ผู้รับผิดชอบหลัก
ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว หนึ่งในทักษะสำคัญของผู้คนในยุคนี้ ซึ่งมักเรียกกันว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ สิ่งที่ทั่วโลกกำลังเผชิญถือเป็นความท้าทายของนักการศึกษาในยุคนี้อย่างมาก ซึ่งในภาวะนี้ การทำให้นักการศึกษาเปลี่ยนมุมมองต่อไอทีว่าเป็นเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มทางการศึกษาแพลตฟอร์มหนึ่งมาสู่แนวคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้นักศึกษาและนักวิชาการสามารถเอาตัวรอดและใช้ชีวิตอยู่ในโลกทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ได้อย่างเต็มภาคภูมินั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก จากที่เคยมีตัวชี้วัด เช่น IQ (ความอัจฉริยะทางสติปัญญา) และ EQ (ความอัจฉริยะทางอารมณ์แล้ว ในยุคดิจิทัลยังมีตัวชี้วัดใหม่อย่าง DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) ซึ่งสอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น พลเมืองดิจิทัล สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์ได้และความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล การสอดแทรกความสามารถในการเป็นพลเมืองดิจิทัล ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยี และการมีชีวิตอยู่ใน Digital World ให้กับอาจารย์และนักศึกษาเป็นสิ่งที่พวกเขาควรได้เรียนรู้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ด้าน ได้แก่
1. Digital citizen identity การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการมีตัวตนบนโลกดิจิทัล และสามารถบริหารจัดการตัวตนทั้งบนโลกออนไลน์และโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. Screen time management การรู้จักควบคุมตัวเอง และสามารถแบ่งเวลาในการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเล่นเกมออนไลน์และโซเชียลมีเดียอย่างรับผิดชอบ
3. Cyberbullying management การรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ได้อย่างชาญฉลาด
4. Cybersecurity management มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลด้านความปลอดภัยของข้อมูลบนโลกไซเบอร์ได้ เช่น การสร้างพาสเวิร์ดที่เจาะได้ยาก หรือการรับมือกับภัยคุกคามบนโลกดิจิทัล
5. Privacy management มีความเข้าใจในเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การแชร์ข้อมูลต่างๆ ด้วยเครื่องมือดิจิทัล
6. Critical thinking การมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลบนโลกดิจิทัล ตั้งแต่ว่าเป็นข้อมูลจริงหรือปลอม มาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือไหม เป็นประโยชน์หรือเป็นอันตราย
7. Digital footprints การเข้าใจถึงสิ่งที่ตนเองทิ้งเอาไว้บนโลกดิจิทัล ซึ่งบางครั้งอาจถูกผู้อื่นสะกดรอยตามจากสิ่งเล็กๆน้อยๆ เหล่านั้นจนอาจมีผลกระทบต่อชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงได้ รู้จักบริหารจัดการชีวิตบนโลกดิจิทัลอย่างรับผิดชอบ
8. Digital empathy มีความสามารถในการแสดงน้ำใจบนโลกออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม
ในระดับผู้กำหนดนโยบายก็ต้องมีความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้าง “พลเมืองดิจิทัล” และอัจฉริยะทางดิจิทัล (Digital Intelligence) อย่างแท้จริง หน่วยงานด้านการศึกษาควรให้ความสำคัญกับโปรแกรมการสร้างพลเมืองดิจิทัลขึ้นมาเป็นลำดับต้นๆ ด้วย และที่สำคัญที่สุดคือ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการสร้างพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ
โดยโครงการนี้จะเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการเรียนรู้พัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ด้านให้แก่นักศึกษา และคณาจารย์ เพื่อนำไปปรับใช้ในการเรียนเรียนการสอน อันจะส่งผลดีและประโยชน์สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัย และสังคม ชุมชน ประเทศชาติต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม