โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงจากเสม็ดขาว

วันที่เริ่มต้น 29/04/2560 เวลา 8:00 วันที่สิ้นสุด 29/04/2560 เวลา 14:00
สถานที่จัด ห้องคาวบอย 3 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
จากพื้นที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นพื้นที่ป่าชายหาด และพื้นที่บริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัย มีต้นเสม็ดขาว ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเสม็ดขาวเป็นพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณป่าพรุ น้ำเค็ม ดินเปรี้ยว ถ้าปลูกบริเวณพื้นที่ดินเค็มจะช่วยลดความเค็มของดินให้ลดลง ลักษณะใบและเปลือกของต้นเสม็ดมีกลิ่นคล้ายยูคาลิปตัสและการบูร ส่วนต่างๆ ของเสม็ดขาว ถูกนำใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น เนื้อไม้ ทำรั้ว เสาเข็ม นั่งร้าน เปลือกต้นทำฝาบ้าน มุงหลังคา เปลือกนำมาคั้นเอาน้ำย้อมอวน แห เพื่อยืดอายุการใช้งาน ใบสดใช้ต้มน้ำดื่มแทนน้ำชา ถ่ายพยาธิ แก้ไอ และในใบสดของต้นเสม็ดขาวมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยนำเอาส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการใช้ไล่และกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ การใช้วิธีกลหรือกายภาพ, การใช้สารเคมีสังเคราะห์, การใช้พวกจุลินทรีย์, การเขตกรรม, การใช้พันธุ์พืชต้านทาน, การใช้แมลงตัวห้ำ ตัวเบียน, การใช้พวกสัตว์ควบคุม และการใช้สารอินทรีย์ สารชีวภาพ และพืชสมุนไพร เช่น เสม็ดขาวเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมานาน จากการศึกษาทดสอบประสิทธิภาพน้ำหมักสมุนไพรจากเสม็ดขาว 100 กรัม 500 ทำให้หนอนใยฝักตาย 80 % ในเวลา 48 ชั่วโมง และ500 กรัม ทำให้หนอนตาย 100 % ในเวลา 24 ชั่วโมง (สาลี่ ซื่อสถิต, 2550) สารสกัดจากใบเสม็ดขาวโดยใช้ตัวทำละลายเอทธานอล ให้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการเป็นสารฆ่าแมลง โดยมีค่า LC50 ของสารสกัดต่อมอดแป้ง, ด้วงงวงข้าวโพด, ด้วงถั่วเขียว, หนอนใยผัก, หนอนกระท็หอม และหนอนกระทู้ผัก เท่ากับ 9.60, 16.18, 11.54, 1.34, 2.46 และ 0.67 เปอร์เซนต์ (w/v) ตามลำดับ (นฤมล สังข์โอธาน, 2546)
จากการหลุดร่วงของใบเสม็ดขาว หากปล่อยให้มีการสะสมในปริมาณมากและถ้าไม่มีระบบการจัดการที่เหมาะสมกับใบเสม็ดขาวที่หลุดร่วง อาจก่อให้เกิดปัญหาไฟไหม้ป่า และปัญหาอื่นๆ ตามมา ซึ่งในส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการกับใบเสม็ดขาวก่อนใบหลุดร่วง คือ การนำเอาใบเสม็ดขาวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในการใช้ไล่และกำจัดแมลงจากใบเสม็ดขาวอย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการสนองต่อโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แล้ว โครงการนี้ยังนำองค์ความรู้ที่ได้มาบูรณาการในด้านการเรียนการสอน ถ่ายทอดองค์ความรู้ บริการวิชาการแก่ชุมชน ตลอดจนกระตุ้นให้บุคลากร นักศึกษาและกลุ่มคนในชุมชนได้ตระหนัก เล็งเห็นความสำคัญของป่าเสม็ดขาวมาใช้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
แนวทางการดำเนินงาน คณะผู้รับผิดชอบโครงการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้–ชุมพร นอกจะดำเนินการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเสม็ดขาว ในพื้นที่ป่าโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ แล้วนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาหม่อง น้ำมันนวด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใช้ไล่และกำจัดแมลงจากใบเสม็ดขาวแล้ว ยังสนใจพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเสม็ดขาวที่มีอยู่ให้นำไปสู่การใช้ประโยชน์แบบครบวงจรอีกด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 4  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 35 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   35 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล