โครงการอบรมหลักสูตรผู้นำการเกษตรยุคใหม่(The Modern Agricultural Leadership Program (MAGLEAD))

วันที่เริ่มต้น 07/07/2560 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 30/09/2560 เวลา 0:00
สถานที่จัด ไม่ระบุ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
ประเทศไทยยังคงประสบสภาวะแวดล้อมและบริบทต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ อาทิเช่นการเปิดเศรษฐกิจเสรี ความท้าทายของเทคโนโลยีใหม่ๆ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง ประกอบกับสภาวการณ์ด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ประเทศยังประสบปัญหาในการผลิต ความสามารถในการแข่งขัน คุณภาพการศึกษา ความเลื่อมล้ำทางสังคม การพัฒนาที่ผ่านมาหลายทศวรรษของประเทศมุ่งขยายฐานกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้การพัฒนาทางสังคมมีความล่าช้า โดยเฉพาะในด้านคุณภาพการศึกษา บริการสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานที่ขาดความครอบคลุมทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพเท่าเทียมกันในพื้นที่ต่างๆ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558ก)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2558ข) กล่าวถึงแนวโน้มที่ประเทศต้องเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปัจจัยภายในประเทศได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอีก 15-20 ปีต่อจากนี้ 2) ข้อจำกัดด้านทรัพยากร ทั้งด้านแรงงานและทรัพยากรธรรมชาติต่อต้นทุนการผลิตและสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของประชาชน 3) ปัญหาความเลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ที่ส่งผลต่อความสามัคคีในสังคม 4) ความอ่อนแอของการบริหารราชการแผ่นดิน ปัจจัยภายนอกที่ท้าทายอนาคตประเทศไทยในอีก 20 ปี ข้างหน้า ได้แก่ 1) กระแสโลกาภิวัฒน์ที่เข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีและรวดเร็วของผู้คน เงินทุน ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และเทคโนโลยี และสินค้าและบริการ 2) การรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคเชื่อมโยงระบบ ศูนย์อำนาจย้ายมาเอเชีย 3) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลก เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ มีความเสี่ยงแย่งชิงแรงงานและเงินทุน 4) เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 5) สภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น 6) ปริมาณน้ำมันลดลง ราคาแพงขึ้น การผลิตพืชพลังงานทดแทนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก 7) ความเป็นเมือง ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และ 8) การยึดถือการบริหารจัดการที่ดี และระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่เข้มข้นขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ได้นำไปสู่การวางกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เติบโตอย่างมั่นคง โดยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจดิจิตอล รวมทั้งให้มีการเติบโตอย่างมีคุณภาพ แข่งขันได้ และเชื่อมโยงเศรษฐกิจในอาเซียน เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลางในปี พ.ศ. 2573 โดยในภาคเกษตร จะสร้างความเข้มแข็งและเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพ โดยมีการจัดการการผลิต การตลาดอย่างเป็นระบบ เป็นธรรม คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้นจากรายได้ที่มั่นคง และฐานทรัพยากรที่ได้รับการดูแลและบำรุงรักษา
กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ความมั่นคง 2) การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน 3) การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของสังคม 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ในด้านการพัฒนาภาคการผลิตและบริการ มุ่งการเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร โดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิชาการเกษตร เทคโนโลยี และนวัตกรรม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558ข)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในบริบทความเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นความเลิศทางด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ ต้องวางแนวทางการปรับองค์กรรับการเปลี่ยนจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ สอดคล้องไปกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ และทิศทางยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ตลอดจนเตรียมความพร้อมต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ดังนั้น “หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเกษตรในทศวรรษหน้า” จะเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาวิสัยทัศน์ผู้นำ รวมถึง การวางแนวทางการพัฒนา ทิศทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา (Public-Private Partnership; PPP หรือ Triple Helix) และสร้างผู้นำองค์กรในรุ่นต่อไปเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 72  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 100 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   45 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล