โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้ายการเกษตรเพื่อพัฒนาสู่ Young Smart Farmer (กิจกรรมอบรมเทคนิคการผลิตกล้าผัก)

วันที่เริ่มต้น 01/12/2561 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 30/09/2562 เวลา 0:00
สถานที่จัด ไม่ระบุ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะเศรษฐศาสตร์ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
นับตั้งแต่องค์การเกษตรในอนาคตแห่งประเทศไทย (อกท.) ได้เริ่มก่อตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช 2504 ที่วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ โดยอาศัยรูปแบบของ FFA จากประเทศสหรัฐอเมริกา ผสมผสานกับ FFP ของประเทศฟิลิปปินส์ และได้เจริญรุดหน้าเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการของ อกท. หน่วยแม่โจ้ ในงานศิลปะหัตถกรรมนักเรียน ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2515 ซึ่งได้รับความสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2516 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจกรรม อกท. หน่วยแม่โจ้ ทรงมีพระราชดำรัสแก่นักศึกษาและคณาจารย์ เป็นครั้งที่แม่โจ้ ซึ่งทรงมีพระราชดำริให้การสนับสนุนการผลิตเกษตรกรในอนาคต ให้ที่มีองค์ความรู้ในภาคทฤษฏีซึ่งเป็นความรู้เชิงวิชาการ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการเพิ่มผลผลิต ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นักศึกษาที่ศึกษาเล่าเรียนในวิทยาลัยเกษตรกรรมต่างๆ จึงต้องมีทักษะในการปฏิบัติงานจริง ในการผลิตด้านต่างๆ พัฒนาภาคการเกษตรกรรมที่มั่นคง เป็นรากฐานสำคัญในการเพื่อการพัฒนาประเทศชาติสืบต่อไป
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดทำโครงการปลูกผักแลกค่าเทอม เป็นโครงการหนึ่งที่สนับสนุน ภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิต และขยายโอกาสในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เพื่อขยายโอกาสในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติงานด้วยการนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ภาคทฤษฎีจากห้องเรียนสู่การปฏิบัติงานจริง (Learning by doing) ในการผลิตพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ หรือการให้บริการเกษตร ในหลักสูตรต่างๆ ซึ่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์ เหล่านี้ พืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ปลา และปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ตลอดจนการแปรรูปผลผลิตที่เกิดมูลค่าเพิ่ม นักศึกษาจะนำมาจำหน่ายในตลาด ที่มหาวิทยาลัย แม่โจ้ได้เปิดดำเนินการให้เป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขายผลผลิต เกษตรอินทรีย์ของ 25 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ (กาดแม่โจ้ 2477) สำหรับนักศึกษาทีมีความรู้ด้านบริการทาง การเกษตรอื่นๆ (อาทิ การจัดสวน การออกแบบภูมิทัศน์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากการบริการ) การจำหน่ายผลผลิต จะสร้างรายได้ให้แก่นักศึกษาที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการระหว่างศึกษาเล่าเรียน จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน / ค่าอุปกรณ์การเรียน ซึ่งกิจกรรมตั้งแต่การผลผลิต การแปรรูป การตลาด เหล่านี้ ช่วยเสริมสร้างทักษะ ประสบการณ์ให้นักศึกษาได้มีความรู้ในการแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการแบบครบวงจร เกิดการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และแบ่งเบาภาระของ พ่อแม่ ผู้ปกครอง สร้างความภาคภูมิใจและภาวะผู้นำให้เติบใหญ่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ
การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษาจากทุกคณะ /สำนัก เหล่านี้ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้จะทำการ การบูรณาการ การเรียนการสอน ด้วยความรู้ เทคนิควิธีที่คณาจารย์ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษาใน โครงการซึ่งจะเป็นการหล่อหลอมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติงาน ไปพร้อมๆ กับการเชื่อมโยงเครือข่ายวิทยาลัย เกษตรกรรม ในจังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปางและลำพูน) เพื่อเป็นเครือข่ายเกษตรกรอัจฉริยะใน อนาคต (Young Smart Famers) ทีมีคุณลักษณะผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurs) ที่มีองค์ความรู้ทักษะฝีมือ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการผลิตเกษตรอินทรีย์ พร้อมที่จะเป็นกำลังของสังคมเกษตรไทยต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 3  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 200 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล