13766 : การศึกษาการกำจัดยางเหนียวในน้ำมันปาล์มดิบโดยการใช้สารสกัดจากเคี่ยม (cotyleyobium melamoxylon syn. C. lanceolatum)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/12/2561 17:36:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
07/12/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  อาจารย์, นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2562 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ วิชชุดา  เอื้ออารี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การบริการวิชาการด้านการเกษตรสุขภาวะเพื่อสังคมชุมชน
เป้าประสงค์ 3.1 เป็นโครงการบริการวิชาการที่ยกระดับความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ตัวชี้วัด 3.1.2 จำนวนโครงการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน
กลยุทธ์ 2. มีการสำรวจความต้องการของชุมชนในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ยางเหนียว หรือ Gum เป็นสารที่มาจากธรรมชาติโดยได้มาจากเมล็ดพืช สารสกัดจากพืช และสาหร่ายทะเลบางชนิดถูกจัดให้เป็นสารประเภท Hydrocolloid ทำให้สามารถละลายน้ำได้ดี และมีคุณสมบัติที่สำคัญของ Gum ในปัจจุบัน Gum และ Hydrocolloid ได้ถูกนำมาผลิตเป็นอาหารเพื่อการบริโภคได้อีกด้วย การกำจัดยางเหนียวเป็นการทำให้น้ำมันจากเมล็ดพืชเกิดความบริสุทธิ์จากสารปะปนต่างๆ หรือสารที่สามารถละลายได้ ( Bernardini, 1985 ) และเป็นกระบวนการที่กำจัดยางที่ไม่ต้องการออกไปซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนของน้ำมันในระยะการผลิตขั้นสุดท้าย รวมทั้งกรดไขมันหรือน้ำมันเป็นสารประกอบเชิงซ้อนจำพวกฟอสฟอรัส เช่นพวกฟอสฟอไลปิดหรือฟอสฟอไทด์ ซึ่งควรทำการกำจัดสารประกอบพวกนี้เพราะสารประกอบพวกนี้จะไปเป็นตัวอีมัลชั่นต่อปฏิกิริยาต่างๆ น้ำมันจะมีสีที่เข้มขึ้นและจะเกิดกลิ่นที่อุณหภูมิสูง (Kim et al., 2002) กระบวนการกำจัดฟอสฟอไลปิดหรือกระบวนการกำจัดยางเหนียวสามารถกำจัดได้หลายวิธี เช่น กระบวนการกำจัดยางเหนียวโดยวิธีใช้น้ำ ใช้เอนไซม์ รวมถึงการใช้กรดประเภทออโธฟอสฟอริกและกรดที่มาจากสารอินทรีย์ ต่อจากนั้นทำการเหวี่ยงเพื่อให้ยางเหนียวเกิดการตกตะกอน แล้วทำการการฟอกสี ฟอกกลิ่น กลั่นแยกกรดไขมันอิสระ ต่อไป ซึ่งแต่ละวิธีมีทั้งจุดเด่น จุดด้อยและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแตกต่างกันออกไปด้วย กระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตจากผลปาล์มดิบให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับน้ำมันดีเซลในท้องตลาดนั้น ต้องมีการทำให้น้ำมันปาล์มดิบบริสุทธิ์ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ได้แก่ การฟอกสี การกำจัดกรดไขมันอิสระ การกำจัดยางเหนียว เป็นต้น จนกระทั่งหลงเหลือสิ่งปนเปื้อนหรือตะกอนอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการลดของเสียที่ออกจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล รวมถึงการลดต้นทุนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลไปในตัว และลดอัตราการกัดกร่อนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของระบบหัวฉีดในเครื่องยนต์ที่มาจากการใช้น้ำมันไบโอดีเซลได้อีกด้วย เพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของน้ำมันไบโอดีเซลให้มีประสิทธิภาพที่ดีใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล (กรมธุรกิจพลังงาน) ซึ่งยางเหนียว(Gum) ในน้ำมันปาล์มดิบเป็นสิ่งปนเปื้อนที่เราควรกำจัดออกไปก่อนที่จะนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล เคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon syn. C. lanceolatum) เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน มีทั้งเคี่ยมขาว เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง เป็นพืชวงศ์ยางค์ตะเคียนอยู่ใน Family Dipterocarpaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มากในป่าดิบพบว่ามีความสูง ถึง 20-40 เมตร เปลือกเคี่ยมใช้เป็นยากลางบ้าน ซึ่งเปลือกลำต้นมีน้ำยาง ช่วยสมานแผล แก้ฟกช้ำ ใช้เป็นสารกันบูดในน้ำตาลสดเนื่องจาก สามารถลดจจำนวนแบคทีเรียที่จะทำให้ปริมาณกรดในน้ำตาลมากขึ้น เพราะในเปลือกของเคี่ยมมีสารแทนนินในปริมาณมาก และแทนนินมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ องค์ประกอบทางเคมีที่พบในสารสกัดชั้นเมทานอลจากเปลือกและนื้อไม้เคี่ยม ได้แก่ stilbene dimer, stilbene trimer และ lignan โดยพบว่าสาร stilbene trimer 3 ชนิด ได้แก่ Vaticanol A,E และ G มีฤทธิ์ยับยั้งระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมา เคี่ยมไม้ยืนต้น เจริญเติบโตช้า ไม่มีในท้องถิ่นภาคใต้ และมีการลักลอบตัดมาขาย ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการกำจัดยางเหนียว (Gum) โดยใช้สารสกัดจากเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon syn. C. lanceolatum) เนื่องจากต้นเคี่ยมทางผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นที่ศึกษาการกำจัดยางเหนียวจากน้ำมันปาล์มดิบ ด้วยสารสกัดจากเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon syn. C. lanceolatum) เพื่อศึกษาความเป็นได้ในการเลือกกระบวนการกำจัดยางเหนียว ด้วยวิธีการทางชีวภาพที่เหมาะสมในการแปรรูปปาล์มน้ำมันต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์เคี่ยมให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป
3 เพื่อศึกษากระบวนการกำจัดยางเหนียว (Gum) โดยการใช้สารสกัดจากเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon syn. C. lanceolatum)
4 เพื่อศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของโดยการใช้สารสกัดจากเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon syn. C. lanceolatum)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1.อัตราส่วนที่เหมาะสมของสารสกัดจากเคี่ยมต่อกระบวนการกำจัดยางเหนียว 2.เอกสารเผยแพร่ความรู้ของการกำจัดยาง
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 90
KPI 2 : อัตราส่วนที่เหมาะสมของสารสกัดจากเคี่ยมต่อกระบวนการกำจัดยางเหนียวที่เทียบเท่าการใช้สารเคมี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 สูตร 1
KPI 3 : เอกสารเผยแพร่ความรู้ของการกำจัดยางเหนียว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ชุด 60
KPI 4 : สูตรกำจัดยางเหนียว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 สูตร 1
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายในการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 บาท 70000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1.อัตราส่วนที่เหมาะสมของสารสกัดจากเคี่ยมต่อกระบวนการกำจัดยางเหนียว 2.เอกสารเผยแพร่ความรู้ของการกำจัดยาง
ชื่อกิจกรรม :
1.ศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารสกัดจากเคี่ยมต่อกระบวนการกำจัดยางเหนียว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 07/12/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัญญาภัค  หล้าแหล่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เชษฐ์  ใจเพชร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ประสาทพร  กออวยชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 3 วันๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท
- ค่าที่พักเหมาจ่าย จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 2 คืนๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ส่วนตัว จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 3,472 บาท เป็นเงิน 13,888 บาท
- ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์พารามิเตอร์ จำนวน 15 ตัวอย่างๆ ละ 980 บาท เป็นเงิน 14,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 37,868.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เป็นเงิน 17,432 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,432.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 55300.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่อง "การกำจัดยางเหนียวของน้ำมันปาล์ม"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2562 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัญญาภัค  หล้าแหล่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เชษฐ์  ใจเพชร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ประสาทพร  กออวยชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม จำนวน 60 ชุดๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 14700.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สารสกัดเคี่ยมที่ได้ทำการทดลองยังไม่บริสุทธิ์เพียงพอต่อการนำไปใช้กำจัดยางเหนียวในน้ำมันปาล์มดิบ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ทำการหาค่าคุณสมบัติของสารสกัดเคี่ยมที่ความเข้มข้นต่างกันไป
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล