เสวนาเชิงปฏิบัติการฐานเรียนรู้งานหัตถกรรม หัตถศิลป์ถิ่นล้านนา (รูปแบบออนไลน์)

วันที่เริ่มต้น 22/12/2564 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 29/12/2565 เวลา 0:00
สถานที่จัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สำนักงานมหาวิทยาลัย สาขา/กอง กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการจัดงานมหกรรมด้านการเกษตรเป็นประจำทุกปี โดยปี 2564 ได้กำหนดจัดงานเกษตรแม่โจ้ (ออนไลน์) 2564 นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน (วิถีใหม่) ระหว่างวันที่ 22-29 ธันวาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการน้อมถวายเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ ที่ทรงยึดหลักผลประโยชน์ของปวงชน และการพัฒนาคนเป็นสำคัญ นับเป็นกระบวนการทำงานแบบบูรณาการ และกระบวนการคิดบนรากฐานของ “การเข้าใจมนุษย์” ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากความเข้าใจ ศึกษาผู้คนด้วยการสังเกตและใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา สืบสานพระราชปณิธาน และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และใช้บูรณาการกับการเกษตรในทุกมิติมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งการพัฒนาประเทศไทยภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 ได้ระบุองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอาหาร และสุขภาพ ผ่านการขับเคลื่อนด้วยความรู้และนวัตกรรม มีความสอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) นั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปและปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบเพื่อให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหมาะสมกับภูมิทัศน์ใหม่ของโลก และรัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เป็นกรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยมุ่งพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ผลักดันให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง สร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้นในระดับสูงขึ้นสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับคนไทย ให้สังคมมีความมั่นคง เสมอภาค และเป็นธรรม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและอนาคต สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและเศรษฐกิจของโลก โดยเน้นความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานราก และสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกอย่างรู้เท่าทัน
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการพัฒนาการเกษตรสร้างมูลค่าและอุตสาหกรรม และบริการแห่งอนาคต ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในและนอกถิ่นกำเนิด ตลอดจนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ การเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยเป็นภารกิจหนึ่งของงานบริหารผลงานวิจัยนวัตกรรมการวิจัย ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการก้าวสู่ปีที่ 100 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2577 โดยมีเป้าหมายการพัฒนาสู่การเป็นนิเวศแห่งสังคมอุดมปัญญาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มอาชีพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้ดำเนินการจัดแสดงแปลงสาธิต ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การสร้างองค์กรภาคีเครือข่าย การบริการวิชาการ รวมถึงกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมถึงการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งนิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากเครือข่ายสถาบันการศึกษา และบุคลากรภาครัฐ องค์กรเอกชนได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สาธารณะ ตลอดจน การพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการวิจัย เชิงวิชาการ ความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ ระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญหาได้อย่างสัมฤทธิ์ผล อภิปราย เสวนาร่วมกันทำให้เข้าใจถึงปัญหาและสามารถทำงานวิจัยเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกันในการนำผลงานวิจัยไปใช้ปฏิบัติได้จริง และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไปอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่ได้ถ่ายทอดและนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชนสามารถนำความรู้และเทคโนโลยีไปพัฒนาอาชีพให้เกิดประโยชน์อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 1  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 1000 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล