ซึ่งมีความหมายถึงความผูกพันกับมหาวิทยาลัย อินทนิล มีลักษณะของช่อดอกเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสวยสด เหมือนความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยของศิษย์เก่าตลอดเวลาที่ออกไปประกอบอาชีพอยู่ทุกหนทุกแห่ง อินทนิล หรือไม้ในวงค์นี้ เป็นไม้เศรษฐกิจ เนื้อแข็งปานกลางจนถึงแข็ง ใช้เป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ดอกสีสวยสดงดงาม ตลอดทั้งเปลือก ต้น ใบ ใช้เป็นยาสมุนไพร ดั่งคุณค่าของบรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติเป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่า 80 ปี

ดังนั้น สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้เห็นความสำคัญของต้นไม้ชนิดนี้ จึงได้จัดกิจกรรมแก่น้องใหม่และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ในโครงการ “รักษ์ ณ อินทนิล” ขึ้น โดยการเก็บขยะมูลฝอย เก็บกวาดเศษกิ่งไม้ - ใบไม้ แผ้วถางวัชพืชต่างๆ ให้พื้นที่ให้มีความสะอาดน่ามอง และร่วมบำรุง ดูแล รักษา ต้นอินทนิล ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ปลูกเป็นสง่าและสร้างความร่มเย็น สวยงาม โดยเฉพาะช่วงดอกอินทนิลได้เบ่งบานออกมา มีสีม่วงอ่อนบานสะพังให้เห็นตามถนนเส้น แม่โจ้-พร้าว
เป็นการนำทางสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านการเกษตรของไทย นั่นคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอีกทั้งต้นอินทนิลที่เบ่งบานออกมาอย่างสวยงามก็เปรียบเสมือนลูกแม่โจ้ที่ เบ่งบานร่วมพัฒนาการเกษตรคู่กับเกษตรกรไทยไปทุกพื้นที่ของประเทศไทย ดังคำที่กล่าวว่า “เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ”

ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ดังนี้
1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านการเสียสละและมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น เคารพสิทธิของผู้อื่นโดยคำนึงถึงความเสมอภาค
2 ) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่บนพื้นฐานของการนับถือ
ความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย มีภาวะการเป็นผู้นำ ช่วยเหลือผู้อื่นและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3) ด้านการสื่อสาร โดยสามารถเลือกใช้ทักษะทางภาษาและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม'>
รักษ์ ณ อินทนิล_ผลิตฯ4มิ.ย.2560_10493

วันที่เริ่มต้น 01/06/2560 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 07/06/2560 เวลา 0:00
สถานที่จัด ณ ศูนย์ฝึกวิชาชีพคนตาบอด โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือฯ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะผลิตกรรมการเกษตร สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
โครงการรักษ์ ณ อินทนิล เกิดจากแนวคิดที่ว่า ต้นอินทนิล Lagerstroemia macrocarpa Wall เป็นอีกสัญญาลักษณ์หนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังประวัติเกี่ยวกับการเลือกพันธ์ไม้นี้เป็นสัญญาลักษณ์ของมหาวิทยาลัย อันเนื่องมาจากแม่โจ้"มหาวิทยาลัยแม่โจ้" มี อายุครบ 50 ปี ในเดือนมิถุนายน 2527 คณะกรรมการศิษย์เก่าแม่โจ้และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดย นายจำนงค์ โพธิสาโร (แม่โจ้ รุ่น 10) อธิบดีกรมป่าไม้สมัยนั้น อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ เป็นประธาน ได้เสนอชื่อพรรณไม้ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและเจริญเติบโตในทุกภาคของประเทศไทย เป็นพันธ์ลักษณะที่ดี มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนนานใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบเดี่ยว ดอกสีม่วง ม่วงชมพู มีฉายานามว่าเป็น "ราชินีดอกไม้"( Queen's Flower ) ฝักผลไม่ยอมทิ้งต้น มีสายพันธ์อีกหลายชนิดในวงค์เดียว มีดอกเป็นลักษณะQeen's crape myrtle เช่น ตะแบก, เสลา และยี่เข่ง เป็น Qrape myrtle เหมือนกัน คณะกรรมการได้ลงมติเลือกชื่อพรรณไม้ "อินทนิล" นี้เป็นมงคลนามต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ซึ่งมีความหมายถึงความผูกพันกับมหาวิทยาลัย อินทนิล มีลักษณะของช่อดอกเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสวยสด เหมือนความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยของศิษย์เก่าตลอดเวลาที่ออกไปประกอบอาชีพอยู่ทุกหนทุกแห่ง อินทนิล หรือไม้ในวงค์นี้ เป็นไม้เศรษฐกิจ เนื้อแข็งปานกลางจนถึงแข็ง ใช้เป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ดอกสีสวยสดงดงาม ตลอดทั้งเปลือก ต้น ใบ ใช้เป็นยาสมุนไพร ดั่งคุณค่าของบรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติเป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่า 80 ปี

ดังนั้น สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้เห็นความสำคัญของต้นไม้ชนิดนี้ จึงได้จัดกิจกรรมแก่น้องใหม่และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ในโครงการ “รักษ์ ณ อินทนิล” ขึ้น โดยการเก็บขยะมูลฝอย เก็บกวาดเศษกิ่งไม้ - ใบไม้ แผ้วถางวัชพืชต่างๆ ให้พื้นที่ให้มีความสะอาดน่ามอง และร่วมบำรุง ดูแล รักษา ต้นอินทนิล ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ปลูกเป็นสง่าและสร้างความร่มเย็น สวยงาม โดยเฉพาะช่วงดอกอินทนิลได้เบ่งบานออกมา มีสีม่วงอ่อนบานสะพังให้เห็นตามถนนเส้น แม่โจ้-พร้าว
เป็นการนำทางสู่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านการเกษตรของไทย นั่นคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอีกทั้งต้นอินทนิลที่เบ่งบานออกมาอย่างสวยงามก็เปรียบเสมือนลูกแม่โจ้ที่ เบ่งบานร่วมพัฒนาการเกษตรคู่กับเกษตรกรไทยไปทุกพื้นที่ของประเทศไทย ดังคำที่กล่าวว่า “เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ”

ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ดังนี้
1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านการเสียสละและมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น เคารพสิทธิของผู้อื่นโดยคำนึงถึงความเสมอภาค
2 ) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่บนพื้นฐานของการนับถือ
ความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย มีภาวะการเป็นผู้นำ ช่วยเหลือผู้อื่นและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3) ด้านการสื่อสาร โดยสามารถเลือกใช้ทักษะทางภาษาและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 6  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 100 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   600 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
วันที่ 4 มิถุนายน 2560 สโมสรนักศึกษา คณะผลิตกรรมการเกษตร จัดโครงการรักษ์ ณ อินทนิล ครั้งที่ 4
กิจกรรมประเภท บำเพ็ญประโยชน์ เขตชุมชนเทศบาลเมืองแม่โจ้ / พื้นที่คณะผลิตกรรมการเกษตร ม.แม่โจ้

โดยมีการนำนักศึกษา คณะผลิตฯ จำนวน 100 คน เก็บขยะมูลฝอย เก็บกวาดเศษกิ่งไม้ - ใบไม้ แผ้วถางวัชพืชต่างๆ ให้พื้นที่ให้มีความสะอาดน่ามอง และร่วมบำรุง ดูแล รักษา ต้นอินทนิล ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ปลูกเป็นสง่าและสร้างความร่มเย็น สวยงาม
และได้เดินทางไปบำเพ็ญประโยชน์ ณ ศูนย์ฝึกวิชาชีพคนตาบอด โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือฯ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ อยู่ในพื้นที่ใกล้ ม.แม่โจ้ โดยได้ปรับปรุงแปลงผัก ตัดกิ่งไม้ใหญ่ไม่ให้ร่วงตอนฝนตกหนัก กำจัดวัชพืช กวาดลานกิจกรรมให้สะอาดตา พร้อมทำก๋วยเตี๋ยว ขนมบัวลอยไข่หวาน
บริจาคนม ขนมขบเคี้ยว ซึ่งนักศึกษาได้พูดคุย สร้างสีสันและผ่อนคลายความตึงเครียด ให้แก่ผู้พิการทางสายตาและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล

กิจกรรมต่างๆเหล่านี้นักศึกษา ได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ดังนี้
1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านการเสียสละและมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น เคารพสิทธิของผู้อื่นโดยคำนึงถึงความเสมอภาค สำนึกรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในระดับปัจเจกและองค์การ นักศึกษาได้มีจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม
2) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่บนพื้นฐานของการนับถือ
ความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย มีภาวะการเป็นผู้นำ ช่วยเหลือผู้อื่นและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3) ด้านการสื่อสาร โดยสามารถเลือกใช้ทักษะทางภาษาและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา
ทั้งระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง ระหว่างเพื่อนรุ่นเดียวกัน และเป็นตัวแทนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับคนในชุมชน รอบ ม.แม่โจ้
ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล