ผู้รับผิดชอบหลัก
ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ดำเนินการและปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 หมวด 3 ประเภทของสถาบันการศึกษา มาตรา 24 และ หมวด 6 การจัดสรรทรัพยากร มาตรา 43(3)
มาตรา 24 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม สนับสนุน ประเมินคุณภาพ กำกับดูแล และ จัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันอุดมศึกษา รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดให้จัดสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลุ่มได้ โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพ และผลการดำเนินการที่ผ่านมาของสถาบัน อุดมศึกษาแต่ละกลุ่ม โดยต้องกำหนดมาตรการส่งเสริม สนับสนุน ประเมินคุณภาพ กำกับดูแล และจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการจัดกลุ่มดังกล่าวด้วย ในกรณีที่รัฐมนตรีประกาศให้สถาบันอุดมศึกษากลุ่มใดมีพันธกิจหลักในการให้การศึกษาอบรม ทักษะอาชีวะชั้นสูงเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันอุดมศึกษา กลุ่มนั้นย่อมได้รับความสนับสนุนเป็นพิเศษจากรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 43 (3) งบลงทุนและงบเงินอุดหนุนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา และการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ และเงินอุดหนุนจากกองทุน ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อใช้ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ประเภทและกลุ่มของสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร มากว่า 85 ปี และมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านการเกษตรระดับนานาชาติ และในปีพ.ศ. 2577 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีอายุครบ 100 ปี มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายที่จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture) มีความพร้อมที่จะพัฒนาบุคลากรตลอดช่วงอายุ ตามนโยบายการผลิตกำลังคนของกระทรวงอุดมศึกษาให้มีมีความเชี่ยวชาญและชำนาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ และมีเครือข่ายผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งกลุ่มเกษตรกร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญพื้นฐานด้านเทคโนโลยีการเกษตร นวัตกรรมการเกษตร การเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งมีการจัดการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์ สื่อดิจิทัล พลังงาน วิศวกรรม การเกษตรพื้นฐานทั้ง พืช สัตว์ ประมง การแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นฐานในการพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยกลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งมีความพร้อมพื้นฐานในด้านระบบนิเวศน์นวัตกรรม
มหาวิทยาลัยมีการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นเพื่อเสนอตัวมหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีลานวัตกรรม มีการเตรียมการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มีการศึกษา วิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านเกษตรอัจฉริยะ มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดหลักสูตรด้านนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ และหลักสูตรผู้ประกอบการเกษตรนวัตกรรม ทั้งหลักสูตร Degree 4 ปี และ 2 ปี ต่อเนื่อง หลักสูตร non-degree ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ module และแบบ online โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำหรับคนตลอดช่วงอายุวัยให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งหลักสูตรในการ Up skill, Re skill , New Skill บุคลากรในสถานประกอบการ และบัณฑิตใหม่ที่ยังไม่มีงานทำให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ ในการนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือสร้างธุรกิจใหม่ได้
การวิเคราะห์ความเชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการผลักดันให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่นั้น มหาวิทยาลัยได้มีการวิเคราะห์องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญเดิมของมหาวิทยาลัย พบว่ามหาวิทยาลัยมีความเชียวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตร ด้านการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเป็นหลัก และเริ่มมีผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรม แต่ยังไม่ถึงเป็นบัณฑิตผู้ประกอบการ มีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ในการผลิตบัณฑิต ในการที่มหาวิยาลัยจะอยู่ในกลุ่มที่ 2 กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น มหาวิทยาลัยได้มีการวิเคราะห์ความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยด้านการเกษตรดังนี้
การวิเคราะห์ความเชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญพื้นฐานด้านเทคโนโลยีการเกษตร นวัตกรรมการเกษตร การเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งมีการจัดการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์ สื่อดิจิทัล พลังงาน วิศวกรรม การเกษตรพื้นฐานทั้ง พืช สัตว์ ประมง การแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นฐานในการพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยกลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง
จากความสำคัญและที่มาของโครงการเบื้องต้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงเสนอตัวการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย อยู่ในกลุ่ม 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นการต่อยอดอาชีวะขั้นสูง ภายใต้กรอบแนวคิดและการวิเคราะห์นี้ มหาวิทยาลัยได้พัฒนา “โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่มหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่” โดยมีกระบวนการพลิกโฉมที่สำคัญ 3 กระบวนการ ตั้งแต่ 1) กระบวนการเตรียมความพร้อมสู่การพลิกโฉม 2) กระบวนการสร้างความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรสมัยใหม่ และ 3) กระบวนถ่ายทอดสู่ชุมชนและสังคม เพื่อเสนอต่อกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีเป้าประสงค์ที่จะสร้างความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ในปี พ.ศ. 2570
รายละเอียดเพิ่มเติม