“โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำหลักสูตร (มคอ.2) และการตรวจหลักสูตร (มคอ.2) เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558”

วันที่เริ่มต้น 29/03/2560 เวลา 8:30 วันที่สิ้นสุด 29/03/2560 เวลา 12:00
สถานที่จัด ณ ห้องประชุมสายน้ำผึ้ง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ลัคนา วัฒนะชีวะกุล คณะวิทยาศาสตร์
อัจฉรา บุญเกิด สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ กองบริหารงานสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ งานบริหารและธุรการ
ธันวดี กรีฑาเวทย์ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ฝ่ายพัฒนาการศึกษาและหลักสูตร
นฤมล คงขุนเทียน สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ฝ่ายพัฒนาการศึกษาและหลักสูตร

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
สืบเนื่องจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการศึกษา ซึ่งขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการกำหนดเกณฑ์ที่เพิ่มเติมจากเกณฑ์เดิม เช่น ให้อาจารย์ประจำสถาบันอุดมศึกษารับเข้าใหม่ จะต้องมีคะแนนทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา และใน ส่วนเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ปรับให้มีสอดคล้องกับความต้องการของสังคม เน้นให้ความสำคัญกับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่จะช่วยเสริมสมรรถนะ ทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้ เป็นวิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวางมี โลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่นและสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรมตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและประชาคมนานาชาติ และปรับลดจำนวนหน่วยกิตของหมวดวิชาเฉพาะ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษา ดังนั้น วิชาศึกษาทั่วไป จึงเป็นรายวิชาที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นบัณฑิตเพราะเป็นส่วนที่ช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ในภาพรวมให้เป็นไปตามปรัชญาและปณิธานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แต่เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน และแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้สู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ของระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงรายวิชาหมวดศึกษาทั่วไปเพื่อให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน และแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้สู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ดังกล่าว สำหรับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 นั้น มีการปรับคุณสมบัติในการทำหน้าที่ต่างๆ ให้ชัดเจน เหมาะสม ที่สำคัญคือ คุณวุฒิของอาจารย์ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับระดับปริญญาที่สอน และจะต้องมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการเรียนจบ แต่ต้องเป็นผลงานทางวิชาการที่สามารถใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการ และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไม่ต่ำกว่า 3 ผลงาน ในรอบ 5 ปีย้อนหลังเป็นอย่างน้อย ส่วนการปรับแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 ได้มีการเพิ่มเติม หัวข้อสำคัญเพื่อเน้นคุณภาพของการสอน ซึ่งจะเป็นฐานของการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือ จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ของแต่ละมหาวิทยาลัยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ และต้องเพิ่มมาตรการการกำกับดูแลการคัดลอกผลงานหรือการจ้างทำผลงานของบัณฑิตด้วย ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558 มีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการถ่ายทอดและเผยแพร่เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 ให้แก่คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตลอดจนบุคลากรสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรใหม่ เพื่อให้แต่ละคณะ/วิทยาลัย สามารถดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรต่อไป
สำหรับการบริหารหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นมหาวิทยาลัยจะต้องคำนึงการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากเป็นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องสู่ความเป็นเลิศ และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะหรือเทียบเท่า และระดับสถาบัน ตลอดจนเพื่อรองรับการเปิดเสรีภาพด้านการศึกษานั้น คือ การสร้างระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUN-QA) การประกันคุณภาพการศึกษาถือเป็นกลไกหนึ่งที่นำมาใช้เป็นกลไกในการตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยตามที่ได้กำหนดเอาไว้ในระดับอาเซียน ทั้งนี้ ในการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับอาเซียนนั้นจะเป็นการประเมินเพื่อรองรับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งประโยชน์ของการประเมินดังกล่าว จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของหลักสูตรต่างๆของมหาวิทยาลัยให้มีความทัดเทียมในระดับนานาชาติ และเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยในระดับหลักสูตรใช้เกณฑ์ AUN-QA โดยสาระสำคัญของ AUN-QA ที่มุ่งเน้น Expected Learning Outcome (ELO) นั้น สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่ มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาคมโลก หลักสูตรจึงไม่สามารถละเลยที่จะผลิตบัณฑิตให้มี competence เหมาะสมกับภาวการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้ง AUN-QA มีลักษณะเป็นเกณฑ์ (criteria) ที่กำหนดเพียงแนวทาง (guideline) เพื่อการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อการผลิตบัณฑิตตาม ELO ดังนั้นแม้ภาวการณ์จะเปลี่ยนไป เกณฑ์จะถูกเปลี่ยนน้อยมาก ทําให้หลักสูตรสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนในระดับคณะและสถาบันนั้น มหาวิทยาลัยมีการดำเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหาร และการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการการ ประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของมหาวิทยาลัย จึงควรมีการคำนึงถึงความมุ่งหมายและ หลักการการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ ดังนั้น กิจกรรมการสัมมนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาอาเซียน AUN-QA เพื่อรองรับการประเมินหลักสูตร จึงจำเป็นต้องมีการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาอาเซียน (AUN-QA) เพื่อรองรับการประเมินหลักสูตร ให้แก่คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตลอดจนบุคลากรสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ เพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และ วางแผนเพื่อการปรับปรุงระบบการดำเนินงานและทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นตามเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยต้องการ สามารถการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน สัมนาเชิงปฏิบัตการ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม กิจกรรมด้านวิชาการ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 3  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 80 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล