15742 : โครงการฐานเรียนรู้สวนสมุนไพรชีวกะโกมารภัจจ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
อาจารย์วินัย แสงแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/5/2563 15:13:21
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2562  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  120  คน
รายละเอียด  1.) นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการสมุนไพร และหลักสูตรอื่น คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2.) นักศึกษา เจ้าหน้าที่ คณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3.) กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2563 แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต : ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลัก เผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวด เงินอุดหนุนทั่วไป รายการ โครงการบริการวิชาการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2563 150,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ วินัย  แสงแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก 4. การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 63 ผก 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ตัวชี้วัด 63 ผก 4.4 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของคณะ / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 63 ผก 4.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้ร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญของมหาวิทยาลัย โดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่ หก ของมหาวิทยาลัยโดยครอบคลุมทั้ง 3 กรอบการเรียนรู้ 8 กิจกรรม ใน 3 ฐานทรัพยากร นั้น ซึ่งเป็นการดำเนินงานนั้นให้เกิดการบูรณาการกับภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยทั้งการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมประเพณี ในการนี้หลักสูตรวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตการมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เปิดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณทิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิทยาการสมุนไพร (สหวิทยาการ) ขึ้น ซึ่งจำเป็นจะต้องมีพื้นที่เรียนรู้ทางด้านพืชสมุนไพรที่ดีพอสำหรับรองรับการเรียนการสอน การศึกษาวิจัย การบริการวิชาการทั้งการฝึกอบรมและการศึกษาดูงานที่สำคัญมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นแหล่งที่รวบรวมสะสมพืชสมุนไพรที่หายาก สมุนไพรพื้นบ้านสายพันธุ์ดี ที่มีพื้นฐานการใช้ทั้งเป็นพืชสมุนไพรที่ประกาศไว้ในสาธารณสุขมูลฐานและบัญชียาหลักแห่งชาติ สมุนไพรในตำรับยาสามัญประจำบ้าน 28 ขนาน ตลอดจนเป็นที่เก็บพันธุกรรมพืชสมุนไพรที่ได้จากการศึกษาในพับสาใบลานของล้านนาอีกด้วย อย่างไรก็ตามโครงการ ฐานเรียนรู้สวนชีวกะโกมารภัจจ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้น นั้นใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมสำหรับการรองรับรองรับการศึกษาวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้รักษาโรคคน เป็นแหล่งพืชอาหารเป็นยา เรื่องของสิ่งแวดล้อม เป็นอาหารและยารักษาสัตว์ และมีความสอดคล้องกับภาวะปัจจุบันที่พืชสมุนไพรส่วนใหญ่เป็นพืชพื้นเมืองเป็นพืชที่มีความทนทานต่อศัตรูพืช ทั้งยังเป็นพืชที่มิได้ปรับปรุงพันธุ์และหรือการดัดแปลงพันธุกรรม สามารถพัฒนาใช้ในระบบการผลิตด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เป็นความมั่นคงทางด้านอาหารของชาติ อันจะนำไปสูการมีสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่ดี ตลอดจนพืชสมุนไพรหลายชนิดที่มีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อของสังคม ซึ่งมีความสอดคลองกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ก้าวสู่การเป็น การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (green university) มหาวิทยาลัยที่พัฒนาสู่ความถูกต้อง โดยสร้างความสมดุลกับธรรมชาติ และการเป็น Green University ต้องเน้นทั้งเรื่องการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมที่ดีงาม(วัฒนธรรมแม่โจ้ วัฒนธรรมเกษตร วัฒนธรรมล้านนา และวัฒนธรรมไทย และความดีมีคุณธรรม (ธรรมาภิบาล)”การเป็นมหาลัยเชิงนิเวศ (eco university) มหาวิทยาลัยที่สร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ การพัฒนาจิตใจ และการสร้างจิตสำนึกที่ดีงามแก่นักศึกษาและบุคลากร พืชสมุนไพรได้ถูกบรรจุไว้ในแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยฉบับที่ 1พ.ศ. 2560-2564 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบสมุนไพรไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศและต่างประเทศ และยกระดับให้ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศและต่างประเทศ และยกระดับให้ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำของอาเซียน ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งความต้องการบริโภคเพื่อสร้างเสริมและดูแลสุขภาพ รวมถึงความต้องการแปรรูปเพื่อสร้าง เสริมและดูแลสุขภาพ รวมถึงความต้องการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสมุนไพรต่างๆ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและสร้างความหลากหลายในการใช้ประโยชน์ ส่งผลให้สมุนไพรถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท และสมุนไพรบางรายการเป็นที่ต้องการของตลาดมาก สามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ ไทยมีพืชสมุนไพรที่ชุมชนรู้จักสรรพคุณและนำมาใช้ประโยชน์มากกว่า 1,800 ชนิด และมีประมาณ 300 ชนิดที่เป็นวัตถุดิบสมุนไพรที่หมุนเวียนในท้องตลาด ปัจจุบันไทยส่งออกสมุนไพรมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท สารสกัดจากสมุนไพรมูลค่ากว่า 270 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น สบู่ แชมพู และผลิตภัณฑ์รักษาผิวที่ใช้สมุนไพรเป็นส่วนผสมมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท ขณะที่ในตลาดโลกอุตสาหกรรมสมุนไพรมีมูลค่ารวมกันประมาณ 91,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีนโยบาย ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดโครงการเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาให้มีขีดความสามารถที่เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้ชีวิตในยุคโลกาภิวัฒน์และเพิ่มโอกาสการมีงานทำ ตลอดจนสนองตอบต่อการพัฒนานักศึกษาสู่บัณฑิตที่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงต้องมีการส่งเสริมและดำเนินการทางด้านทักษะการเรียนรู้แก่นักศึกษา เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนหลักสูตรวิทยาการสมุนไพร เพื่อพัฒนาด้านการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทางด้านวิชาการ และทางอาชีพ ทักษะความชำนาญที่สอดคล้องกับหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการปรับตัวกับมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล การกระจายทางเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับเปลี่ยนสถานะทางสังคม โดยเน้นการเพิ่มการศึกษาเรียนรู้ ดังนั้นโครงการฐานเรียนรู้สวนชีวกโกมารัภภ์แม่โจ้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะทำให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการเเรียนรู้ในสาขาวิทยาการสมุนไพร ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ดังนี้ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยนักศึกษาต้องยึดมั่นในเนื้อหาวิชาการที่ถูกต้อง เสียสละและมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น เคารพสิทธิของผู้อื่น โดยคำนึงถึงความเสมอภาค 2) ด้านความรู้ นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาวิชาที่ศึกษาได้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา ได้ฝึกใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิพากษ์ได้ สามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆได้ 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่บนพื้นฐานของการนับถือ ความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย มีภาวะการเป็นผู้นำ ช่วยเหลือผู้อื่นและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 5) ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยสามารถเลือกใช้ทักษะทางภาษาและรูปแบบการสื่อสาร ที่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูล ติดต่อสื่อสาร จัดการและนำเสนอข้อมูลได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
2. เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ด้านสมุนไพรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้มีความพร้อมต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยทั้ง การเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนะธรรม
3. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมชนิดสายพันธุ์พืชสมุนไพรทั้งสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน สมุนไพรในบัญชียาหลักของชาติ สมุนไพรในตำรับยาสามัญประจำบ้านขนานต่าง ๆ
4. เพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมพืชสมุนไพรที่หายากและเป็นแหล่งสมุนไพรสายพันธุ์ดี
5.เพื่อสนองยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564
6.เพื่อสนองแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับการก้าวสู้เป็น Green university และการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (eco university)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในฐานเรียนรู้สวนสมุนไพรชีวกะโกมารภัจจ์ พื้นที่ 5 ไร่
KPI 1 : ชุดฐานข้อมุลพืชสมุนไพรสวนชีวกะโกมารภัจจ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุดฐานข้อมูล 1
ผลผลิต : การจัดการพื้นที่สวนสมุนไพร การจัดหาพืชสมุนไพร ในงานสาธารณสุขมูลฐาน สมุนไพรในตำรับยาสมัญประจำบ้าน และการเพาะขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
KPI 1 : ปรับโรงเรือนเพาะขยายพันธุ์พืขสมุนไพร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 แห่ง 1
KPI 2 : จำนวนต้นพืชสมุนไพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ชนิด 50
ผลผลิต : จัดทำข้อมูลองค์ความรู้สมุนไพรจำนวน 4 จุด
KPI 1 : จำนวนข้อมูลองค์ความรู้สมุนไพรจัดแสดงภายในสวนสมุนไพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 จุด 4
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรในฐานเรียนรู้สวนสมุนไพรชีวกะโกมารภัจจ์ พื้นที่ 5 ไร่
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรสวนชีวกะโกมารภัจจ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 12/05/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วินัย  แสงแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรสวนชีวกะโกมารภัจจ์แม่โจ้จำนวน 1 ชุด มีพืชสมุนไพรไม่น้อยกว่า 80 ชนิด พร้อมจัดทำเป็นหนังสือพืชสมุนไพรในสวนชีวกะโกมัจจ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้จำนวน 1 เล่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
ผลผลิต : การจัดการพื้นที่สวนสมุนไพร การจัดหาพืชสมุนไพร ในงานสาธารณสุขมูลฐาน สมุนไพรในตำรับยาสมัญประจำบ้าน และการเพาะขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
ชื่อกิจกรรม :
จัดหาต้นพืชสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานและสมุนไพรตำรับยาสมัญประจำบ้าน และการบริหารจัดการโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 12/05/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วินัย  แสงแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าต้นพืชสมุนไพรจำนวน 50 ชนิด ๆ ละ 2 ต้น ๆ ละ 50 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน จำนวน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุการเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 95,000.00 บาท 95,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 108000.00
ผลผลิต : จัดทำข้อมูลองค์ความรู้สมุนไพรจำนวน 4 จุด
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำข้อมูลองค์ความรู้พืชสมุนไพรสวนชีวกะโกมารภัจจ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 12/05/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วินัย  แสงแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาทำชุดแผ่นชื่อพืชสมุนไพรขนาด (กว้าง x ยาว) กว้าง 120 ซม. ยาว 240 ซม จำนวน 6 ชุด ๆ ละ 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 12000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล