12737 : โครงการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนด้านวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.กัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/8/2561 8:49:11
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/08/2561  ถึง  02/09/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  650  คน
รายละเอียด  นักศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 600 คน บุคลากรและคณะทำงานสโมสรนักศึกษาและชมรมนักศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้จากค่าพัฒนานักศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2561 แผนงานพื้นฐาน ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรม สนับสนุนบริหารจัดการทั่วไป แผนงาน การเรียนการสอน งาน สนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุน กิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามภารกิจพัฒนางานเดิม (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1) 2561 71,200.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กอบลาภ  อารีศรีสม
น.ส. กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.3 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนานักศึกษา 5 ด้านตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ก่อนสำเร็จการศึกษา
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.1 ร้อยละของโครงการพัฒนานักศึกษาที่ใช้เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษา เช่น ภาษาอังกฤษ IT/ ทักษะวิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษา IT และทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61 ผก 1. การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61 ผก. 1.3 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 61 ผก 1.6 ระดับความสำเร็จของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
กลยุทธ์ 61 ผก 1.6 จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของคณะผลิตกรรมการเกษตร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โครงการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนด้านวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ กิจกรรม แข่งขันทักษะเกษตร การแข่งขันทักษะเกษตรแม่โจ้ เป็นการพัฒนาทักษะด้านวิชาการเกษตร ให้นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการและทฤษฏีที่สำคัญในเนื้อหาวิชาด้านการเกษตร สามารถใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิพากษ์ได้ สามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและนำไปบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในงานมีการเตรียมความพร้อม 13 ทักษะ ได้แก่ การเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง การขยายพันธุ์พืช ติดตา- ต่อกิ่ง – ทาบกิ่ง การตอบปัญหาวิชาการทางการเกษตร การพูดส่งเสริมการเกษตร การแข่งขันการจัดสวนถาด การแข่งขันกรอกดินใส่ถุง การแข่งขันผลิตโปสเตอร์เพื่อการส่งเสริมการเกษตร การคล้องโคและล้มโค การตอนสุกร การแข่งขันรีดเต้านมเทียม การวิเคราะห์อาหารสัตว์ การแข่งขันการตัดแต่งซากสัตว์ปีก และการแข่งขันบรรจุพันธุ์ลูกปลา กิจกรรมที่คณะผลิตกรรมการเกษตร รับผิดชอบจัดการแข่งขัน มี 7 ทักษะ ได้แก่ 1. ทักษะการจัดสวนถาด(อาจารย์ ดร.นเรศ ศิริเกษร) 2. ทักษะการเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง (อาจารย์ ดร.สุเทพ วัชรเวศศฤงคาร) 3. ทักษะการกรอกวัสดุปลูก (อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์ ศิริบูรณ์) 4. ทักษะการติดตาทาบกิ่ง (รศ. ดร.สัณห์ ละอองศรี) 5. ทักษะการตอบปัญหาด้านการเกษตร (อ. ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์) 6. ทักษะการผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์ด้านการเกษตร (อ. ดร.กอบลาภ อารีศรีสม) 7. ทักษะการพูดส่งเสริมการเกษตร (อาจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ) และการประชุมวางแผน การนำนักศึกษาเข้าแข่งขันทักษะ โมเดลธุรกิจเกษตร เมื่อได้ผู้ชนะการแข่งขัน จะมีการคัดเลือก อันดับ 1 ไปร่วมเป็นตัวแทนแข่งขันงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 โดยโครงการนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสโมสร 3 คณะ ได้แก่ สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร สโมสรนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มีกิจกรรมในงานที่ต้องฝึกการประสานงาน ฝึกระบบคิดวิเคราะห์ และการบริหารจัดการ เช่น 1. การจัดเตรียมสถานที่ในการจัดโครงการ เวที สถานที่แข่งขัน เครื่องเสียง 2. การจัดเตรียมกิจกรรมการแข่งขัน ได้แก่ การประสานงานอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละทักษะ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้แข่งขัน 3. การวางแผนการทำงานร่วมกัน 3 คณะ โดยกระบวนการ PDCA 4. การจัดเตรียมพิธีมอบรางวัล 5. การจัดเตรียมพิธีเปิดโครงการ และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ให้นักศึกษามีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั้งในระดับปัจเจกและองค์การ มีภาวะการเป็นผู้นำ ช่วยเหลือผู้อื่นและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถในการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอยู่บนพื้นฐานของการนับถือความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาทักษะความรู้ด้านการเกษตร
เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาทักษะทางปัญญา สามารถใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิพากษ์ได้
เพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์และใช้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาคณะผลิตฯ เรียนรู้ความสำคัญของการแข่งขันทักษะเกษตร สามารถวางแผนการนำวิชาความรู้ด้านการเกษตรที่มี มาปรับประยุกต์ใช้ในการแข่งขัน เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างมีวินัย รับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิของผู้อื่น คำนึงถึงกฎเกณฑ์ในสังคม กิจกรรมนี้จะพัฒนานักศึกษา ตาม TQF ทั้ง 5 ด้าน
KPI 1 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขันพัฒนาความรู้และได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 50
KPI 2 : ระดับที่นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการได้รับพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 3 : ระดับที่นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ด้านการเกษตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 4 : ระดับที่นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา สามารถใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิพากษ์ได้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 650
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาคณะผลิตฯ เรียนรู้ความสำคัญของการแข่งขันทักษะเกษตร สามารถวางแผนการนำวิชาความรู้ด้านการเกษตรที่มี มาปรับประยุกต์ใช้ในการแข่งขัน เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างมีวินัย รับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิของผู้อื่น คำนึงถึงกฎเกณฑ์ในสังคม กิจกรรมนี้จะพัฒนานักศึกษา ตาม TQF ทั้ง 5 ด้าน
ชื่อกิจกรรม :
แข่งขันทักษะเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/08/2561 - 05/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่แข่งขัน เครื่องเสียง และเวที
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 600 คน คนละ 100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุการเกษตร /ค่าวัสดุ-อุปกรณ์จัดงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 71200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
นักศึกษาไม่ประพฤติตามกฎระเบียบการเข้าร่วมโครงการอย่างอย่างเคร่งครัด
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประชุมนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 - 2 ทีมงานสโมสรนักศึกษาและทีมงานชมรมนักศึกษาในสังกัดคณะผลิตฯ จำนวน 6 ชมรม เพื่อรับทราบข้อตกลงร่วมกัน ตลอดจนชี้แจงทำความเข้าใจกติกาการแข่งขัน กฏ ระเบียบการอยู่ร่วมกันด้วยความรอบคอบ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล