ผู้รับผิดชอบหลัก
ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ในปัจจุบัน สังคมกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามองหลายประการ คนรุ่นใหม่ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความก้าวหน้าควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญ การสร้างนวัตกรรมทางภาษา วัฒนธรรม การสื่อสาร และสุขภาวะ ล้วนเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน อีกทั้งการส่งเสริมนวัตกรรมในองค์ประกอบเหล่านี้ จะช่วยสร้างสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้า มีความสุข และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๓ และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ ๑ “ศิลปศาสตร์วิชาการ : นวัตกรรมทางภาษา วัฒนธรรม การสื่อสาร และสุขภาวะเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” จึงเกิดขึ้นจากความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับเครือข่ายทางวิชาการจาก ๑1 สถาบัน ๑๗ คณะ/หน่วยงาน ได้แก่ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน สมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (สททร) Universitas Negeri surabaya Universitas Indraprasta Universitas Negeri Semarang Universitas PGRI Adi Buana Surabaya และ Central Luson State University นับเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ได้นำผลงานวิจัย ผลงานวิชาการที่เป็นประเด็นหรือความท้าทายของสังคมไทยในปัจจุบัน มานำเสนอเพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ที่อาจจะนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดประโยชน์หรือต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหาในชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
การประชุมวิชาการในครั้งนี้ มีการเปิดรับบทความวิชาการ (Academic Articles) หรือบทความวิจัย (Research Articles) หลากหลายศาสตร์สาขาวิชา โดยผู้ส่งบทความจะได้นำเสนอผลงานในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation) ในวันจัดการประชุม บทความที่ส่งเข้าร่วมการประชุมวิชาการในครั้งนี้จะผ่านการพิจารณา
จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่ตรงตามสาขาวิชานั้น ๆ และจะได้รับการตีพิมพ์ลงในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมฯ (Proceedings)
รายละเอียดเพิ่มเติม