14393 : โครงการ พัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดศึกษาดูงาน ภายใต้โครงการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อรองรับการอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/7/2562 16:16:36
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/08/2562  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วย นักศึกษารายวิชา สัมมนาทางวิศวกรรมอนุรักษ์พลังงาน พพ 131 และคณะอาจารย์วิทยาลัยพลังงานทดแทน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2562 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ภคมน  ปินตานา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิกราน  หอมดวง
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.3 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนานักศึกษา 5 ด้านตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ก่อนสำเร็จการศึกษา
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 62-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนุในระดับสากล
เป้าประสงค์ 62-1.3 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตาม อัตลักษณ์ที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 1.3.2 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนานักศึกษา 5 ด้านตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ก่อนสำเร็จการศึกษา
กลยุทธ์ 62-1.3.2.1 จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากแผนพัฒนาประเทศ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ได้กำหนดไว้ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นข้อความว่า“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ทั้งนี้ตามยุทธศาสตร์ของชาติได้เน้น การพัฒนาเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ได้กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย นอกจากนั้นยังพัฒนาประเทศตามแนวทางนโยบาย Thailand 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการต่อยอดอุตสาหกรรมกลุ่มเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการต่อยอดและสร้าง S-Curve ตัวใหม่ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2564) ที่มีวิสัยทัศน์ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกศตวรรษที่ 21” และมียุทธศาสตร์ในการบรรลุวิสัยทัศน์จำนวน 6 ยุทธศาสตร์คือ การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ การผลิตและพัฒนากำลังคนการวิจัย และนวัตกรรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษาจากแผนและนโยบายของรัฐบาลต่าง ๆ ที่นำไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” จึงทำให้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่ต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การผลิตและพัฒนากำลังคน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันรองรับการพัฒนา อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) และเป็นการผลิตและพัฒนากำลังคนในรูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformation of Learning) โดยการเรียนรู้แบบทวิภาคี และสนับสนุนให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ที่เป็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents) จนนำไปสู่ความยั่งยืนของประเทศ ด้วยสถานการณ์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในเรื่องปริมาณ ราคา ความต้องการใช้และผลทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตและใช้พลังงาน ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นประเทศเกษตรกรรมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมสู่ระบบเกษตรกรรมอัจฉริยะจึงมีความสำคัญรวมถึงการพัฒนาด้านอื่น ๆ ควบคู่พร้อมกันไป ทั้งในเรื่องของการผลิตพลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงาน ระบบการเกษตรแบบอัจฉริยะ ระบบเศรษฐกิจหรือระบบ IT อัจฉริยะรวมไปถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ด้านพลังงานอัจฉริยะ คือ - มองการพัฒนาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว - ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามแต่ศักยภาพที่ต้องการพัฒนา - เปิดกว้างในเรื่องของผู้เรียน ให้มีทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ผู้สูงอายุ - ปรับรูปแบบการสอนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกช่วงอายุ - เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการร่วมมือกับภาคเอกชนเป็นการประสานการเรียนรู้พลังงานประชารัฐด้านการศึกษาและเป็นการเรียนรู้แบบทวิภาคี หรือแบบเน้นการปฏิบัติ ดังนั้นโครงการนี้จึงเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติ โดยการพัฒนากำลังคนโดยการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านพลังงานของประเทศชาติ ผ่านการพัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดศึกษาดูงาน เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นแนวทางการทำงานในปัจจุบัน การพัฒนางานในอนาคต ได้แนวคิดในการนำไปทำหัวข้อโครงงาน และมีทัศนคติที่ดีในการเรียนเพื่อการนำไปใช้ในการทำงานต่อไป รวมทั้งได้พัฒนาความร่วมมือกับภาคเอกชนเป็นการประสานการเรียนรู้พลังงานประชารัฐด้านการศึกษาและเป็นการเรียนรู้แบบทวิภาคี หรือแบบเน้นการปฏิบัติด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อนำคณะนักศึกษาในรายวิชา สัมมนาทางวิศวกรรมอนุรักษ์พลังงาน พพ 131 ศึกษาดูงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน
เพื่อให้นักศึกษาได้แนวทางและความรู้ในการนำไปทำหัวข้อโครงงาน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1การเข้าศึกษาดูงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน
KPI 1 : หน่วยงานที่เข้าศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 แห่ง 2
KPI 2 : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 แห่ง 2
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 2 แนวทางและความรู้ในการนำไปทำหัวข้อโครงงาน
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : สรุปความรู้และแนวทางในวิชาสัมมนาทางวิศวกรรมอนุรักษ์พลังงาน พพ 131
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1การเข้าศึกษาดูงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน
ชื่อกิจกรรม :
- กิจกรรม ประสานงานสถานที่
- กิจกรรม ประสานงานการเดินทาง
- กิจกรรม เดินทางเข้าศึกษาดูงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/08/2562 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ภคมน  ปินตานา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 2 แนวทางและความรู้ในการนำไปทำหัวข้อโครงงาน
ชื่อกิจกรรม :
- กิจกรรม จัดอบรมนักศึกษาในรายวิชาเพื่อเตรียมตัวสำหรับการดูงาน
- กิจกรรม สรุปความรู้และแนวทางในวิชาสัมมนาทางวิศวกรรมอนุรักษ์พลังงาน พพ 131

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/08/2562 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ภคมน  ปินตานา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล