ประเภท/ลักษณะงาน
ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ไม่ระบุ
เป้าหมายผู้เข้าร่วม
70
คน
จำนวนผู้เข้าร่วม
70
คน
รายรับ
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่ารายรับ
ไม่ระบุ
บาท
ค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
นักศึกษาเข้าร่วมงาน แฮกนาปลูกข้าว เรียนรู้วิธีการแฮกนา จำนวน 800 คน ประชาชนชาวไทยมีอาชีพทางเกษตรกรรมมาแต่โบราณกาล อาหารที่สำคัญ คือ ข้าว เป็นทั้งแป้งและน้ำตาลเป็นอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นการผลิตข้าวจีงเป็นงานสำคัญ ในวิธีชีวิตของคนไทยทั้งมวล การแสวงหาเนื้อที่ปลูกข้าวโดยการหาแหล่งน้ำและเนื้อที่ราบเป้นที่ปลูกข้าวเรียกกันว่า"ทุ่งนา" จึงทำมาช้านาน เนื้อที่ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นที่ราบของประเทศไว้สำหรับเป็นที่ปลูกข้าวมากมาย ประเพณีทางล้านนาที่ปฏิบัติกันสืบมา เช่น การแฮกนา ของชาวล้านนาไทยกับการแรกนาของภาคกลาง เป็นอันเดียวกันต่างและล้านนาประชาชนออกเสียงเป็นแฮกนา เป็นอย่างเดียวกับจรดพระนังคัล คือการไถนา หรือ พระราชพิธีแรกนาขวัญ คณะผลิตกรรมการเกษตรเป็นคณะที่มีการเรียนการสอนนักศึกษาในด้านการเกษตรมานานกว่า 45 ปี มีความมุ่งมั่นที่จะรักษาไว้ซึ่งความสำคัญของข้าวไม่ว่าจะในฐานะของอาหาร เครื่องมือทางวัฒนธรรม และการสานเชื่อมเครือข่ายทางสังคมให้เข้ามาเห็นและมีส่วนร่วมอย่างแนบแน่น จึงประสงค์จะจัดโครงการนี้เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจ ได้นำเอาความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ สำหรับนักศึกษาเป็นการได้รับความรู้จากนอกห้องเรียนมาบูรณาการด้วยการได้รู้จักการทำนาแบบธรรมชาติ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนามาตลอดชีวิต รวมไปถึง พิธีกรรมแฮกปลูกข้าวแบบล้านนา และกิจกรรมประเพณีลงแขกปลูกข้าว เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจของคนไทยที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่คณะ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา โดยใช้อุบายให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมและสมดูล อันจะส่งผลต่อการรับรุ้ที่ดีต่อการทำนาและอาชีพเกษตรกรของนักศีกษาต่อสังคม ชุมชน และประชาชนชาวบ้าน เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สู่ Organic University Green และ Eco University ต่อไปในอนาคต ประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรมที่เข้มแข็งยั่งยืนมานับตั้งแต่บรรพบุรุษ ดังนั้น การส่งเสริม อนุรักษ์อาชีพและศิลปวัฒนธรรม ประเพณีเกี่ยวกับการเกษตรจึงมีความสำคัญมากสำหรับ คณะผลิตกรรมการเกษตร ที่มุ่งมั่นจะผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้อย่างสม่ำเสมอ