15680 : ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/8/2563 22:54:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  650  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักศึกษา ศิษย์เก่า นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โรงเรียน/ชุมชน ในเขตเทศบาล อำเภอสันทราย และอำเภอใกล้เคียง จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2563 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กังสดาล  กนกหงษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก 4. การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 63 ผก 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ตัวชี้วัด 63 ผก 4.4 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของคณะ / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 63 ผก 4.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดตั้งขึ้นมาในปี 2552 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับชันโรงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของชันโรง แนวทางการเพาะเลี้ยงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การใช้ประโยชน์ทางด้านการผสมเกสร, การเก็บผลผลิตต่างๆที่ได้จากชันโรง เช่น น้ำผึ้ง, propalis, ชัน และ อื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยง มีกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงชันโรงในเชิงการค้าให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนในบริเวณใกล้เคียง จะได้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ความพอเพียงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงฯ ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรและนักวิชาการให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงชันโรงในเขตภาคเหนือของประเทศไทย มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋วในเชิงการค้า” ให้แก่เกษตรกร นักศึกษา และศิษย์เก่า ตลอดจนผู้ที่สนใจ อย่างต่อเนื่องมาทุกปี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมด้านการเพาะเลี้ยงชันโรงให้แก่เกษตรและชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งการจัดอบรมฯดังกล่าว ได้ดำเนินการมาทั้งสิ้น ๒๐ รุ่น ได้สร้างเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงชันโรงให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมอบรมได้อย่างยั่งยืน และสามารถนำชันโรงไปช่วยผสมเกสรในแปลงปลูก ทำให้ผลผลิตที่ได้ต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ ๔๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงยังได้ให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผึ้งชันโรง การบริการนำชันโรงไปช่วยผสมเกสรให้แก่พืชผลของเกษตรกร จนเกิดความร่วมมือในด้านงานวิจัยที่จะพัฒนาองค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์ของชันโรงในการผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับบริษัทฮอทิเจนนิติคส์ รีเสิร์ฐ (เอส.อี. เอเชีย) จำกัด ในปีงบประมาณ 2558 ในเรื่อง “การใช้โรงในการเพิ่มผลผลิตมะระจีนในสภาพโรงเรือนและสภาพไร่, จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560-2561 เรื่อง “การใช้ชันโรงในการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน” และ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับบริษัทอีสต์ เวสท์ ซีดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในปีงบประมาณ 2561 เรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพของชันโรงในการผสมแตงร้านภายใต้สภาพโรงเรือน” ซึ่งการถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการและการวิจัยให้แก่เกษตรกรและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทางภาคการเกษตรได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับระบบการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ยังมีส่วนในการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ในด้านความรู้ ทักษะทางปัญญาและการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ผ่านการเปิดโอกาสให้นักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาได้มีโอกาสเข้าร่วมและฝึกประสบการณ์ในการบริการวิชาการและวิจัยให้แก่ชุมชน และสังคม และอาจารย์ได้นำความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการมาบูรณาการกับการเรียนการสอน การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย ปัจจุบันการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เกินความจำเป็นส่งผลให้แมลงผสมเกสรในสภาพธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว โดยในบางพื้นที่เกษตรกรสำรวจไม่พบแมลงผสมเกสรเลย ส่งผลกระทบให้การผสมเกสรของพืชต่างๆมีประสิทธิภาพไม่ดี ทำให้ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ในการปลูกพืชในสภาพโรงเรือน ซึ่งเป็นระบบปิด ก็มีความต้องการสื่อผสมเกสรเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดการติดผลผลิตที่ดี ซึ่งแต่เดิมใช้แรงงานคนในการผสมเกสร แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างของประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดการคลาดแคลนแรงงานทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสรรหาสื่อผสมเกสรที่มีคุณภาพมาทำหน้าที่แทน ซึ่งได้แก่แมลงผสมเกสร โดยเฉพาะแมลงในกลุ่มของผึ้งที่ไม่มีเหล็กไน หรือชันโรง ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในสภาพโรงเรือนปิดได้เหมาะสม ซึ่งจากงานวิจัยทั่วโลก แสดงให้เห็นศักยภาพของชันโรงในด้านการเป็นสื่อผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพสูงมากชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันการประเทศไทยมีจำนวนรังชันโรงทั่วประเทศที่เกษตรกรและหน่วยงานต่างๆเพาะเลี้ยงๆไว้ มีเพียงประมาณ 10,000 รัง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความต้องการจะนำชันโรงไปใช้ประโยชน์ในด้านการผสมเกสรให้แก่พืชต่างๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University), มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ควรให้ความสำคัญและส่งเสริมการพัฒนางานวิจัย งานบริการวิชาการ ในเรื่องเกี่ยวกับแมลงผสมเกสรเป็นอย่างยิ่ง เป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาล ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน จากการเผยแพร่องค์ความรู้ เรื่อง ชันโรง สื่อผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพ ผ่านทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์ สร้างความสนใจให้แก่เกษตรกร และหน่วยงานต่างๆจำนวนมาก ที่ต้องการจะใช้ชันโรงในการผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แม้จะมีการส่งเสริมอบรมความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงชันโรงในเชิงการค้าไปถึง ๒๐ รุ่นแล้ว แต่จำนวนเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงชันโรงก็ยังมีไม่เพียงพอที่จะผลิตชันโรงออกมาตอบสนองกับจำนวนผู้ใช้ที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรงต้องทำหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรสนใจเพาะเลี้ยงชันโรงให้มากขึ้น เพื่อให้มีจำนวนรังชันโรงที่เพียงพอต่อความต้องการของสังคม ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความมั่นคง ยั่งยืน ตามแนวทางการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และเป็นการส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับสังคม (Maejo Engagement) ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
12.1 เพื่อเป็นฐานเรียนรู้เกี่ยวกับชันโรงให้กับชุมชนเป้าหมายในพื้นที่ 12.2 เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียน และชุนชนในอำเภอสันทราย มีความรู้และทักษะในการเพาะเลี้ยงชันโรง 12.3 เพื่อส่งเสริมการนำชันโรงไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร 12.4 เพื่อส่งเสริมการบูรณาการการให้บริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย 12.5 เพื่อสร้างเสริมทักษะและประสบการณ์ในการบริการวิชาการแก่นักศึกษาและบุคลากรของฐานเรียนรู้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
KPI 1 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต ร้อยละของผู้ให้บริการวิชาการที่มีความรู้และทักษะในการให้บริการวิชาการเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต โรงเรียน/ชุมชนเป้าหมาย มีความรู้และทักษะในการเพาะเลี้ยงชันโรง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุมชน 1
KPI 3 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่จัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.01 0.07 ล้านบาท 0.08
KPI 4 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต สายพันธุ์ชันโรงในรังเลี้ยง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 สายพันธุ์ 3
KPI 6 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต จุดสำรวจชันโรงในสภาพธรรมชาติ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 จุด 20
KPI 7 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต จำนวนรายวิชาที่บูรณาการการเรียนการสอนกับฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 รายวิชา 4
KPI 8 : ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 ร้อยละ 90
KPI 9 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต ร้อยละของการที่บรรลุวัตุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 ร้อยละ 100
KPI 10 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
150 500 คน 650
KPI 11 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต จำนวนเกษตรกรที่รับบริการผสมเกสรโดยชันโรง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 ราย 2
KPI 12 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต จำนวนโครงการฝึกอบรมระยะสั้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ครั้ง 1
KPI 13 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 ร้อยละ 90
KPI 14 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต จำนวนส่วนจัดแสดงนิทรรศการฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ส่วน 4
KPI 15 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต จำนวนโครงการวิจัยที่บูรณาการกับฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 โครงการ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ชื่อกิจกรรม :
การสำรวจชันโรงในสภาพธรรมชาติ การบริการฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง และการบริการชันโรงเป็นสื่อผสมเกสรแก่เกษตรกร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2563 - 20/07/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล  กนกหงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสำรวจและเก็บตัวอย่างชันโรงในสภาพธรรมชาติ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมระยะสั้น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2563 - 15/08/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรภาครัฐ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6000.00
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาและเพิ่มส่วนจัดแสดงนิทรรศการถ่ายทอดองค์ความรู้ของฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2563 - 15/08/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาพัฒนาและเพิ่มส่วนจัดแสดงนิทรรศการถ่ายทอดองค์ความรู้ของฐานเรียนรู้ผึ้งชันโรง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 40,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40000.00
ชื่อกิจกรรม :
การรวบรวมสายพันธุ์ชันโรงในรังเลี้ยงของประเทศไทยเพื่อใช้ในการบริการวิชาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/07/2563 - 29/08/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร  เถียรวรกานต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่ารังพ่อแม่พันธุ์ชันโรง 3 สายพันธุ์ จำนวน 8 รัง รังละ 3,000 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท 24,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 24000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาโรคไวรัสโควิด 19 ที่ระบาด และ พรก. ฉุกเฉินของรัฐบาลที่อาจมีผลกระทบต่อการจัดการฝึกอบรมระยะสั้น
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
อาจมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา กฏ 200 หัวข้อ แมลงอุตสาหกรรม และแมลงผสมเกสร รายวิชา กฏ 300 หัวข้อ อันดับ Hymenoptera รายวิชา กฏ 431 หัวข้อ สัณฐานวิทยาของชันโรง รายวิชา กฏ440 หัวข้อ ผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตรต่อแมลงผสมเกสร
ช่วงเวลา : 01/03/2563 - 31/07/2563
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
โครงการวิจัย เรื่อง การเพาะเลี้ยงนางพญาชันโรงขนทอง
ช่วงเวลา : 01/04/2563 - 31/12/2563
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล