ผู้รับผิดชอบหลัก
ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
พื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนมีการทำอาชีพทางการเกษตรหลากหลายประเภท เช่น การทำไร่ข้าวโพด และการทำไร่เลื่อนลอยต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำไร่ข้าวโพดที่ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควัน เนื่องจากหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วมักมีซังข้าวโพดและต้นข้าวโพดเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก เกษตรกรมักใช้วิธีการเผาทำลายซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายโดยคำนึงถึงเรื่องสภาพแวดล้อมและเกิดปัญหาหมอกควัน อีกทั้งในช่วงเข้าฤดูหนาวและฤดูร้อนชาวบ้านมีอาชีพเสริมโดยการหาของป่า ทำให้เกิดปัญหาการเผาป่าเกิดเป็นไฟป่าอีกทางหนึ่ง และด้วยสภาพภูมิประเทศของภาคเหนือตอนบนที่เป็นแอ่งกระทะ จึงทำให้เกิดหมอกควันสะสมโดยเฉพาะหมอกควันที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนหรือ PM10 ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ ในปี 2560 ที่ผ่านมา พบว่าในช่วงเดือนมกราคมจนถึงต้นเดือนเมษายน คุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพบว่าวันที่ 24 มีนาคม 2560 ถือว่าเลวร้ายขั้นสูงสุดเพราะค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง วัดได้สูงสุดเท่ากับ 237 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์อันตราย และในแทบทุกพื้นที่ของภาคเหนือตอนบนมีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินค่ามาตรฐาน (120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
ปัจจุบันทางภาครัฐได้หาแนวทางเพื่อบรรเทาปัญหาหมอกควันโดยดำเนินโครงการต่าง ๆ มากมายเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สภาพป่า และรณรงค์ให้ประชาชนมีจิตสำนึกและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหมอกควันมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยังมีประชาชนในพื้นที่สูงบางส่วนที่ยังขาดโอกาสที่จะได้รับความรู้และการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาหมอกควันจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี นอกจากเกษตรกรที่เป็นผู้มีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว การให้ความสำคัญกับนักเรียน/เยาวชน โดยเฉพาะนักเรียน/เยาวชนในโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่สูงควรจะได้รับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีความรู้ในการจัดการปัญหาหมอกควัน ซึ่งหากมองระยะยาวนักเรียน/เยาวชนในพื้นที่เหล่านี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่และเป็นเกษตรกรในพื้นที่และอาจเป็นผู้สร้างปัญหาหมอกควันในอนาคต ดังนั้นการส่งเสริมให้นักเรียน/เยาวชนเหล่านี้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาหมอกควัน และเกิดจิตสำนึกในจิตใจจะเป็นการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟในระดับต้นน้ำที่ดีที่สุดและก่อให้เกิดผลในระยะยาว
• เศรษฐกิจหลักในพื้นที่ภาคเหนือได้แก่รายได้จากภาคเกษตรกรรมในการผลิตพืชเศรษฐกิจในปี 2558 คิดเป็นมูลค่า 278,444 ล้านบาท และมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ในปี 2559 คิดเป็นมูลค่า 158,771 ล้านบาท รวม 437,215 ล้านบาทต่อปี ตามแผนพัฒนาภาคเหนือในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
• ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดเพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์ รวมมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งวงจรที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 1.1 ล้านล้านบาท (กรมส่งเสริมสหกรณ์ 2559) การใช้ประโยชน์จากข้าวโพดในปัจจุบันยังมีการใช้เฉพาะในส่วนเมล็ดข้าวโพดเป็นหลัก ส่วนชีวมวลที่เหลือทิ้งอยู่ในพื้นที่ได้แก่ลำต้นและซังข้าวโพดยังมีการนำมาใช้ประโยชน์ในรูปของเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ทำปุ๋ย หรืออาหารสัตว์ ซึ่งก็ยังมีชีวมวลเหลืออยู่ในพื้นที่จำนวนมาก เนื่องปัญหาในการเก็บเกี่ยวต้นข้าวโพดและการรวมรวม เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวโพดเป็นพื้นที่ลาดชัน ยังไม่มีเครื่องเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เกษตรกรจึงแก้ปัญหาโดยการเผาทิ้งเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรุ่นต่อไป ซึ่งการเผาไหม้ต้นและซังข้าวโพดก่อให้เกิดปัญหาหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมทั้งปัญหาด้านการท่องเที่ยว
• จากข้อมูลการสำรวจของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในปี 2556 พบว่าในส่วนของ ซัง ยอด ใบและลำต้นข้าวโพด มีปริมาณชีวมวลคงเหลือ 8,970,820.48 ตัน/ปี คิดเป็นพลังงานสำหรับการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 6.18 MW/ปี (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 2559) ซึ่งถ้าเราสามารถเก็บเกี่ยวและรวบรวมเพื่อนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงหรือใช้เป็นวัตถุดิบในการเพิ่มมูลค่าด้วยวิธีต่าง ๆ จะสามารถแก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือได้อย่างยั่งยืน
• การนำวัสดุเหลือทิ้งมาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ลดการเผาไหม้ ลดปัญหาด้านหมอกควัน ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และสุขภาพของประชาชนซึ่งรัฐบาลต้องมีการอุดหนุนงบประมาณชดเชย
• รัฐบาลมีนโยบาย Thailand 4.0 ในด้านเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรม ด้านพลังงาน ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานเทคโนโลยี
• มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยวิทยาลัยพลังงานทดแทน ซึ่งได้มีหลักสูตรด้านวิศวกรรมพลังงานทดแทน ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรม พลังงานทดแทน ที่มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี 4.0 ในการแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งเป็นพลังงาน
• นอกเหนือจากนั้น จึงมุ่งสู่การพัฒนาโครงการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในท้ายที่สุดก็จะทำการพัฒนาเทคโนโลยีการนำวัสดุเหลือทิ้งจากต้นข้าวโพดไปผลิตเป็นเชื้อเพลิง สำหรับเป็นแหล่งพลังงานทดแทนสำหรับในรูปของพลังงานความร้อน หรือไฟฟ้า โดยจะเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุน หรือกลุ่มอุตสาหกรรมต่อไป
• สิ่งที่สำคัณประการหนึ่งในการที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนคือการสร้างความรู้ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดังนั้นการดำเนินงานของโครงการจึงผ่านการถ่ายทอด และการมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของชุมชนและโรงเรียนควบคู่กันไป
ในแต่ละปีมีผลิตผลด้านการเกษตรเป็นจำนวนมาก จากการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรทำให้เกิดเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นจำนวนมากเช่นกัน จากข้อมูลการเพาะปลูกของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555 พบว่า ในภาคเหนือมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด 4.398 ล้านไร่ ผลผลิตข้าวโพด 2.985 ล้านตันต่อปี (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2555) คิดเป็นน้ำหนักชีวมวลเหลือทิ้ง 1.56 ตันต่อไร่ รวมมีชีวมวลเหลือทิ้งจากข้าวโพดในภาคเหนือ 6.86 ล้านตัน
ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่มีการเผาทำลายเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้ดังแสดงในตารางที่ 1 ก่อให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพอากาศ และส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากข้อมูลการทำลองเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่โล่งแจ้ง (ตารางที่ 2) พบว่านอกจากการปลดปล่อยฝุ่นควันต่าง ๆ แล้ว การเผาในที่โล่งแจ้งยังทำเกิดก๊าซคาร์บอนโมโนอ๊อกไซด์ (CO) ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ในปริมาณที่สูงมาก
ในทุก ๆ ปี ปัญหาหมอกควันเป็นปัญหาใหญ่ของพื้นที่ในเขตภาคเหนือ โดยกรมควบคุมมลพิษได้ระบุว่าค่าการปลดปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM10 จากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมีค่า 7 กิโลกรัมจากทุก 1,000 กิโลกรัมของเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ถูกเผาไหม้ กลายเป็นปัญหาหมอกควันพิษ
ซึ่งแสดงผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ ในวันที่ 22 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมาพบว่าปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 103-324 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งคุณภาพอากาศโดยรวม มีผลกระทบต่อสุขภาพ ปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้นกว่าวันก่อนหน้าเกือบทุกสถานี (กรมควบคุมมลพิษ, 2557) วิธีการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือการหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้ โดยแนวทางการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการกับชีวมวลเหลือทิ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางดังกล่าวนอกจากจะสามารถลดปัญหามลภาวะเป็นพิษที่เกิดจากการเผาทิ้ง ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ยังเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสียทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานเชื้อเพลิงอีกด้วย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยุทธศาสตร์ในการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว จากปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาการจัดการอย่างบูรณาการในการจัดการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจร เพื่อลดปัญหาหมอกควันที่กำลังเป็นปัญหาหลักของประเทศในปัจจุบัน โดยใช้องความรู้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้มี และผ่านการวิจัยพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการแก้ปัญหาที่ต้นน้ำ กลางน้ำและปายน้ำคือ
- ต้นน้ำ พื้นที่แห้งแล้ง สร้างป่าชุมชื้น สร้างการเกษตรอนุรักษ์ เกษตรทฤษฎีใหม่
- กลางน้ำ การจัดการวัสดุที่ติดไฟได้โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ พลังงาน ปุ๋ย สารบำรุงดิน การย่อยสลายโดยธรรมชาติ
- ปลายน้ำ การพัฒนาเครื่องกรองฝุ่น พื้นที่กรองฝุ่นโดยธรรมชาติ เครื่องดูดและย่อยวัสดุติดไฟได้
โดยดำเนินการให้เกิดเป็น การเรียนรู้ เกิดพื้นที่สาธิตต้นแบบที่เหมาะสม เกิดกลุ่มชุมชน เชาวชนที่มีความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึกในบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาหมอกควันอย่างครบวงจรสามารถขยายผลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ทั้งนี้กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินในโครงการมีความมุ่งหวังที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาในเขตพื้นที่ภาคเหนือในการลดมลพิษจากหมอกควันได้อย่างยั่งยืน โดยใช้จิตสำนึกของประชาชนเป็นฐานในการดำเนินงานของภาครัฐในอนาคตได้และในการดำเนินงานของโครงการได้บูรณาการความรู้ความร่วมมือและความชำนาณจากหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบด้วย
- วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
- คณะวิศว
รายละเอียดเพิ่มเติม