11937 : โครงการค่ายผู้นำอาสาพัฒนาผลิตสัมพันธ์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.กัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/3/2561 11:34:58
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/03/2561  ถึง  22/03/2561
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  43  คน
รายละเอียด  ผู้นำนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 40 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้จากเงินพัฒนานักศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2561 แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง:แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุนบริหารจัดการทั่วไป แผนงาน การเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามภารกิจพัฒนางานเดิม (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1) 2561 60,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กอบลาภ  อารีศรีสม
น.ส. กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. พรพันธ์  ภู่พร้อมพันธุ์
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.3 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนานักศึกษา 5 ด้านตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. ก่อนสำเร็จการศึกษา
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61 ผก 1. การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61 ผก. 1.3 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 61 ผก 1.6 ระดับความสำเร็จของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
กลยุทธ์ 61 ผก 1.6 จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของคณะผลิตกรรมการเกษตร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กิจกรรมอาสาผลิตสัมพันธ์ จะจัดขึ้นวันที่ 19 - 22 มีนาคม 2561 เพื่อให้ผู้นำนักศึกษา คณะผลิตฯจากสโมสรและชมรมนักศึกษา ทั้ง 6 สาขาได้ฝึกการทำงานร่วมกัน จากแนวความคิดในการสร้างจิตสำนึกด้านการบำเพ็ญประโยชน์ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ที่จะดำเนินกิจกรรมด้านการบำเพ็ญประโยชน์ในรูปของค่ายอาสาพัฒนา ซึ่งผู้นำนักศึกษาจากสาขาต่างๆของคณะผลิตฯ มาร่วมนำความรู้ในแต่ละสาขาที่ได้เรียนมา มาบูรณาการพัฒนาเป็น "งานอาสาพัฒนาทางการเกษตร" กิจกรรมนี้จะทำให้ได้รับประสบการณ์โดยตรง ฝึกการทำงานเป็นทีม จากการปฏิบัติงานในท้องถิ่นชนบทร่วมกัน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันระหว่างนักศึกษาและชุมชนในท้องถิ่น ได้ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้น ๆ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้วิชาการออกสู่ชุมชน และเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สืบต่อกันมาของคนในท้องถิ่น โดยในครั้งนี้ทางคณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรและชมรมในสังกัด จะได้จัดซ่อมแซมโรงเรือนเพาะเห็ด จำนวน 1 หลัง บริจาคก้อนเชื้อเห็ด ทำปุ๋ยหมัก ซ่อมแซมโรงเรือน ทำแปลงสาธิตพืชผัก เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนบ้านป่าเหว ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ไว้ใช้สำหรับดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นฐานเรียนรู้ทางการเกษตรของตำบลบ้านขอ กิจกรรมนี้จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา ที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน รวมทั้งเป็นโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ดังนี้ ข้อ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยนักศึกษาเสียสละและมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมเคารพสิทธิของผู้อื่นโดยคำนึงถึงความเสมอภาค ข้อ 3) ด้านทักษะทางปัญญา ได้ฝึกใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิพากษ์ได้ เรียนรู้วิถีชีวิตและรับทราบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน สามารถประยุกต์ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชน ข้อ 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่บนพื้นฐานของการนับถือ ความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย มีภาวะการเป็นผู้นำ มีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีกิจกรรมเรียนรู้ วิธีการการทำงานโดยการประยุกต์กระบวนการ PDCA เพื่อให้นักศึกษาจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างมีคุณภาพ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาวิธีปรับประยุกต์และสร้างความเข้าใจ การใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต 3 ทักษะหลัก ได้แก่ 1. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักศึกษาเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือ 2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความรู้ด้านเทคโนโลยี 3. ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักศึกษาจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรม
เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านทักษะทางปัญญาการใช้ระบบคิด
เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
เพื่อสร้างความเข้าใจการปรับประยุกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต
เพื่อสร้างความเข้าใจการประยุกต์ใช้กระบวนการ PDCA ในการทำงานกิจกรรม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การพัฒนานักศึกษาจากกิจกรรมค่ายอาสา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ทักษะทางปัญญา และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ(TQF : Thai Qualifications Framework for Higher Education)ในระดับปริญญาตรี
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่ตั้งไว้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : ระดับความเข้าใจการประยกต์ใช้กระบวนการ PDCA ในการทำงานกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 3 : ระดับที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 4 : ระดับที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาการใช้ระบบคิด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 5 : ระดับความเข้าใจการปรับประยกต์ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 6 : ระดับที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การพัฒนานักศึกษาจากกิจกรรมค่ายอาสา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ทักษะทางปัญญา และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ(TQF : Thai Qualifications Framework for Higher Education)ในระดับปริญญาตรี
ชื่อกิจกรรม :
ผู้นำนักศึกษาคณะผลิตฯ ตัวแทนสมาชิกสโมสรนักศึกษาคณะผลิตฯและชมรมในสังกัด ร่วมทำกิจกรรมอาสาพัฒนา ณ โรงเรียนบ้านป่าเหว จ.ลำปาง และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจในระบบการทำงานให้มีคุณภาพ โดยการประยกต์กระบวนการ PDCA และทักษะในศตวรรษที่ 21

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/03/2561 - 22/03/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คนๆละ 240 บาท จำนวน 3 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,160.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหาร จำนวน 50 คน คนละ 200 บาทต่อวัน จำนวน 4 วัน(19-22 มี.ค.2561)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักเหมาจ่ายเจ้าหน้าที่จำนวน 3 คนๆ ละ 400 บาท จำนวน 3 คืน(19-21 พ.ค.2561)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทาง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,240.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าก้อนเชื้อเห็ดจำนวน 1,000 ก้อน ๆ ละ 10 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 60000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
พื้นที่โรงเรียนบ้านป่าเหว ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่ที่ไม่เคยไปจัดกิจกรรมค่ายอาสา อาจมีความไม่สะดวกในด้านการเป็นอยู่ในค่ายฯหลายๆปัจจัย ที่ไม่สามารถคาดคะเนได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
นักศึกษาเดินทางไปสำรวจพื้นที่ ประสานงานกับครู และผู้นำชุมชน เรื่องสถานที่พักอาศัย แหล่งจัดซื้ออาหาร แหล่งซื้อวัสดุอุปกรณ์เกษตรที่จำเป็นต่างๆ สถานพยาบาลยามฉุกเฉิน เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมค่ายอาสาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล