11277 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเพื่อการส่งออก จ.อุบลราชธานี
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.กัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/10/2560 9:22:13
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
09/11/2560  ถึง  13/11/2560
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  180  คน
รายละเอียด  (รุ่น6) เกษตรกรและผู้ที่สนใจในการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิส จำนวน 170 คน / คณะกรรมการจัดโครงการ ผู้ติดตาม วิทยากรและผู้ช่วยวิทยากร จำนวน 10 คน = 180
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2561 (จากเงินรับฝากฝึกอบรม ค่าลงทะเบียนอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเพื่อการส่งออก ประจำปี 2561) 2561 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กอบลาภ  อารีศรีสม
น.ส. กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาวิณี  อารีศรีสม
ดร. นรินทร์  ท้าวแก่นจันทร์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 61 MJU 4.6 รายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.3 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นให้ทันสมัย เพื่อให้เอื้อสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่นผู้สูงอายุ หรือคนรุ่นใหม่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2560] ประเด็นยุทธศาสตร์ 60 ผก. 3 ถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและยกระดับชุมชน สังคม
เป้าประสงค์ 60 ผก. 3.1 ถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีศักยภาพเพื่อพัฒนาต่อยอดให้ชุมชนเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด 60 ผก 3.3 ร้อยละของโครงการบริการวิชาการที่สร้างรายได้ให้คณะ
กลยุทธ์ 60 ผก. 3.3 การหารายได้จากการบริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กล้วยหอมคาเวนดิชเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์Escherichia coli เป็นต้น กล้วย สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค กล้วยหอมคาเวนดิชให้ผลผลิตเฉลี่ยเครือละ200ผล ไร่ละประมาณ 6,000 กิโลกรัม สูงกว่าหอมทองเกือบ 3 เท่า แต่ต้องมีเทคนิคในการบ่มจึงจะทำให้สีสวย ถ้าปล่อยให้สุกในสภาพอุณหภูมิธรรมดาสีเปลือกจะมีสีเขียวไม่เหลือง กล้วยชนิดนี้จะมาพลิกวงการกล้วยหอมไทยในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาโมเดลการส่งเสริมโดยเป้าหมายคือส่งออกจีน บางส่วนมีจำหน่ายในตลาดไฮเปอร์มาเก็ตในกรุงเทพมหานคร รสชาด ความหอม ความทน ในการวางตลาดดี พบว่าประเทศที่มีการส่งออกกล้วยหอมคาเวนดิชอันดับ 1 ของโลกคือ ประเทศเอกวาดอร์ รองลงมาคือประเทศฟิลิปปินส์ และได้เริ่มมีการทดลองปลูกในประเทศไทย กิจกรรมอบรมรุ่นที่ 1 - รุ่นที่ 4 จัดในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน 234 คน และได้สร้างเครือข่ายการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นจากทั่วประเทศไทยรวมไปจนถึงเครือข่ายในสาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท Good famer คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม้โจ้ ได้ตระหนักถึงการผลิตกล้วยหอมคาเวนดิชให้ได้มาตรฐานของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีความต้องการกล้วยหอมคาเวนดิชในการบริโภคเป็นจำนวนมาก ซึ่งการจะผลิตให้ได้มาตรฐาน เกษตรกรต้องเริ่มต้นด้วยการมีองค์ความรู้ การเลือกหน่อพัธุ์กล้วยหอม การปลูก การดูแล การจัดการผลผลิต รวมทั้งการเก็บจัดผลผลิตลงในกล่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดจะต้องได้รับการอบรมที่ถูกต้อง การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในการนี้คณะผลิตกรรมการเกษตร จึงขออนุมัติจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเพื่อการส่งออก ให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจในการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถผลิตกล้วยหอมได้คุณภาพและมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด และยังเป็นการสร้างชื่อเสียงอันดีให้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในด้านการบริการวิชาการอีกด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่ออบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร/ผู้ที่สนใจในการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเพื่อการส่งออก ยกระดับคุณภาพของกล้วยหอมคาเวนดิชให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ
เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิส
เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับคณะผลิตกรรมการเกษตร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรและผู้ที่สนใจการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชได้มีความรู้ด้านมาตรฐานผลผลิตกล้วยหอมคาเวนดิช และได้พัฒนายกระดับคุณภาพของกล้วยหอมคาเวนดิชให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตรได้สร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิส สามารถสร้างชื่อเสียงในการเป็นผู้นำด้านการบริการวิชาการ เรื่อง การปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเพื่อการส่งออก ส่งเสริมให้เกษตรกรในประเทศไทย ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นอาชีพหลัก/อาชีพเสริมได้ และในอนาคตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถสร้างรายได้จากการรับซื้อและจำหน่ายกล้วยหอมคาเวนดิส
KPI 1 : ร้อยละของรายได้จากการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นของผู้รับการอบรม การปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเพื่อการส่งออก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ระดับ 3.5
KPI 3 : ร้อยละของจำนวนผู้ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิสที่ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 4 : องค์ความรู้ "มาตรฐานการผลิตกล้วยหอมคาเวนดิชเพื่อการส่งออก"
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 องค์ความรู้ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรและผู้ที่สนใจการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชได้มีความรู้ด้านมาตรฐานผลผลิตกล้วยหอมคาเวนดิช และได้พัฒนายกระดับคุณภาพของกล้วยหอมคาเวนดิชให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตรได้สร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิส สามารถสร้างชื่อเสียงในการเป็นผู้นำด้านการบริการวิชาการ เรื่อง การปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเพื่อการส่งออก ส่งเสริมให้เกษตรกรในประเทศไทย ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นอาชีพหลัก/อาชีพเสริมได้ และในอนาคตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถสร้างรายได้จากการรับซื้อและจำหน่ายกล้วยหอมคาเวนดิส
ชื่อกิจกรรม :
อบรมรุ่นที่6 วันที่ 11 พ.ย.2560 จังหวัดอุบลราชธานี : ค่าลงทะเบียน 170 คน x 1,000 บาท = 170,000 บาท
หมายเหตุ กำหนดเดินทางจาก ม.แม่โจ้ เชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 9 พ.ย. เวลา 05.00 น. กลับถึง ม.แม่โจ้ วันจันทร์ที่ 13 พ.ย. เวลา 19.00 น. (5วัน)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 09/11/2560 - 13/11/2560
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.นรินทร์  ท้าวแก่นจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าสาธารณูปโภคของมหาวิทยาลัย 10% ของค่าลงทะเบียนที่ได้รับ 170,000 บาท = 17,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
นำเข้าเป็นรายได้ของคณะผลิตฯ 5 % ของค่าลงทะเบียนที่ได้รับ 170,000 บาท = 8,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหาร 1 มื้อๆ มื้อละ 150 บาท
จำนวน 180 คน = 27,000 บาท
หมายเหตุ*ผู้อบรม 170 คน / คณะกรรมการจัดงาน วิทยากร 10 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 50 บาท
= 18,000 บาท
หมายเหตุ*ผู้อบรม 170 คน / คณะกรรมการจัดงาน วิทยากร 10 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าห้องประชุม= 3,500 บาท
หมายเหตุ จ.อุบลราชธานี
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะ(น้ำมันเติมรถยนต์)เดินทางไปจัดโครงการ หมายเหตุ* จาก จ.เชียงใหม่ ไป จ.อุบลราชธานี กลับ ม.แม่โจ้ จ.เชียงใหม่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,830.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง อาจารย์ เจ้าหน้าที่ 5 คน xคนละ 240 บาท x 5 วัน หมายเหตุ วันที่ 9 – 13 พ.ย.2560
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าที่พัก บุคลากร 5 คน จำนวน 3 ห้อง x 1,200 X 4 คืน หมายเหตุ*คืนวันที่ 9-12 พ.ย. 2560
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมกล้ากล้วยหอมคาเวนดิชพร้อมวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกปฏิบัติ สำหรับผู้ฝึกอบรม จำนวน 170 ใบ ใบละ 280 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 47,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมเอกสารประกอบการฝึกอบรม
จำนวน 170 เล่ม เล่มละ 70 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านธนาคาร = 170 บาท
หมายเหตุ - โอนเงินจากจังหวัดอุบลราชธานี เข้าธนาคาร บัญชี ม.แม่โจ้ จ.เชียงใหม่ หลังจากได้รับค่าลงทะเบียนทันที
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 170.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร = 10,500 บาท (วิทยากร 8 คน *ภายใน ชม.ละ 600 บาท/ ภายนอก ชม.ละ 1,200 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 170000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากเป็นโครงการใหม่ ที่มีการจัดอบรมให้เกษตรกร แบบเก็บเงินค่าลงทะเบียน และหารายได้เข้าคณะฯและมหาวิทยาลัย จึงมีรายละเอียดของการจัดกิจกรรมและค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถประมาณการได้แม่นยำ ต้องแปรผกผันตามค่าลงทะเบียนหน้างานที่ได้รับ ผู้จัดโครงการจึงมีความจำเป็นจะต้องแก้ไขค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามที่ใช้จ่ายจริง
ผู้อบรมและวิทยากรที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมจากต่างจังหวัด มักจะนำผู้ติดตามเข้ามาร่วมงานด้วย คณะผู้จัดจึงจำเป็นต้องเลี้ยงอาหารและอาหารว่าง เครื่องดื่ม จัดหาที่พัก ตามความเหมาะสม แต่ต้องเพิ่มความรับผิดชอบในส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณที่่ไม่สามารถประมาณการได้ เพื่อความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมกิจกรรมแต่ละครั้ง มักมีผู้มาลงทะเบียนฝึกอบรมหน้างานโดยไม่ได้แจ้งผู้จัดงานล่วงหน้า หรือ บางรายแจ้งชื่อไว้แต่ในวันงานไม่มาลงทะเบียนเข้าร่วม ทำให้จำนวนเงินรับ และค่าใช้จ่ายมีการเปลี่ยนแปลงตามจำนวนของผู้เข้ารับการอบรม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ทีมงานประสานงานโครงการ ประชาสัมพันธ์และยืนยันจำนวนผู้เข้ารับการอบรม ให้มีจำนวนใกล้เคียง กับที่ผู้จัดประมาณการไว้ เพื่อการดำเนินงานให้เหมาะสมให้การอบรมราบรื่นและเกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ
คณะผู้จัดโครงการต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้สำเร็จ อย่างต่อเนื่อง ตามบริบทของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
จัดทำเอกสารขออนุมัติเปลี่ยนแปลงงบประมาณและเพิ่มกิจกรรมตามที่จัดจริง
จัดทำเอกสารเบิกจ่ายต่างๆให้ถูกต้องตามระเบียบฯ และสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ตามวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ
เมื่อมีการเพิ่มกิจกรรม ตามความต้องการของกลุ่มเกษตรกร ให้มีการประชุมคณะกรรมการจัดโครงการฯ วางแผนการใช้งบประมาณ และขออนุมัติเพิ่มกิจกรรมตามความเหมาะสม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล