โครงการปลูกผักแลกค่าเทอม(การประมง) ประจำปีการศึกษา 2565

วันที่เริ่มต้น 01/07/2565 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 31/03/2566 เวลา 0:00
สถานที่จัด คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
จงกล พรมยะ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
นงพงา แสงเจริญ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
น้ำเพชร ประกอบศิลป์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ประเสริฐ ประสงค์ผล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
การดำเนินงานการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสถานที่ดำเนินงานจริง จะช่วยให้การเรียนรู้ของนักศึกษาสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนตามแบบแผนซึ่งนักศึกษาต้องใช้เมื่อสำเร็จการศึกษาและออกไปใช้ชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัย การบูรณาการกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ลงสู่ชุมชนเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนโดยให้นักศึกษาได้มีปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้จากท้องถิ่น เพื่อให้ทราบปัญหาที่แท้จริงและสามารถวางแผนการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
ในส่วนของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักแลกค่าเทอม (การประมง) โดยบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และกิจกรรมนักศึกษา ซึ่งมีรูปแบบการผลิตที่มาจากการเรียนรู้ในกระบวนการรายวิชา ได้แก่ วิชาการเพาะลี้ยงสัตว์น้ำ วิชาการจัดการฟาร์ม วิชาเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง วิชาสาหร่ายและแพลงก์ตอน วิชาหลักการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเบื้องต้น และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีองค์ประกอบหลักในการพัฒนาดังนี้
ในส่วนของต้นน้ำ มีกิจกรรมสำคัญคือ การส่งเสริมและพัฒนาระบบการเพาะ อนุบาล และการเลี้ยงสัตว์น้ำ และอาหารสัตว์น้ำ ทั้งในด้านการสนับสนุนการปรับปรุงพื้นที่การเพาะขยายพันธุ์ การอนุบาลและการเลี้ยง เช่น การปรับปรุงบ่อเลี้ยง ให้อยู่ในสภาพที่เหมะสมกับการเลี้ยง ปัจจัยด้านการผลิต วัสดุวิทยาศาสตร์ วัสดุการเกษตร ส่งเสริมการใช้พื้นที่รอบคันบ่อให้เกิดประโยชน์สุงสุด เช่น การเพาะปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร การอบรมให้ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยง ด้านการจัดการฟาร์ม เป็นต้น ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ใช้ของเศษเหลือจากภาคการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เกิดมูลค่าเพิ่ม
ในส่วนของช่วงกลางน้ำ การส่งเสริมกิจกรรมการแปรรูปผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งในด้านการสนับสนุนอุปกรณ์งานบ้านงานครัว การอบรม
การแปรรูป และการใช้ผลผลิตให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งได้จากการเรียนรู้ในกระบวนรายวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลานิลสด(Fillet) ปลานิลแดดเดียว ปลานิลปรุงรส และอาหารสำเร็จรูปจากปลาและสัตว์น้ำ
และในส่วน ของปลายน้ำ มีกิจกรมการอบรมเพื่อจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์สินค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนได้เป็นอย่าง
ซึ่งนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะได้รับความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าที่มีความรู้ เป็นที่
ปรึกษา ประกอบกับผลผลิตทั้งหมดจะปรับเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผ่านการจำหน่ายในทุกช่องทาง ทั้งในตลาดแบบออนไลน์ และตลาดแบบออฟไลน์ ทั้งนี้นักศึกษาจะได้รับผลตอบแทนจากความสามารถ และความอุตสาหะ เพื่อเป็นเงินทุนค่าเทอม และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 100  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 40 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล