15717 : โครงการฐานเรียนรู้การผลิตปลากะพงขาวน้ำจืดด้วยนวัตกรรมการเลี้ยงในระบบปิดน้ำหมุนเวียนสมัยใหม่ (Smart Recirculation Aquaculture System, SRAS)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/4/2563 16:27:27
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/04/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1100  คน
รายละเอียด  เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน ที่สนใจความรู้เกี่ยวกับอาหาร และการเลี้ยงปลา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 100,000 บาท 2563 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. นิวุฒิ  หวังชัย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-63-4. การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT-63-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT-63-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT-63-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
กลยุทธ์ FT-63-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยในปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการและให้ความสำคัญกับการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่มีความปลอดภัยมีมากขึ้น จะเห็นว่าความต้องการสัตว์น้ำที่มีคุณภาพและปลอดภัยในการบริโภคก็มีสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการผลิตสัตว์น้ำจากระบบเพาะเลี้ยงที่ดีที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.จึงเป็นแนวทางที่จะตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ เทคนิคการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ที่จำกัด (Land-Base Aquaculture) ร่วมกับการควบคุมคุณภาพน้ำด้วยระบบหมุนเวียน (Recirculation Aquaculture System) ภายใต้โดมความร้อน (Green House) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ลดการใช้น้ำในการผลิต (Smart aquaculture) เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบปิดที่มีการหมุนเวียนน้ำที่ผ่านการบำบัดให้มีคุณภาพดีแล้วกลับมาใช้ใหม่ ข้อดีคือ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ตลอดการเลี้ยง สัตว์น้ำที่เลี้ยงจึงมีความแข็งแรง มีอัตรารอดสูงและมีการเจริญเติบโตที่ดี ทำให้ได้ผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการเลี้ยงในบ่อดินหรือกระชัง และสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนด้วยเชื้อก่อโรคต่าง ๆ ลดปริมาณน้ำในการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยน้ำทิ้ง จึงนับว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบปิดมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายในประเทศ ข้อดีอื่น ๆของระบบนี้คือ ระบบการเพาะเลี้ยงแบบปิดนี้พัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และสามารถติดตั้งระบบการเพาะเลี้ยงนี้ที่ใดก็ได้ภายในประเทศไทย ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องภูมิประเทศ ส่งผลทำให้คุณภาพและปริมาณสินค้า (ปลา) ที่ได้มีความคงที่ ทำให้เกิดรายได้และอาชีพของเกษตรกรเพาะเลี้ยงที่มั่นคงและยั่งยืน ปลากะพงขาว (Lates calcarlifer BLOCH 1790) เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ปลาชนิดนี้เนื้อมีรสชาติดี มีราคาแพง นอกจากจะเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศแล้วยังส่งจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย คุณสมบัติพิเศษของปลากะพงขาวที่อยู่ได้ในทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย สามารถปรับสภาพเลี้ยงในระบบน้ำจืดในโรงเรือนได้ ด้วยเหตุผลและความน่าสนใจของชนิดปลาดังกล่าว การเลี้ยงปลากะพงขาวภายใต้นวัตกรรมใหม่(Smart aquaculture) ของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงได้มีการทดลองและทดสอบผลผลิตปลากะพงที่ได้ที่คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จนพบว่าการเลี้ยงและการจัดการการเลี้ยงผ่านระบบประสบความสำเร็จ นอกจากนี้น้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลาในระบบปิดดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งสารอาหารในการปลูกพืชในระบบระบบอควาโปนิกส์ (Aquaponics)ได้ โดยมีการควบคุมปัจจัยการปลูกและสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสม จะเห็นว่าแนวการคิดนี้เป็นรูปแบบที่มีการใช้ต้นทุนทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการการสร้างระบบการเลี้ยงปลากะพงขาวเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชผัก จึงเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและสามารถเผยแพร่ไปยังเกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชนหรือบริษัทที่มีความพร้อมได้ เนื่องจากการลงทุนไม่สูงมากและเทคโนโลยีไม่ซับซ้อน ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ และปฏิบัติได้จริง ดังนั้นการเผยแพร่และถ่ายทอดนวัตกรรมการเลี้ยงปลากะพงขาวระบบเลี้ยงในน้ำจืดในระบบปิด ที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ประมงเกรดพรีเมี่ยมระดับปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบการเลี้ยงปลากะพงขาวเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชผัก จึงสามารถเกิดประโยชน์ต่อหลายภาคส่วนเช่นเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการสร้างอาชีพและการจ้างงานในชุมชน และผู้บริโภคมีอาหารปลอดภัยที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า มีศูนย์การเรียนรู้เพื่อรับข่าวสาร ชุมชนมีความเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย ตรงกับแนวทางการผลิต อุตสาหกรรมอาหารภายใต้โครงการ Northern Food Valley และสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มีนโยบายในพันธะกิจที่มุ่งเน้นทางด้านการเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหารโดยเฉพาะอาหารอินทรีย์ (Organic Food)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตปลากะพงขาวเกรดพรีเมียมในน้ำจืดภายใต้นวัตกรรมการเลี้ยงในระบบปิดร่วมกับการควบคุมคุณภาพน้ำด้วยระบบหมุนเวียน (Recirculation Aquaculture System) และระบบการเลี้ยงปลากะพงขาวเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชผัก(Aquaponics)
เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจในระบบปิด เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และผลิตได้อย่างยั่งยืน
เพื่อเป็นแหล่งศึกษาอบรมและฝึกงานให้กับเกษตรกร นักศึกษา และนักวิชาการ
เพื่อเป็นเวทีที่อาจารย์และนักศึกษาจะช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์สู่เกษตรกร
เพื่อบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน ในระดับบัณฑิตศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในน้ำจืดในระบบปิด
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนคนเข้ารับการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 ล้านบาท 0.1
KPI 5 : จำนวนคนเข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
500 500 คน 1000
KPI 6 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : การบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พันธกิจ 1
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 10 : ร้อยละผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในน้ำจืดในระบบปิด
ชื่อกิจกรรม :
1.ประชาสัมพันธ์
2.ติดต่อประสานงานและ จัดทำเอกสารและคู่มือ
3. จัดฝึกอบรมครั้งที่ 1
จัดฝึกอบรมครั้งที่ 2
4.สรุปผลการจัดทำโครงการ
5.จัดทำรายงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/04/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ  หวังชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คน 2 รุ่น ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 6,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,600.00 บาท 0.00 บาท 6,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คน 2 รุ่น ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 11,000
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 11,000.00 บาท 0.00 บาท 11,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำโปสเตอร์ จำนวน 4 แผ่น ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับ จำนวน 1,000 แผ่น ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำไวนิลเอ็กสแตนส์ ไวนิลเอ็กสแตนส์ จำนวน 4 อัน ๆ ละ 1,200 เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 2 วัน ๆ ละ 4 ชม. ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 3 ชม. ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น อาหารปลา รำ ปลาป่น กระชัง พลาสติกโรงเรือน ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 49,000.00 บาท 0.00 บาท 49,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกา แฟ้ม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่างานบ้านงานครัว เช่น กะละมัง มีด กล่องพลาสติก ถาดพลาสติก ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
mjuย002-รศดรนิวุฒิ-หวังชัย27032563pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล