13001 : โครงการส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่ชุมชนเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/12/2561 12:55:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  1. เกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 190 คน 2. เจ้าหน้าที่ นักศึกษาและบุคลากร จำนวน 10 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบบริการวิชาการ 2562 2562 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พหล  ศักดิ์คะทัศน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61MJU4.2.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ62 ผก. 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 62 ผก. 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 62 ผก. 4.4 จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ 62 ผก. 4.4 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธ์ุ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูปตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

อาชีพเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาตั้งแต่ในอดีต ผลผลิตที่ได้จากการการทำเกษตรกรรมสามารถจำหน่ายเป็นรายได้ให้แก่ครัวเรือน ผลผลิตส่วนที่ไม่สามารถจำหน่ายได้จะมีการบริโภคในครัวเรือนและแบ่งปันคนในชุมชนโดยเฉพาะในสังคมชนบทซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างแพร่หลาย รูปแบบการทำการเกษตรของประชาชนในชนบทจะเป็นแบบเรียบง่ายที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตามสายบรรพบุรุษ เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวหลังบ้าน การปลูกพืชผักแบบรั้วกินได้ ผลผลิตหากมีจำนวนมากก็จะนำไปจำหน่ายตามตลาดสดทั่วไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการปลูกพืชผักสวนครัวเริ่มลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งที่ครัวเรือนเกษตรกรส่วนใหญ่ก็มีพื้นที่สำหรับการปลูกพืชผักสวนครัวอยู่ในปริมาณที่มากพอสำหรับการปลูกพืชและอีกประการหนึ่งคือ การปลูกพืชผักสวนครัวไว้หลังบ้านก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนได้ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิด เทศบาลเมืองแม่โจ้ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีแนวนโยบายส่งเสริมให้ครัวเรือนประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบมีการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือนและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แต่อย่างไรก็ตามในการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการปลูกพืชผักสวนครัวหลังบ้านที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จทั้งนี้อาจเนื่องจากการขาดการจัดทำโครงการที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการจัดทำสวนครัว และความรู้เกี่ยวกับการปลูกปฏิบัติดูแลรักษาพืชสวนครัวชนิดต่าง ๆ ตลอดจนการขาดคู่มือและเอกสารเผยแพร่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ของครัวเรือนประชาชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์ การจัดทำโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่ชุมชนเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์ ให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องจะได้นำความรู้และทักษะที่ได้จากการเข้าร่วมตามโครงการนี้นำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นการดำเนินงานตามโครงการนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความสำคัญสำหรับการพัฒนาและส่งเสริมการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเกษตรกรในการซื้อพืชผักสวนครัวต่าง ๆ ซึ่งมีแนวโน้มราคาสูงมากขึ้นทุกปี รวมทั้งเกษตรกรที่ร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปผลิตพืชผักสวนครัวชนิดต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง และในการจัดทำโครงการนี้นอกจากจะมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายแล้วยังมีการจัดทำคู่มือและเอกสารเผยแพร่ เพื่อการพกพาได้สะดวกสำหรับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการนี้คาดว่า ผลการจัดทำโครงการส่งเสริมและจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์ในพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองแม่โจ้และพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศไทยต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์ในพื้นที่ชุมชนเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่
2. เพื่อจัดทำคู่มือ “การจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์” แบบพกพาและแผ่นพับสำหรับงานส่งเสริมเกษตรกร
3. เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เทศบาลเมืองแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอสันทราย ชุมชน และ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย
4. เพื่อบูรณาการโครงการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการแก่ชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. กลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์
KPI 1 : 7. ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ล้านบาท 0.05
KPI 2 : 1. ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 3 : 3. จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 200
KPI 4 : 4.ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 5 : 5. ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
KPI 6 : 9. ได้เครือข่ายในการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์ในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 เครือข่าย 1
KPI 7 : 2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 8 : 8. เพิ่มจำนวนเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรที่มีความรู้และทักษะในการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์ในพื้นที่ชุมชนเทศบาลเมืองแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 200
KPI 9 : 6. ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. กลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์
ชื่อกิจกรรม :
1. การจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรและกลุ่มเป้าหมายจำนวน 200 คน 5 ครั้ง 5 แห่ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/11/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล  ศักดิ์คะทัศน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.สายสกุล  ฟองมูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล  กนกหงษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ  พละปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.นภารัศม์  เวชสิทธิ์นิรภัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 12,000 บาท (ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท 5 ครั้งๆ ละ จำนวน 40 คน รวมเป็นเงิน 12,000 บาท (1 มื้อ x 60 บาท x 5 ครั้ง x 40 คน = 12,000 บาท)) 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 12,000 บาท (ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อๆ ละ 30 บาท 5 ครั้งๆ ละ จำนวน 40 คน รวมเป็นเงิน 12,000 บาท (2 มื้อ x 30 บาท x 5 ครั้ง x 40 คน = 12,000 บาท))
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรที่เป็นบุคคลของรัฐ จำนวน 9,000 บาท (จัดฝึกอบรมเกษตรกรจำนวน 5 ครั้งๆ ละ 1 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท (5 ครั้ง x 1,800 บาท = 9,000 บาท))
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน 3 คน (5 วันๆ ละ 200 บาท จำนวน 3 คน (5 วัน x 200 บาท x 3 คน = 3,000 บาท))
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษถ่ายเอกสาร A4 (70 แกรม) IDEA MAX จำนวน 500 บาท
2. วัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึก HP 85 A จำนวน 2,500 บาท
3. วัสดุเกษตร ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ผัก และถาดเพาะกล้า 104 หลุม จำนวน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 47000.00
ชื่อกิจกรรม :
2. จัดทำคู่มือประกอบงานส่งเสริมการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์สำหรับเกษตรกรจำนวน 200 ชุด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/11/2561 - 16/11/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจัดทำคู่มือส่งเสริมการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์สำหรับเกษตรกร จำนวน 3,000 บาท (จำนวน 200 ชุดๆละ 15 บาท (200 ชุด x 15 บาท = 3,000 บาท))
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. การส่งเสริมและพัฒนาการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์ในพื้นที่ทั้ง 5 แห่ง ช่วงเวลาการจัดกิจกรรมอาจตรงกับช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวของเกษตรกรอาจมีผู้เข้าร่วมน้อย
2. การจัดทำคู่มือและเอกสารแผ่นพับเผยแพร่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและงบประมาณในการจัดทำอย่างเพียงพอ รูปภาพประกอบสำหรับการจัดทำคู่มืออาจมีไม่เพียงพอในช่วงที่ต้องการหรือมีแต่ไม่สมบูรณ์
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. มีการนัดหมายเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงในช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยอาศัยผู้นำท้องถิ่นในการประสานงาน และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
2. มีการประสานงานกับชุมชนหรือคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อใช้สถานที่และบุคลากรในการการจัดทำสวนครัวพื้นบ้านแบบประยุกต์ เพื่อถ่ายภาพโดยวิธีการต่างๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย002 อ.พุฒิสรรค์
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล