจัยที่สร้างชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การยกระดับการเรียนรู้กับการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนและสามารถตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้านการพัฒนากําลังคน โดยการสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล อุตสาหกรรม 10 ชนิด ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติให้ก้าวกระโดด โดยพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่ต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิมของประเทศ หรือ First S-curve รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่เรียกว่าอุตสาหกรรมอนาคต หรือ New S-curve การพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้พื้นฐานของการมีทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในหลายๆ ด้าน ได้แก่ การสร้างนักรบเศรษฐกิจใหม่ (Startups) รวมถึงการมีพื้นฐานการวิจัยและพัฒนาเพื่อต่อยอดในเชิงการค้า หรือ สร้างนวัตกรรมใหม่ได้ โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นรากฐาน เป็นต้น มหาวิทยาลัยมีทรัพยากรทั้งนักศึกษา บุคลากร งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน ที่เอื้อต่อการวางแนวทางการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ของ Startup ให้เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมให้เกิด มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial University) ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนการสอน อันนำไปสู่การปลูกฝังความคิดการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญในยุค Thailand 4.0 โดยมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยในระดับปริญญาตรี รวมถึงการปฏิบัติสหกิจศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่นำไปสู่การสร้างธุรกิจใหม่ (Startups) ได้ การจัดการเรียนการสอนหรือกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาทักษะด้านวิชาการของนักศึกษาอย่างยั่งยืน โดยแนวทางการจัดการเรียนการสอนนั้นสามารถทำได้หลายแนวทาง แนวทางที่สามารถตอบโจทย์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และตอบโจทย์พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาในยุคดิจิตัล คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงหรือการปฏิบัติงานจริง (Work Integrated Learning, WIL) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยสอดแทรกทักษะทางปัญญา (Soft skills) ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuous learning) ด้วยตนเอง สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน คือ การสร้างโอกาสแก่ผู้เรียนในการประกอบอาชีพทั้งการได้ฝึกประสบการณ์ตรงจากผู้ประกอบการ และการออกแบบธุรกิจเพื่อการเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียนที่มีความยืดหยุ่นเป็นการเพิ่มทักษะแก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเหตุผลดังกล่าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการพัฒนาคณาจารย์ เพื่อตอบสนองการการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึงแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ โดยมีการกำหนดขอบเขตและเนื้อหากิจกรรมที่จะดำเนินการภายใต้โครงการดังกล่าวใน 3 รูปแบบดังนี้ - การส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยของนักศึกษาสู่การพัฒนาสร้างธุรกิจใหม่ (Startups) - การบูรณาการการเรียนรู้จากประสบการณ์ การปฏิบัติในสภาพจริง (Work Integrated Learning) ที่มีระบบภาคีความร่วมมือเป็นเครือข่ายภาคการศึกษาและสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรม ที่มีความพร้อมเพื่อต่อยอดการพัฒนาที่สนองตอบต่อความต้องการของสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรม - การสร้างความร่วมมือระหว่างหลักสูตรกับภาคอุตสาหกรรม (Public Private Partnership) เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ระยะยาว

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. พัฒนารายวิชาการจัดการเรียนการสอนกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
2. เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้รับรู้ และเข้าใจการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เรียนรับรู้ และเข้าใจการปฏิบัติในสภาพจริง (Work Integrated Learning)
KPI 1 : ระดับความพึ่งพอใจสถานประกอบการที่ร่วมกิจกรรม/โครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
KPI 2 : จำนวนอาจารย์ประจำ และผู้เรียนรับรู้ และเข้าใจการปฏิบัติในสภาพจริง (Work Integrated Learning)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
120 คน 120
KPI 3 : จำนวนรายวิชาที่การปฏิบัติในสภาพจริง (Work Integrated Learning)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 วิชา 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เรียนรับรู้ และเข้าใจการปฏิบัติในสภาพจริง (Work Integrated Learning)
ชื่อกิจกรรม :
การจัดประชุมวิชาการ และส่งเสริมการประกวดนวัตกรรมระดับชาติ การวิจัยของนักศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/06/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายทรงเกียรติ  ปานพันธ์โพธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 250 บาท 5 ห้อง = 125,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 50 บาท 5 ห้อง = 50,000 บาท
3. ค่าพาหนะเดินทางของวิทยากร จำนวน 11 คน ๆ ละ 9,000 บาท 1 ครั้ง = 99,000 บาท
4. ค่าที่พักวิทยากร จำนวน 11 คน ๆ ละ 2 คืน ๆ ละ 1,200 บาท 1 ครั้ง = 26,400 บาท
5. ค่าจ้างเหมาจัดทำโล่ห์ จำนวน 15 ชิ้น ๆ ละ 1,000 บาท = 15,000 บาท
6. ค่าเช่าบอร์ด = 45,000 บาท
7. ค่าเช่าสถานที่ = 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 380,400.00 บาท 0.00 บาท 380,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าสมนาคุณวิทยากร(ขอเกินอัตราที่กำหนด) จำนวน 11 คน ๆ ละ 3 ชม ๆ ละ 2,400 บาท = 79,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 79,200.00 บาท 0.00 บาท 79,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน = 30,400 บาท
2. ค่าวัสดุุคอมพิวเตอร์ = 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 50,400.00 บาท 0.00 บาท 50,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 510000.00
ชื่อกิจกรรม :
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์ การปฏิบัติในสถานการณ์จริง (Work Integrated Learning)
กิจกรรมย่อยที่ 2.1 การสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์ การปฏิบัติในสถานการณ์จริง (Work Integrated Learning) แก่ผู้บริหารระดับคณะ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/06/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.จิราวรรณ  บัณฑิตภูริทัต (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 120 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท = 18,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท = 7,200 บาท
3. ค่าพาหนะเดินทางของวิทยากร จำนวน 3 คน ๆ ละ 5,000 บาท = 15,000 บาท
4. ค่าที่พักวิทยากร จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 คื่น ๆ ละ 1,200 บาท = 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 43,800.00 บาท 0.00 บาท 43,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 คน ๆ ละ 3 ชม ๆ ละ 1,200 บาท = 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน = 4,900 บาท
2. ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 25 บาท = 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,400.00 บาท 0.00 บาท 7,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 62000.00
ชื่อกิจกรรม :
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์ การปฏิบัติในสถานการณ์จริง (Work Integrated Learning)
กิจกรรมย่อยที่ 2.2 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/06/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ศิริพร  หนูหล่อ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 240 บาท 50 ครั้ง = 48,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 2,800 บาท 50 ครั้ง = 280,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 328,000.00 บาท 0.00 บาท 328,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 1,200 บาท 50 ครั้ง = 60,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 388000.00
ชื่อกิจกรรม :
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์ การปฏิบัติในสถานการณ์จริง (Work Integrated Learning)
กิจกรรมย่อยที่ 2.3 การดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์ การปฏิบัติในสถานการณ์จริง (Work Integrated Learning)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/06/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ณัฐนันท์  จิราศรีทวีสิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 2 คน ๆ ละ 30 วัน ๆ ละ 240 บาท 40 หลักสูตร = 576,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 2 วัน ๆ ละ 2,800 บาท จำนวน 40 หลักสูตร = 224,000 บาท
3. ค่าที่พัก จำนวน 2 คน ๆ ละ 30 วัน ๆ ละ 500 บาท 40 หลักสูตร = 1,200,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน = 40,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2040000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล