คณะผู้บริหาร คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับ Professor Dr. Ikuo Hirono จากมหาวิทยาลัย Tokyo University of Marine Science and Technology (TUMSAT) พร้อมจัดกิจกรรมบรรยายพิเศษด้านการประมง
วันที่ 24/05/2567    224 ครั้ง    ประเภท ข่าวกิจกรรม    ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. จงกล พรมยะ คณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์ ร่วมให้การต้อนรับ Professor Dr. Ikuo Hirono อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ Genome Science จากมหาวิทยาลัย Tokyo University of Marine Science and Technology (TUMSAT) เพื่อหารือเกี่ยวกับการศึกษาเรียนรู้วิชาการด้านการประมง การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตจากกระบวนการสอนของคณาจารย์และบุคลากร การกำหนดแนวทางในการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานในอนาคต และการสร้างเครือข่ายงานวิจัยจากหน่วยงานภายนอก ภายใต้โครงการสนับสนุนประสิทธิภาพด้านงานวิจัยสู่ความเป็นนานาชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567 พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมบรยายพิเศษด้านการประมง ภายใต้หัวข้อ การศึกษาภูมิคุ้มกันในระดับโมเลกุลและการพัฒนาแนวทางในการเลี้ยงเพื่อป้องกันเชื้อโรคในกุ้ง (Shrimp Molecular Immunity and Development of Prevention Strategies Agianst Shrimp Pathogens และ เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยสำหรับการนำเสนอต่อวารสารและแหล่งสารสนเทศเพื่อการตีพิมพ์ที่มีคุณภาพ (Techniques of Preparing Research Plublications for High – Quality Jornals) โดย Professor.Dr. Ikuo Hirono เป็นวิทยากรบรรยาย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ชนกันต์ จิตมนัส รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องประชุม FT1105 คณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมฟังบรรยายจำนวนรวม 60 คนประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีประเด็นสำคัญที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมให้ข้อเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับวิทยากร คือ องค์ความรู้เรื่องภูมิคุ้มกันและการป้องกันโรคในอุตสาหกรรมการผลิตกุ้ง ความก้าวหน้าทางวิชาการและการตรวจวิเคราะห์สารชีวภาพระดับโมเลกุล สามารถนำไปปรับใช้และพัฒนางานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ได้ทุกสายงาน และจากการบรรยายเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการที่มีคุณภาพนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยิ่ง เนื่องจากมีการให้ความรู้ความเข้าใจในขั้นตอน วิธีการเตรียมข้อมูล การคัดกรองเนื้อหา และส่งเสริมให้เขียนผลงานบนพื้นฐานของจริยธรรมนักวิจัย