กิจกรรม เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา (12739)

วันที่เริ่มต้น 09/09/2561 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 09/09/2561 เวลา 0:00
สถานที่จัด วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง และชุมชนใกล้เคียง 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะผลิตกรรมการเกษตร สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
โครงการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนด้านศิลปะและวัฒนธรรม มุ่งหวังส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนให้เป็นไปตามแผนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ให้ครบทั้ง 6 ด้านในระดับปริญญาตรี โครงการนี้เป็นโครงการด้านที่ 3 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ(PDCA)ของการจัดโครงการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ แบ่งเป็น 2 กิจกรรม

กิจกรรม 1 นำนักศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา และบำเพ็ญประโยชน์ ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง
เนื่องด้วยวัฒนธรรมของชาวล้านนาไทย คือ วิถีชีวิตของชาวล้านนาไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม
และการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆที่สมาชิกในสังคมล้านนา สามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกัน

ล้านนาไทย หรือ ดินแดนล้านนานั้น หมายถึงดินแดนบางส่วนของอาณาเขตบริเวณ ลุ่มน้ำแม่โขง ลุ่มน้ำสาละวิน แม่น้าเจ้าพระยา ตลอดจนเมืองที่ตั้งตามลุ่มน้ำสาขาเช่นแม่นำกก แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปาย แม่น้ำแตง แม่น้ำงัด ฯลฯ โดยมีอาณาเขตทางทิศใต้จดเมืองตาก (อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน) และจดเขตดินแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกเลยลึกเข้าไปในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดเมืองเชียงรุ่ง (หรือคนจีนเรียกในปัจจุบันว่า เมืองจิ่งหง) ซึ่งบริเวณชายขอบของล้านนา อาทิ เมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองปุ เมืองสาด เมืองนาย เป็นบริเวณที่รัฐล้านนาแผ่อิทธิพล ไปถึงในเมืองนั้นๆ ๘ จังหวัดล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ได้รับการกำหนดเป็นเส้นทางท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
ได้มีโอกาสสัมผัส...เรียนรู้...และเข้าใจวิถีชีวิตความเป็นล้านนา ซึ่งความแน่นแฟ้นในความเป็นล้านนายังดำรงอยู่อย่างชัดเจนในประเพณีและวิถีชีวิตของผู้คน หากแต่"ล้านนา"แม้มาจากรากเดียวกันก็ยังมี"ความต่าง"ในแต่ละพื้นที่
สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร มีความต้องการจะเชิดชูวัฒนธรรมอันลึกซึ้งละเอียดอ่อน โดยจัดกิจกรรมนำนักศึกษาคณะผลิตฯ จำนวน 50 คน เดินทางไปฟังเทศนาธรรม สักการะพระธาตุ "พุทธคยา" จำลองแบบพุทธคยา ประเทศอินเดีย ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง และให้นักศึกษาจะได้ทำกิจกรรมจิตอาสาปลูกต้นไม้ประจำท้องถิ่น พร้อมเรียนรู้การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย ทั้งด้านการเกษตรและวิถีชีวิต ตลอดจนเข้าเยี่ยมชมงานหัตถศิลป์ได้ตามความสนใจ

กิจกรรม 2 นำนักศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าของ จ.เชียงใหม่

ด้วยแนวคิดที่ว่า วัฒนธรรม จะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้คนมีความรู้สึกผูกพัน สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกันได้ เป็นเหตุผลหลักในการจัดกิจกรรมนำนักศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าของ จ.เชียงใหม่ อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ การทำให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญ รู้จักสถานที่ทางวัฒนธรรมในเมืองเชียงใหม่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมให้นักศึกษารู้สึกสำนึกถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในแต่ละภาค และหาวิธีสืบทอดต่อๆกันจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคี ของหมู่คณะ ให้มีปณิธานร่วมกันที่จะสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จะได้เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานที่สำคัญ และวัดต่างๆในตัวเมืองเชียงใหม่ และมีวิทยากรด้านวัฒนธรรมล้านนาไทยมาบอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมที่ปรากฎอยู่ตามโบราณสถานต่างๆ นักศึกษาจะได้รับฟังการบรรยายว่าประเพณีและวัฒนธรรมล้านนามีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อสังคมไทยอย่างไร
เพื่อให้นักศึกษาร่วมกันสืบสานจรรโลงประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่สืบไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 8  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 70 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   19000 บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย 19000 บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
โครงการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนด้านศิลปะและวัฒนธรรม มุ่งหวังส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนให้เป็นไปตามแผนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ให้ครบทั้ง 6 ด้านในระดับปริญญาตรี โครงการนี้เป็นโครงการด้านที่ 3 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ(PDCA)ของการจัดโครงการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ แบ่งเป็น 2 กิจกรรม

กิจกรรม 1 นำนักศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา และบำเพ็ญประโยชน์ ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง
เนื่องด้วยวัฒนธรรมของชาวล้านนาไทย คือ วิถีชีวิตของชาวล้านนาไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม
และการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆที่สมาชิกในสังคมล้านนา สามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกัน

ล้านนาไทย หรือ ดินแดนล้านนานั้น หมายถึงดินแดนบางส่วนของอาณาเขตบริเวณ ลุ่มน้ำแม่โขง ลุ่มน้ำสาละวิน แม่น้าเจ้าพระยา ตลอดจนเมืองที่ตั้งตามลุ่มน้ำสาขาเช่นแม่นำกก แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปาย แม่น้ำแตง แม่น้ำงัด ฯลฯ โดยมีอาณาเขตทางทิศใต้จดเมืองตาก (อำเภอบ้านตากในปัจจุบัน) และจดเขตดินแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกเลยลึกเข้าไปในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกจดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดเมืองเชียงรุ่ง (หรือคนจีนเรียกในปัจจุบันว่า เมืองจิ่งหง) ซึ่งบริเวณชายขอบของล้านนา อาทิ เมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองปุ เมืองสาด เมืองนาย เป็นบริเวณที่รัฐล้านนาแผ่อิทธิพล ไปถึงในเมืองนั้นๆ ๘ จังหวัดล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ได้รับการกำหนดเป็นเส้นทางท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
ได้มีโอกาสสัมผัส...เรียนรู้...และเข้าใจวิถีชีวิตความเป็นล้านนา ซึ่งความแน่นแฟ้นในความเป็นล้านนายังดำรงอยู่อย่างชัดเจนในประเพณีและวิถีชีวิตของผู้คน หากแต่"ล้านนา"แม้มาจากรากเดียวกันก็ยังมี"ความต่าง"ในแต่ละพื้นที่
สโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร มีความต้องการจะเชิดชูวัฒนธรรมอันลึกซึ้งละเอียดอ่อน โดยจัดกิจกรรมนำนักศึกษาคณะผลิตฯ จำนวน 50 คน เดินทางไปฟังเทศนาธรรม สักการะพระธาตุ "พุทธคยา" จำลองแบบพุทธคยา ประเทศอินเดีย ณ วัดจองคำ อ.งาว จ.ลำปาง และให้นักศึกษาจะได้ทำกิจกรรมจิตอาสาปลูกต้นไม้ประจำท้องถิ่น พร้อมเรียนรู้การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย ทั้งด้านการเกษตรและวิถีชีวิต ตลอดจนเข้าเยี่ยมชมงานหัตถศิลป์ได้ตามความสนใจ

กิจกรรม 2 นำนักศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าของ จ.เชียงใหม่

ด้วยแนวคิดที่ว่า วัฒนธรรม จะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้คนมีความรู้สึกผูกพัน สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกันได้ เป็นเหตุผลหลักในการจัดกิจกรรมนำนักศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมรากเหง้าของ จ.เชียงใหม่ อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ การทำให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญ รู้จักสถานที่ทางวัฒนธรรมในเมืองเชียงใหม่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมให้นักศึกษารู้สึกสำนึกถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในแต่ละภาค และหาวิธีสืบทอดต่อๆกันจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคี ของหมู่คณะ ให้มีปณิธานร่วมกันที่จะสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จะได้เข้าเยี่ยมชมโบราณสถานที่สำคัญ และวัดต่างๆในตัวเมืองเชียงใหม่ และมีวิทยากรด้านวัฒนธรรมล้านนาไทยมาบอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมที่ปรากฎอยู่ตามโบราณสถานต่างๆ นักศึกษาจะได้รับฟังการบรรยายว่าประเพณีและวัฒนธรรมล้านนามีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อสังคมไทยอย่างไร
เพื่อให้นักศึกษาร่วมกันสืบสานจรรโลงประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่สืบไป
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล