12957 : โครงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าการผลิตสตรอว์เบอรี
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา นาเทเวศน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2561  ถึง  30/09/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้ปลูกผักและสตรอว์เบอร์รีในพื้นที่อำเภอสะเมิงและอำเภอแม่แจ่ม
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินงบประมาณแผ่นดิน ปี 2562 แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน โครงการ โครงการพัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน กิจกรรมหลัก ดำเนินการพัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน แผนงาน บริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน รายการเงิน 2562 2,500,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปรีดา  นาเทเวศน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.1 ร้อยละของงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ62 ผก. 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 62 ผก. 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 62 ผก. 4.4 จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ 62 ผก. 4.4 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธ์ุ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูปตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ ๆ มีศักยภาพในการผลิตพืชผัก และผลไม้เมืองหนาวหลากหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตรอเบอร์รี ซึ่งเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโดได้ดีในเขตพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยไม้ผลเมืองหนาวชนิดนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระราชทานให้แก่พี่น้องบนพื้นสูงเพื่อปลูกทดแทนฝิ่นและเป็นการสร้างรายได้ที่มั่นคง เหมาะสมกับภูมิสังคม ในแต่ละปีความต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีความต้องการของผู้บริโภคที่สูง ราคาดีและให้ผลตอบแทนสูง จากข้อมูลพื้นที่การปลูกและผลตอบแทนจากสตรอว์เบอร์รี พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีรวมกันทั่วประมาณ 4,000-5,000 ไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีจำนวนประมาณ 2,000 ราย มีพื้นที่ปลูกประมาณ 3,000 ไร่ โดยอยู่ในพื้นที่ ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ประมาณ 2,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตสตรอว์เบอร์รีที่ใหญ่ที่สุดของประเทศมีเกษตรกรที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี มีปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด ประมาณ 13,385 ตัน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 573.7 ล้านบาท สำหรับปริมาณผลผลิตในปีนี้ลดลงจากปีที่ผ่านมาเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน และราคาลดลงด้วย (องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว, 2558) กาแฟ จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องบนพื้นที่สูง เนื่องจากปัจจุบันผลผลิตกาแฟคุณภาพที่ป้อนเข้าสู่ตลาดยังมีน้อยอยู่และมีแนวโน้มของความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้วพืชผักเมืองหนาวอีหลายชนิดก็สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรบนพื้นที่เหล่าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพื้นที่ที่การทำการปลูกสตรอว์เบอร์รี ในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้มีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคแมลง และวัชพืชรวมไปถึงการใช้ปุ๋ยเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเตรียมดินปลูกที่มีการเผาตอซังข้าว เศษซากพืชในแปลง ใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้น การปลูกและการดูแลรักษาที่มีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจนก่อให้เกิดการตกค้างของสารเคมีในธรรมชาติ รวมไปจนถึงการเก็บรักษาผลผลิตที่มีการใช้สารบางชนิดช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษาเพื่อการจำหน่าย โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพของตนเองและผู้บริโภค และยังขาดการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และลดการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำการเกษตรด้วยกรนำวิทยาการสมัยใหม่พร้อมทั้งองค์ความรู้จากงานวิจัยไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกร การเพิ่มมูลค่าสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน การสร้างช่องทางในการขายและการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับการพัฒนาประเทศแบบ 4.0 นอกจากนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลกประเทศไทย กำลังเผชิญปัญหาด้านความแปรปรวนของสภาพอากาศโลกไม่เว้นแม้แต่ที่ส่งผลต่อโดยตรงระบบการเกษตร ผลของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมโลกนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตแล้ว ยังก่อให้เกิดการอุบัติใหม่ของโรคและการแพร่ระบาดของโรคแมลงศัตรูพืชที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้บางครั้งเกษตรกรต้องตัดสินใจใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่สูงกว่าอัตรากำหนดข้างฉลาก ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา คือ ความไม่ปลอดภัยของอาหาร จากผลการสุ่มตรวจผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่วางขายบนในซูเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่หลายแห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปี พ.ศ. 2559 โดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN: Thailand Pesticide Alert Network) พบว่า พริกแดง กะเพราะ คะน้า สตรอว์เบอร์รี เมลอน แก้วมังกร ฝรั่ง และมะละกอ มีสารเคมีที่เป็นอันตรายตกค้างในผลิตภัณฑ์เหล่านี้สูงเกินกว่ามาตรฐานความปลอดภัย และที่น่าตกใจคือหนึ่งในสี่ของผลผลิตที่ตรวจพบเป็นผลผลิตที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อผู้ผลิต (เกษตรกร) ผู้บริโภค ในด้านสุขภาพรวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง และแน่นอนว่าคำถามที่จะตามมาคือแล้วจะมีผลผลิตจากที่ไหนและผลิตอย่างไรถึงจะสะอาดปลอดภัยมากกว่านี้ แนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาข้างต้นลงได้และเพิ่มคุณภาพผลผลิตที่มีความปลอดภัยสูง สิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในเคมีและกายภาพของดิน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่ใช้ปลูกพืชรวมทั้งผู้บริโภคด้วย เช่น การสูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ ในดินของสตรอว์เบอร์รี ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุและวิตามินต่ำ เป็นผลทำให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองของพืช ทำให้จุลลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหายและไร้สมรรถภาพ ทำลายแมลงปฏิปักษ์ที่สำคัญ ส่งผลให้สตรอว์เบอร์รีอ่อนแอขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้การคุกคามของแมลง เชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่าย และที่สำคัญคือการทำให้ขาดความสมดุลในพื้นที่ทำการเกษตร ตลอดจนการเพิ่มต้นทุนการผลิตเกินความจำเป็นไม่สอดคล้องกับรายได้ และสุขภาพเสื่อมโทรม ซึ่งเป็นผลกระทบจากการใช้สารเคมีเกษตร ความไม่สมดุลนี้เป็นจุดเริ่มที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่องเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ผลเสียที่เกิดจากการใช้สารเคมีดังกล่าวก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหาร และระบบชีวะพันธ์ทางการเกษตร ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพแก่เกษตรกร ผู้บริโภค สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน ถ้าหากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาก็จะเพิ่มทวีขึ้นจนยากที่จะเยียวยาแก้ไขได้ ดังนั้นหนทางหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเบ็ดเสร็จก็คือ “การทำการเกษตรภายใต้ระบบการสร้างสมดุลในพื้นที่ทำการเกษตร ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานด้านการเกษตรให้อยู่บนพื้นฐานความพอเพียง ใช้วัสดุต่าง ๆ ที่เหลือใช้นำกลับมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ระบบการเกษตรแบบอินทรีย์จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป ในการผลิตสตรอว์เบอร์รีภายใต้เกษตรอินทรีย์นั้นยังไม่มีรายงานอย่างชัดเจน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าการผลิตสตรอว์เบอร์รีนั้นจะต้องใช้สารเคมีเท่านั้น ดังนั้นโครงการนี้จึงมุ่งเน้นการผลิตสตรอว์เบอร์รีปลอดภัยเพื่อนำไปสู่เกษตรอินทรีย์โดยใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นศูนย์กลางการศึกษาการปลูกสตรอว์เบอร์รีในระบบเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิตไหล รวมไปถึงวิธีการปลูกและดูแลรักษาและบูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นการสร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรในการปลูกสตรอว์เบอร์รีในระบบปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ที่จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างแท้จริงและเห็นผล และยังลดการนำเข้าปุ๋ยและสารเคมีจากต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหารและสุขภาพที่ดีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อยกระดับการผลิตสตรอว์เบอร์รีของเกษตรกรโดยการสร้างปัจจัยการผลิตและถ่ายทอดองค์ความรู้สำหรับการจัดการธาตุอาหารและแผนที่สำหรับการตัดสินในการผลิตสตรอว์เบอร์รีปลอดภัย
เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ผลิตเบอรีตลอดจนการขยายกลุ่มเป้าหมายการผลิตสตรอว์เบอร์รีแปลงใหญ่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : มีศูนย์เรียนรู้การผลิตไหลและผลสตรอว์เบอร์รี เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีมีต้นพันธุ์ปลอดโรค แผนที่เพื่อการตัดสินใจและการจัดการผลิตสตรอว์เบอร์รี เอกสารเผยแพร่การจัดการธาตุอาหารในสตรอว์เบอร์รี เกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีได้รับการพัฒนาความรู้ด้านการผลิตที่ปลอดภัย
KPI 1 : แผนที่การตัดสินใจและจัดการดินเพื่อการผลิตสตรอว์เบอร์รี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 25 แปลง 50
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าอบรมการผลิตสตรอว์เบอร์รีและการผลิตผักในระบบปิด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 3 : สามารถเบิกจ่ายงบประมาณตามระยะเวลา
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 % 100
KPI 4 : ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 % 80
KPI 5 : จำนวนต้นพันธุ์ไหลปลอดโรค
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25000 25000 ต้น 50000
KPI 6 : ศูนย์เรียนรู้การผลิตไหลและสตรอว์เบอร์รีครบวงจร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ศูนย์ 1
KPI 7 : การบริหารโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตามกำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 % 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : มีศูนย์เรียนรู้การผลิตไหลและผลสตรอว์เบอร์รี เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีมีต้นพันธุ์ปลอดโรค แผนที่เพื่อการตัดสินใจและการจัดการผลิตสตรอว์เบอร์รี เอกสารเผยแพร่การจัดการธาตุอาหารในสตรอว์เบอร์รี เกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีได้รับการพัฒนาความรู้ด้านการผลิตที่ปลอดภัย
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การสร้างต้นแบบอัจฉริยะสำหรับการผลิตไหลและผลสดสตรอว์เบอร์รี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา  นาเทเวศน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 4 คนๆละ 144 บาท จำนวน 60 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,616.00 บาท 14,544.00 บาท 14,400.00 บาท 34,560.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าที่พัก จำนวน 4 คนๆละ 500 บาท จำนวน 40 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,500.00 บาท 35,000.00 บาท 34,500.00 บาท 80,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการสนับสนุนงานการเกษตร จำนวน 1 คนๆละ 9 เดือนๆละ 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 0.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการสนับสนุนงานประสานงานโครงการ จำนวน 1 คนๆละ 9 เดือนๆละ 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 0.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์ พร้อม น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับติดตามการดำเนินงาน จำนวน 1 คันๆละ 2,500 บาท จำนวน 30 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 27,500.00 บาท 30,000.00 บาท 17,500.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการ จำนวน 1 คนๆละ 9 เดือนๆละ 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
30,000.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 90,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 760,140.00 บาท 0.00 บาท 760,140.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1309700.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การจัดทำแผนที่เพื่อการตัดสินใจสำหรับการผลิตไหลและผลสดสตรอว์เบอร์รี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา  นาเทเวศน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของดินและพืช จำนวน 100 แผนที่ๆละ 1,960 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 196,000.00 บาท 0.00 บาท 196,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมตัวอย่างดินและพืชสำหรับประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตัวอย่างดินจำนวน 100 ตัวอย่างๆละ 1,000 บาท ตัวอย่างพืชจำนวน 500 ตัวอย่างๆละ 260 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 230,000 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 230,000.00 บาท 0.00 บาท 230,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 80,000.00 บาท 0.00 บาท 80,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 586000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 การฝึกอบรมการผลิตไหลและผลสดสตรอว์เบอร์รี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา  นาเทเวศน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตแม่พันธุ์สตรอว์เบอร์รีด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดโรค) จำนวน 10 คนๆละ 10 วันๆละ 120 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรบ (การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตแม่พันธุ์สตรอว์เบอร์รีด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดโรค) จำนวน 10 ชุดๆละ 70 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 700.00 บาท 0.00 บาท 700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม (การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตแม่พันธุ์สตรอว์เบอร์รีด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดโรค) จำนวน 10 คนๆละ 10 วันๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (การฝึกอบรมการบริหารการผลิตสตรอว์เบอร์รีเชิงการค้า) จำนวน 50 คนๆละ 1 วันๆละ 120 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม (การฝึกอบรมการบริหารการผลิตสตรอว์เบอร์รีเชิงการค้า) จำนวน 50 คนๆละ 1 วันๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรบ (การฝึกอบรมการบริหารการผลิตสตรอว์เบอร์รี เชิงการค้า) จำนวน 50 ชุดๆละ 70 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าห้องประชุม (การฝึกอบรมการบริหารการผลิตสตรอว์เบอร์รีเชิงการค้า) จำนวน 1 ห้องๆละ 1 วันๆละ 2500 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (การฝึกอบรมการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในสตรอว์เบอร์รี) จำนวน 40 คนๆละ 1 วันๆละ 120 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม (การฝึกอบรมการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในสตรอว์เบอร์รี) จำนวน 40 คนๆละ 1 วันๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรบ (การฝึกอบรมการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในสตรอว์เบอร์รี) จำนวน 40 ชุดๆละ 70 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าห้องประชุม (การฝึกอบรมการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในสตรอว์เบอร์รี) จำนวน 1 ห้องๆละ 1 วันๆละ 2500 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) (การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตแม่พันธุ์สตรอว์เบอร์รีด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดโรค) จำนวน 1 คนๆละ 10 วันๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) (การฝึกอบรมการบริหารการผลิตสตรอว์เบอร์รีเชิงการค้า) จำนวน 1 คนๆละ 1 วันๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)(การฝึกอบรมการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในสตรอว์เบอร์รี) จำนวน 1 คนๆละ 1 วันๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำหรับการฝึกอบรม (การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตแม่พันธุ์สตรอว์เบอร์รีด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดโรค) จำนวน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำหรับการฝึกอบรม (การฝึกอบรมการบริหารการผลิตสตรอว์เบอร์รีเชิงการค้า) จำนวน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำหรับการฝึกอบรม (การฝึกอบรมการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในสตรอว์เบอร์รี) จำนวน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 129300.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 การผลิตต้นพันธุ์สตรอว์เบอร์รีปลอดโรค

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2561 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา  นาเทเวศน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการช่วยปฏิบัติงานนโยบาย แผนฯ จำนวน 1 คนๆละ 5 เดือนๆละ 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 45,000.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตไหลสตรอว์เบอร์รี จำนวน 33,750 ต้นๆละ 4 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 135,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 135,000.00 บาท 0.00 บาท 135,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์และสารเคมี จำนวน 1 ชุดๆละ 230,000 บาท จำนวน 1 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 230,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 230,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้า อุปกรณ์สายไฟ ปลั๊ก หลอด T8 LED และอื่นๆ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 35,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 35,000.00 บาท 0.00 บาท 35,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 475000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การเก็บตัวอย่างดินและพืชอาจมีผลต่อการจัดทำแผนที่เพื่อการตัดสินใจสำหรับการผลิตไหลและผลสดสตรอว์เบอร์รี เร่งดำเนินการเก็บภายในช่วงฤดูการผลิต
การปนเปื้อนของขวดเลี้ยงต้นอาจมีผลต่อการผลิตต้นพันธุ์สตรอว์เบอร์รีปลอดโรค
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เร่งดำเนินการเก็บภายในช่วงฤดูการผลิต
ทำความสะอาดห้องอยู่สม่ำเสมอ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล