โครงการค่ายผู้นำอาสาพัฒนาผลิตสัมพันธ์ ประจำปี 2561

วันที่เริ่มต้น 19/03/2561 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 22/03/2561 เวลา 0:00
สถานที่จัด โรงเรียนบ้านป่าเหว ต.บ้านขอ อ.เมืองปาน จ.ลำปาง 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะผลิตกรรมการเกษตร สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
กิจกรรมอาสาผลิตสัมพันธ์ จะจัดขึ้นวันที่ 19 - 22 มีนาคม 2561 เพื่อให้ผู้นำนักศึกษา คณะผลิตฯจากสโมสรและชมรมนักศึกษา ทั้ง 6 สาขาได้ฝึกการทำงานร่วมกัน จากแนวความคิดในการสร้างจิตสำนึกด้านการบำเพ็ญประโยชน์ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร
ที่จะดำเนินกิจกรรมด้านการบำเพ็ญประโยชน์ในรูปของค่ายอาสาพัฒนา ซึ่งผู้นำนักศึกษาจากสาขาต่างๆของคณะผลิตฯ มาร่วมนำความรู้ในแต่ละสาขาที่ได้เรียนมา มาบูรณาการพัฒนาเป็น "งานอาสาพัฒนาทางการเกษตร" กิจกรรมนี้จะทำให้ได้รับประสบการณ์โดยตรง ฝึกการทำงานเป็นทีม จากการปฏิบัติงานในท้องถิ่นชนบทร่วมกัน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันระหว่างนักศึกษาและชุมชนในท้องถิ่น ได้ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้น ๆ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้วิชาการออกสู่ชุมชน และเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สืบต่อกันมาของคนในท้องถิ่น

โดยในครั้งนี้ทางคณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรและชมรมในสังกัด จะได้จัดซ่อมแซมโรงเรือนเพาะเห็ด จำนวน 1 หลัง บริจาคก้อนเชื้อเห็ด ทำปุ๋ยหมัก ซ่อมแซมโรงเรือน ทำแปลงสาธิตพืชผัก เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนบ้านป่าเหว ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
ไว้ใช้สำหรับดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นฐานเรียนรู้ทางการเกษตรของตำบลบ้านขอ กิจกรรมนี้จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา ที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน รวมทั้งเป็นโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ดังนี้
ข้อ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยนักศึกษาเสียสละและมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมเคารพสิทธิของผู้อื่นโดยคำนึงถึงความเสมอภาค

ข้อ 3) ด้านทักษะทางปัญญา ได้ฝึกใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิพากษ์ได้ เรียนรู้วิถีชีวิตและรับทราบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน สามารถประยุกต์ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชน

ข้อ 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่บนพื้นฐานของการนับถือ
ความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย มีภาวะการเป็นผู้นำ มีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

มีกิจกรรมเรียนรู้ วิธีการการทำงานโดยการประยุกต์กระบวนการ PDCA เพื่อให้นักศึกษาจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างมีคุณภาพ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาวิธีปรับประยุกต์และสร้างความเข้าใจ การใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต 3 ทักษะหลัก ได้แก่
1. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักศึกษาเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ

2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ได้แก่
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี

3. ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักศึกษาจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ ได้แก่
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 32  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 43 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   54 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   60000 บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย 60000 บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
กิจกรรมอาสาผลิตสัมพันธ์ จัดขึ้นวันที่ 19 - 22 มีนาคม 2561 เพื่อให้ผู้นำนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร จากความร่วมมือของสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรและชมรมในสังกัด 6 ชมรม ได้ฝึกการทำงานร่วมกัน จากแนวความคิดในการสร้างจิตสำนึกด้านการบำเพ็ญประโยชน์ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ที่จะดำเนินกิจกรรมด้านการบำเพ็ญประโยชน์ในรูปของค่ายอาสาพัฒนา ซึ่งผู้นำนักศึกษามาร่วมนำความรู้ในแต่ละสาขาที่ได้เรียนมา มาบูรณาการพัฒนาเป็น "งานอาสาพัฒนาทางการเกษตร" กิจกรรมนี้จะทำให้ได้รับประสบการณ์โดยตรง

นักศึกษาได้พัฒนาตนเอง ฝึกการทำงานเป็นทีม จากการปฏิบัติงานในท้องถิ่นชนบทร่วมกัน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันระหว่างนักศึกษาและชุมชนในท้องถิ่น ได้ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้น ๆ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้วิชาการออกสู่ชุมชน และเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สืบต่อกันมาของคนในท้องถิ่น โดยในครั้งนี้ทางได้ทำการซ่อมแซมโรงเรือนเพาะเห็ด จำนวน 1 หลัง บริจาคก้อนเชื้อเห็ด จำนวน 1,000 ก้อน ทำปุ๋ยหมัก ซ่อมแซมโรงเรือนเพาะกล้าผัก มอบกล้าพันธ์ผัก แผ้วถางพื้นที่รกร้างให้ใช้ประโยชน์ได้ ทำแปลงสาธิตพืชผักพืชสมุนไพร เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนบ้านป่าเหว ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ไว้ใช้เป็นอาหารกลางวัน และฐานเรียนรู้ทางการเกษตรของตำบลบ้านขอ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา รวมทั้งเป็นโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งกิจกรรมต่างๆ นักศึกษาได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ดังนี้
ข้อ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยนักศึกษาเสียสละและมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อมเคารพสิทธิของผู้อื่นโดยคำนึงถึงความเสมอภาค
ข้อ 3) ด้านทักษะทางปัญญา ได้ฝึกใช้ระบบคิดที่วิเคราะห์ สังเคราะห์และวิพากษ์ได้ เรียนรู้วิถีชีวิตและรับทราบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน สามารถประยุกต์ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชน
ข้อ 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาได้ฝึกการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยอยู่บนพื้นฐานของการนับถือ ความแตกต่างและคุณค่าของความหลากหลาย มีภาวะการเป็นผู้นำ มีจิตสำนึกต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

และมีกิจกรรมประชุมแผนงานกิจกรรมนักศึกษา ทำให้ได้ร่าง แผนงานกิจกรรมสโมสรนักศึกษาและชมรม คณะผลิตกรรมการเกษตร ระหว่างเดือน มีนาคม 2561 – มีนาคม 2562 (รอบ 1 ปี) ซึ่งนักศึกษาได้ เรียนรู้วิธีการ การทำงานโดยการประยุกต์กระบวนการ PDCA เพื่อให้นักศึกษาจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างมีคุณภาพ และเกิดความเข้าใจทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาวิธีปรับประยุกต์และสร้างความเข้าใจ การใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิต

การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว
1) ด้านการวางแผนจัดกิจกรรม
มีฝนตกตลอดเวลาที่อยู่ในค่าย ทำให้ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ ด้วยความลำบาก เพราะมีหลายกิจกรรมไม่สามารถทำงานได้ อย่างสะดวก เช่น การขึ้นแปลงผัก , การสำรวจพืชในพื้นที่ ฯลฯ ทำให้งานเดินไปด้วยความล่าช้า
สิ่งที่ได้แก้ไข คือ กำหนดจัดกิจกรรมช่วงหน้าร้อน วันที่ 19-22 มีนาคม 2561 เป็นช่วงวันที่อากาศปลอดโปร่ง ไม่มีฝนตก ทำให้นักศึกษาสามารถทำกิจกรรมอาสาพัฒนาได้อย่างเต็มที่

2) ด้านการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ
นายกสโมสรไม่รู้ว่าต้องทำอะไร จึงไม่มีการสั่งการทีมงานให้เตรียมตัวให้พร้อม ในบางกิจกรรม , ทีมงานที่รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม ไม่มีการสั่งการที่ชัดเจน ผู้เข้าร่วมโครงการอาจไม่รู้ว่าต้องทำอะไรก่อน-หลัง
สิ่งที่ได้แก้ไข คือ ได้อบรมนายกสโมสรให้รู้บทบาทหน้าที่ พร้อมความกล้าหาญในการสั่งการ ของตัวเอง และรู้รายละเอียดของแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน เพื่อสั่งการทีมงานได้อย่างถูกต้อง

3) ด้านการเดินทาง
มีฝนตกตลอดการเดินทาง ทำให้ถนนลื่น อากาศชื่น พนักงานขับรถจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถ ทำให้เดินทางด้วยความล่าช้า
สิ่งที่ได้แก้ไข คือได้วางแผนจัดโครงการช่วงฤดูร้อน การเดินทางไม่มีฝนตก อากาศเย็นสบายมีแดดออก ทำให้ถนนอยู่ในสภาพปกติ สามารถเดินทางได้ สะดวก

4) ด้านอาหาร
อาหารมีความหลากหลาย แต่บางมื้อมีปริมาณไม่เพียงพอ จึงต้องทำกับข้าวมาเสริม
สิ่งที่ได้แก้ไข คือ มีการเตรียมวัตถุดิบ ผัก เนื้อสัตว์ ไข่ เครื่องปรุงรสต่างๆ มีความพร้อมด้านการปรุงอาหาร นักศึกษาที่ร่วมเดินทางไปค่ายฯมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ทำให้สามารถประสานร้านค้าในชุมชนในการหาซื้อวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารเพิ่มเติม ทำให้นักศึกษาได้รับประทานอาหารอิ่มทุกมื้อ และสามารถบริหารจัดการ ให้มีอาหารว่างช่วงบ่ายและช่วงดึกอีกด้วย

กิจกรรมที่ควรทำอย่างต่อเนื่องทุกปีในโครงการ
1) ด้านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาคค่ำ
มีการประชุมสรุปแผนและกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ทุกคืน เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้ผู้นำนักศึกษาเกิดความใกล้ชิด สนิทสนม รักใคร่สามัคคี และได้ประเมินงานที่ได้ทำในแต่ละวัน

2) ด้านการทัศนศึกษา
ได้เดินทางไปทัศนศึกษาตามที่นักศึกษาได้วางแผนไว้ คือ น้ำตก วัด สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

ปัญหาอุปสรรคโครงการประจำปี พ.ศ. 2561
การวางแผนงานอาสาพัฒนา มีการปรับเปลี่ยนกำหนดการตามความต้องการของโรงเรียนและชุมชน ทำให้นักศึกษาไม่สามารถบริหารจัดการงานต่างๆให้เป็นไปตามกำหนดการได้ จึงต้องมีการประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับผู้เข้าร่วมโครงการแบบวันต่อวัน

ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
ควรจัดกิจกรรมที่สอดแทรกทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในแต่ละด้านและชี้แจงทำความเข้าใจเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประเมินตนเอง และเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตไปด้วย

ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล