เมนู
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Maejo University
ติดต่อ
บุคลากร (เข้าสู่ระบบ)
หน้าหลัก
บุคลากร
พัฒนาบุคลากรและกิจกรรม
โครงการการบริหารจัดการหนี้ของครัวเรือนเกษตรกรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วันที่เริ่มต้น
14/12/2561
เวลา
0:00
วันที่สิ้นสุด
30/09/2562
เวลา
0:00
ทั้งวัน
สถานที่จัด
ไม่ระบุ
ภายในสถาบัน
ในประเทศ
ต่างประเทศ
หน่วยงานที่จัด
ผู้รับผิดชอบ
ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก
คณะเศรษฐศาสตร์
สาขา/กอง
หน่วยงานภายใน
ชื่อหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล
ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
การพัฒนาเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคการเกษตรของประเทศ ด้วยการเพิ่มมูลค่าพืช ปศุสัตว์ ประมง ของประเทศไทยตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา จุดมุ่งหมายที่สำคัญ การมุ่งนำพาประเทศไปสู่ภาวะความมั่นคั่ง และความทันสมัย นำเกณฑ์ค่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในเรื่องของ "รายได้" ที่เป็นตัวเงินหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Product : GDP) เพื่อให้สัดส่วนของภาคเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร มีมูลค่ามากกว่า ร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาติ(GNP) เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ให้เป็นประเทศที่มีระดับรายได้สูง ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 จึงมุ่งขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจประเทศ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ใน 10 อุตสาหกรรมหลัก เช่นเดียวกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนภาคการเกษตร ที่จะเร่งให้เกิดมูลค่าเพิ่มรายได้ภาคเกษตรในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ไปพร้อม ๆ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อพัฒนาเกษตรปราดเปรื่อง ที่สามารถนำความรู้นวัตกรรม บนรากฐานความมั่นคง พึ่งพาตนเอง ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวไปในทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถกระจายรายได้จากคนร่ำรวยมาสู่คนยากจนได้ จากผลความแตกต่างและเหลื่อมล้ำในด้านรายได้ของคนในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน ผู้ที่มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ เกิดภาวะปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวทั้งในระดับบุคคลและมีผลต่อไปถึงระดับประเทศ อันเป็นผลพวงจากความไม่พอเพียงหรือไม่พอประมาณในความต้องการที่มากขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนเกินความพอดีและขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมที่มีจุดเริ่มต้นจากการที่สังคมขาดคุณธรรม จากวิกฤติในปี พ.ศ. 2540 จึงได้มีการทบทวนและปรับทิศทางพัฒนาประเทศสู่กระบวนทัศน์แบบใหม่ ที่ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงมาให้ความสำคัญกับ "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา" มากกว่ามุ่งเน้นแต่การสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาที่ขาดสมดุล
ซึ่งจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ได้อัญเชิญ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มาประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ คุณธรรมและความรู้ ให้มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ในสังคมโลกาภิวัตน์อย่างรู้เท่าทัน และเกื้อกูลระหว่างกัน เพื่อก้าวไปสู่สังคมแห่งรากฐานความรู้ได้อย่างสมดุลและเกิดสันติสุข ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 รัฐบาลได้เพิ่มประเด็น "การแก้ไขปัญหาความยากจนและชุมชนชนบทให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง" โดยได้เริ่มดำเนินการโครงการเกษตร "ทฤษฎีใหม่" ตามแนวพระราชดำริ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากเพื่อไปหนุนเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระดับประเทศอย่างจริงจัง เป้าหมายของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการส่งเสริมให้เกิดเพิ่มคุ้มกัน ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งภาคเกษตรนับเป็นภาคที่ประชากรที่เป็นเกษตรกรกว่า 17.023 ล้านคน (ร้อยละ 25.81 ของประชากรประเทศ) เป็นผู้มีรายได้น้อย 14.176 ล้านคน (คิดเป็นร้อย 83.28 ของเกษตรกรทั้งประเทศ) โดยภาคเหนือนับเป็นภาคที่เกษตรกรมีรายได้น้อย 3.714 ล้านคน (ร้อยละ 30.76 ของประชากรในภาคเหนือ) (คนจนสูงสุดของประเทศ) ปัญหาหนึ่งที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ของเกษตรกรคือ ปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเกษตร ก่อให้เกิดวัฎจักรความจน (Vicious Cycle) เพื่อแก้ไขปัญหาอันเป็นเหตุ และตอบสนองความต้องการของเกษตรกรรายย่อยซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ ให้เกิดการลด ละ เลิก และน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยการรวมกลุ่มเกษตรกร สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มอำนาจการจัดการและการต่อรอง ทั้งด้านการผลิต และการสินเชื่อที่เป็นเหตุของภาระหนี้สิน การผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่เกษตรกรบริหารจัดการทั้งระบบ ตั้งแต่ปัจจัยการผลิต การแปรรูป และการตลาดร่วมกัน จะก่อให้เกิด การลดการใช้สารเคมี ที่นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิตการอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตอบสนองต่อภาวะตลาด มุ่งพัฒนาการผลิตเพื่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองระดับบุคคล ระดับชุมชน และพัฒนาต่อไป สู่ระดับสังคมและประเทศตามลำดับขั้นตอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างมืออาชีพด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยที่มีวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การพัฒนา ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านการเกษตร ในระดับนานาชาติ หนึ่งในยุทธศาสตร์ของการขับเคลื่อน และได้สร้างต้นแบบการตลาดสีเขียว/ตลาดชุมชน จะเป็นกลไกหนึ่ง ตลาดเกษตรอินทรีย์ ในการรวบรวมและจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายเกษตรกร ที่ได้รับการส่งเสริม องค์ความรู้ นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อันเป็นผลลัพธ์ ของการถ่ายทอดงานวิจัยและบริการวิชาการในโครงการอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ มูลค่าเพิ่มตลอดโซ่คุณค่าและ การพัฒนาระบบการสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ จะเสริมพลังในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยที่เป็นรูปธรรม สร้างความกินดี อยู่ดีและความเข้มแข็งแก่ภาคเกษตรกรรมไทย
นัฐพล คำซอน
(ผู้บันทึกข้อมูล)
ข้อมูลวันที่ :
29/04/2562 11:05
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่
1
รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน
ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ไม่ระบุ
ระดับ
อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด
6
ชั่วโมง
วัน
เป้าหมายผู้เข้าร่วม
1020
คน
จำนวนผู้เข้าร่วม
ไม่ระบุ
คน
ตอนที่
2
รายรับ-รายจ่าย
รายรับ
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่ารายรับ
ไม่ระบุ
บาท
ค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
ตอนที่
3
ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่
4
สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
สมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัย
สมรรถนะประจำกลุ่มงาน
สมรรถนะของผู้บริหาร
ตอนที่
5
เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่
6
ภายใต้โครงการ
โครงการการบริหารจัดการหนี้ของครัวเรือนเกษตรกรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอนที่
7
ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่
8
การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล