ผู้รับผิดชอบหลัก
ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
การพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา (Reinventing University) คือ การปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถจัดการศึกษา วิจัย และผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศตามศักยภาพและความถนัด เพื่อเป็นหัวจักรในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่ ความยั่งยืน สิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องทำคือการปฏิรูประบบการบริหาร ปรับเปลี่ยนหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ทันสมัย ผลิตกำลังคนคุณภาพสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีปัญญาและคุณธรรม ยกระดับการวิจัยและสร้างนวัตกรรมให้มีความเป็นเลิศ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการของบัณฑิต (Entrepreneur) และเพิ่มโอกาส “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” ของคนทุกช่วงวัย เพื่อตอบสนองนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และทิศทางการพัฒนาอุดมศึกษาปของกระทรวง อว. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดทำแผนพัฒนาความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย และได้เสนอตัวพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่สถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 2 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ตามความเชี่ยวชาญและยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ภายใต้การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ ผ่านการพัฒนาข้อเสนอโครงการการยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรและอาหารขั้นสูงนี้ขึ้น
โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับงบประมาณด้านการวิจัยย้อนหลัง 5 ปี รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 886,224,034.- บาท และเพื่อเป็นการสร้างความเป็นเลิศในการพัฒนาสู่สถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 2 ตามยุทธศาสตร์และพันธกิจหลักที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนดจุดเน้นในการพัฒนาที่สอดคล้องกับประเด็นแผนแม่บทในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 13 และแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ของกระทรวง อว. คือ การผลิตบัณฑิตผู้ประกอบการฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก 8 ประเด็นย่อย ได้แก่
1) เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร (Agri. Tech and Innovation) ซึ่งประกอบด้วยประเด็นย่อย ได้แก่
? เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy : BCG)
? อาหารและสุขภาพ (Food and Health)
? ความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Biodiversity and Sustainable)
? การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนและผู้ประกอบการ ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ (Technology Transfer)
? การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Tech & Innovation Ecosystem)
2) การผลิตบัณฑิตผู้ประกอบการนักปฏิบัติ (Entrepreneurship and Hands on students) ซึ่งประกอบด้วยประเด็นย่อย ได้แก่
? การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ ทั้งผู้ประกอบการใหม่ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ประกอบการเดิม (Entrepreneur)
? การสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
? การผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติ ด้วยการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นทั้งในห้องปฏิบัติการและฟาร์มที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการจริง (Hands on Learning)
โดยมีกรอบแนวคิดในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบเพื่อดำเนินการยกระดับระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรและอาหารขั้นสูง โดยเริ่มจากการวางยุทธศาสตร์ ดังนี้
ด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ดี (IP Strategy) โดยเริ่มจากการสร้างสรรค์งานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ผ่านการร่วมกับหน่วยงานต้นน้ำที่รับผิดชอบการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ได้แก่สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร และคณะ วิทยาลัย ต่างๆ เพื่อดำเนินการในกิจกรรมดังนี้
ส่วนที่ 1 กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมอันเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาและ
การสร้างความตระหนักเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาทั้งภายในและภายนอกองค์กร
กิจกรรมสร้างความตระหนักในการใช้และการสร้างผลงานอันมีทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นที่เข้าใจอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิจัย นักศึกษา และผู้ประกอบการ ที่มีบทบาทในฐานะเป็นทั้งผู้ใช้ และ ผู้สร้างสรรค์ การสร้างความตระหนักในเรื่องของการละเมิด ข้อควรระวัง ตลอดจนการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคุ้มค่าของการลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาไปสู่การตลาดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม กิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละปี ดังนี้
1) กิจกรรมคัดกรองงานวิจัยที่มีศักยภาพ (IP Audit) ร่วมกับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำ IP Portfolio เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการ เพื่อต้องการทราบต้นทุนงานวิจัย ผู้มีส่วนร่วมนำไปสู่การดำเนินการด้าน IP Clearance และวางกลยุทธ์ IP Strategy ไปสู่การคุ้มครองอย่างเหมาะสม รวมไปถึงวางแนวทางใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีอย่างไร เช่นการใช้ประโยชน์ในเชิงสังคม การใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ
2) กิจกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากทรัพย์สินทางปัญญา การฝึกทักษะการคิดที่นอกเหนือจากกรอบแนวคิดการวิจัยเดิมเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมได้แก่ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่จะมาฝึกฝนทักษะการคิดแบบนวัตกร โดยใช้ฐานความรู้จากทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการปกป้องแต่ละประเภท
ส่วนที่ 2 IP Protection เป็นกระบวนการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้เหมาะสม
1) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ ความแตกต่าง ความคุ้มค่าทั้งเวลาและงบประมาณ
2) การให้บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์/เครื่องหมายการค้า/พันธุ์พืชใหม่ ให้แก่ มหาวิทยาลัย นักศึกษา บุคลากร นักวิจัย อาจารย์ และผู้ประกอบการ
3) การติดตาม ตรวจสอบ สถานะของทรัพย์สินทางปัญญาจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาจนจบกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสม
ส่วนที่ 3 Utilization การผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
1) การประเมินศักยภาพของ IP ประเภทต่างๆ และการประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยี เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ด้านการใช้ประโยชน์
2) การคิดรูปแบบธุรกิจสำหรับเทคโนโลยีแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับธุรกิจและการลงทุน
3) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับการเจรจากับภาคเอกชนที่สนใจนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือการประเมินมูลค่าเพื่อการลงทุนในการปรับปรุง/พัฒนาต่อยอดนวัตกรรม
4) การเจรจาต่อรองกับผู้ที่จะนำงานทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
5) การจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว
6) การจับคู่ธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมในการถ่ายทอดรวมทั้งการจัดทำต้นแบบเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาด
7) การเข้าร่วมแสดงนิทรรศการ แสดงผลงาน เพื่อหาผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือหาผู้ร่วมลงทุน ตลอดจนหาผู้ร่วมโครงการทำวิจัยเพื่อต่อยอดเพิ่มเติมจากองค์ความรู้เดิม
8) การพัฒนาแนวทางการอนุญาตให้ใช้สิทธิกับผู้ประกอบการใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมการบ่มเพาะกับอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วางแนวทางการพัฒนารูปแบบ (Business Model) ให้เกิดประโยชน์กับทั้งหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยศึกษาความเป็นไปได้ของงานวิจัยที่มีศักยภาพและมีความพร้อมพัฒนาไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง จากนั้นจึงหาผู้ประกอบการใหม่ที่พร้อมรับงานวิจัยดังกล่าวไปสร้างธุรกิจใหม่ (Startup) โดยผู้ประกอบการรับอนุญาตใช้สิทธิจากมหาวิทยาลัยผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ โดยยกเว้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเปิดเผยการประดิษฐ์ในช่วงแรกที่ผู้ประกอบการต้องเข้ารับการบ่มเพาะจากอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ภายหลังผู้ประกอบการเข้มแข็งและ Spinoff ออกไปแล้วจึงค่อยจ่ายค่าธรรมเนียม (Royalty) ในอัตราที่พอสมควรในระยะเวลา หนึ่งกลับมาให้แก่มหาวิทยาลัย
ส่วนที่ 4 enforcement การบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
การให้คำปรึกษาเบื้องต้นในการปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยการทำหนังสือแจ้งเตือน และส่งต่อไปยังส่วนงานทางด้านกฎหมายทั้งในมหาวิทยาลัย และส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกทั้งการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญในการดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการสร้างและสะสมองค์ความรู้ในด้านเป้าหมายต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยตลอดเวลา และพัฒนาประเทศจากประเทศที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการตามภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมมาเป็นระยะเวลากว่า 17 ปี เริ่มตั้งแต่ก่อตั้งเป็นสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจในปี พ.ศ. 2548 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เดิม และเริ่มบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญามาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 โดยฝ่ายจัดการทรัพย์ส
รายละเอียดเพิ่มเติม