โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2567 : ของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่" เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 4

วันที่เริ่มต้น 18/09/2567 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 18/09/2567 เวลา 0:00
สถานที่จัด ไม่ระบุ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
ปัจจุบัน ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน นับวันยิ่งจะถูกลืมเลือนหรือไม่ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นหรือวัยศึกษาเล่าเรียน เนื่องจากถูกมองว่าไม่มีความทันสมัยและไม่น่าสนใจ ดังนั้น คณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีพันธกิจหนึ่งในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ รวมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มาโดยตลอดทุกปีนั้น

โดยในปีงบประมาณ 2567 ตามแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้กำหนดจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่" ซึี่ง "บะข่างโว่" คือ ลูกข่างชนิดหนึ่งที่ใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการทำ มีเอกลักษณ์อยู่ที่เสียงดัง “โว่ๆ” ในขณะที่ลูกข่างกำลังหมุน สันนิษฐานว่าบะข่างโว่เป็นของเล่นที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ถูกห้ามเล่นในช่วงระหว่างสงคราม ทำให้ความนิยมเล่นบะข่างโว่ลดลง ปัจจุบันของเล่นพื้นบ้านชนิดนี้กำลังสูญหายไปจากชุมชนและสังคม ดังนั้น คณะจึงได้กำหนดจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น ภายใต้โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2567 : ของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่" เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ปี 4 ในวันพุธที่ 18 กันยายน 2567 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้าน “บะข่างโว่” ในบริบทของเทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมา วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำ ขั้นตอนการทำ วิธีการเล่น เทคนิคการเล่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน กติกาการแข่งขัน รวมถึงคุณค่าและประโยชน์ของบะข่างโว่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 บุคลากรคณะเศรษฐศาสตร์ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้สนใจเข้าร่วม ซึ่งคณะได้มีการเชิญปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านสลีปิงจัยแก้วกว้าง ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ทักษะในการทำของเล่นไม้ไทยโบราณ ของเล่นพื้นบ้านล้านนา "บะข่างโว่" มาอบรมให้ความรู้ และการปฏิบัติจริงให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมแล้ว กิจกรรมนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างรายได้ และสร้างอาชีพเสริม ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว รวมถึงเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางเศรษฐศาสตร์ สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ต่อไปได้
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 3  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 48 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล