13622 : การอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครเกษตรอินทรีย์นำเที่ยวแก่ผู้สูงอายุในชุมชน เขตพื้นที่อำเภอสันทราย กลุ่ม1 (เทศบาลตำบลแม่แฝก เทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว เทศบาลตำบลหนองหาร)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย ยมเกิด (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 27/11/2561 15:30:33
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย กลุ่ม1 (เทศบาลตำบลแม่แฝก เทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว เทศบาลตำบลหนองหาร)
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะพัฒนาการท่องเที่ยว หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2562 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร. จิระชัย  ยมเกิด
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.2 จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.5 สร้างและพัฒนาชุมชนเป้าหมายด้านบริการวิชาการ และแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ TDS62ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ TDS4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) (62)
ตัวชี้วัด TDS4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย (62)
กลยุทธ์ TDS4.2.1.1 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นให้ทันสมัย เพื่อให้เอื้อสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่นผู้สูงอายุ หรือคนรุ่นใหม่ (62)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีสภาพพื้นที่ที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติ และการประกอบอาชีพทาง ด้านการเกษตรที่มีความหลากหลายอาทิเช่น การทำนาข้าว สวนผลไม้สวนไม้ดอกไม้ประดับ สวน สมุนไพร การเลี้ยงผึ้ง ผสมผสานกับวัฒนธรรมที่สวยงามและแตกต่างกันไปในแต่ ละภูมิภาค จึงเป็นสาเหตุให้หน่วยงานภาครัฐบาล เอกชน และองค์กรอิสระต่าง ๆ มีความสนใจในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างจริงจัง ดังจะเห็นได้ นโยบายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ได้มีการกำหนดให้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในแผนส่งเสริมการท่องเที่ยว และมติของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งโครงการภายใต้มาตราการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) โดยมีโครงการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นโครงการ ในความรับผิดชอบการท่องเที่ยวแห่งประเทศ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2543 อันเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และแหล่งท่องเที่ยวเกษตร อื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต ให้มีการการจัดการและแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน สอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนแนว ทางการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของประเทศ จังหวัดเชียงใหม่ มีแนวทางการดำเนินการจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยเริ่มมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) เป็นต้นมา ทั้งนี้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมไปพร้อมกับการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนนั้นพึ่งพาอยู่ โดยรูปแบบของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบตามทรัพยากรในการท่องเที่ยว (รำไพพรรณ, 2544ค: 119) กล่าวคือ รูปแบบที่ 1 ได้แก่ การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (eco tourism) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร(agrotourism) และการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาหรือ ศิลาสัญจร(litho travel) และรูปแบบที่ 2 ได้แก่ การท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม(cultural based tourism) ประกอบด้วย การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์(historical tourism) การท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรม(cultural tourism) และการท่องเที่ยวดูวิถีชีวิตในชนบท(rural tourism or 6 village tourism) จังหวัดเชียงใหม่มีการท่องเที่ยงเชิงเกษตรที่ยั่งยืนมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ โดยเกษตรอินทรีย์ (organic farming) ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ รักษาระดับผลผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพได้เป็นอย่างดี ตามหลักการเกษตรยั่งยืน โดยเป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงหลักการใน 4 มิติสำคัญ คือ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านนิเวศวิทยา มิติด้านความเป็นธรรม และมิติด้านการดูแลเอาใจใส่ ตามแนวทางสากลของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM : International Federation of Organic Agricultures Movement) โดยผลผลิตจากรระบบเกษตรอินทรีย์ สามารถสร้างรายได้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทยในตลาดโลกได้หากสามารถพัฒนาการผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเฉพาะ (niche market) เมื่อพิจารณาตลาดของอาหารจากเกษตรอินทรีย์พบว่า มีการเติบโตมากถึง 15-20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่มีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าและบริการเชิงเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานในระดับสากลมีจำนวน 27 กลุ่ม ที่กำลังพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและบริการแห่งใหม่แบบครบวงจร เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการทำฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้น เกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย โดยการขยายกำลังการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เพียงพอต่อการรองรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยว การสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีเอกลักษณ์ การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าอินทรีย์และพันธมิตร รวมทั้งการสร้างรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งนี้เกิดจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวรุนใหม่ที่หันมาให้ความสนใจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ ดังนั้น จึงต้องมีการเร่งพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในด้านดังกล่าวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ จากประเด็นดังกล่าว จึงทำให้มีความต้องการที่จะฝึกอบรมเรื่อง “การอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครเกษตรอินทรีย์นำเที่ยวแก่ผู้สูงอายุในชุมชน เขตพื้นที่อำเภอสันทราย กลุ่ม1 (เทศบาลตำบลแม่แฝก เทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว เทศบาลตำบลหนองหาร)” เพื่อให้อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ และให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับองค์ความรู้เรื่องการนำท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่สามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และทำกิจกรรมร่วมกันได้และสร้างจิตสำนึกถึงความสำคัญของการเกษตรอินทรีย์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ตลอดจนเกิดการสร้างเครือข่ายในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อเป็นแกนหลักในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้บริการองค์ความรู้เรื่องการนำเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์
เพื่อให้ผู้สูงอายุในท้องถิ่นได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และทำกิจกรรมร่วมกัน
เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ของผู้สูงอายุถึงความสำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : อาสาสมัครเกษตรอินทรีย์นำเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอสันทราย
KPI 1 : โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 100
KPI 3 : การที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : ผู้รับบริการได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และทำกิจกรรมร่วมกัน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : ผู้รับบริการได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 6 : องค์ความรู้เรื่องการนำเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 องค์ความรู้ 1
KPI 7 : ความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.08
KPI 9 : ความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : อาสาสมัครเกษตรอินทรีย์นำเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอสันทราย
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร อาสาสมัครเกษตรอินทรีย์นำเที่ยวผู้สูงอายุในชุมชนเขตพื้นที่อำเภอสันทราย กลุ่ม1
จำนวน 1 ครั้ง 3 วัน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย  ยมเกิด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
อาหารกลางวัน จำนวน 1 ครั้งๆ ละ 3 วันๆ ละ 100 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 ครั้งๆ ละ 3 วันๆ ละ 100 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 3 วันๆ ละ 1 คนๆ ละ 7 ชั่วโมงๆ 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม กระดาษ ปากกา สี ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002จิระชัย
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล