โครงการแม่โจ้ : แป๋งบ้านสร้างเมือง ประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ตอน ความยั่งยืนการเลี้ยงปลา ณ บ้านแม่แก้ดน้อย

วันที่เริ่มต้น 22/06/2559 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 22/06/2559 เวลา 0:00
สถานที่จัด บ้านแม่แก้ดน้อย ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
จงกล พรมยะ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เทพพิทักษ์ บุญทา คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ประเสริฐ ประสงค์ผล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 6  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 30 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   26 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ดำเนินโครงการภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้การเลี้ยงปลาในชุมชนบ้านแม่แก้ด เป็นไปอย่างยั่งยืน และเป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้หลักวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการ งานกิจกรรมนักศึกษา บูรณาการร่วมกัน ซึ่งดำเนินการโดยชมรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแม่โจ้ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และสมหมายฟาร์ม ภายใต้การดูแลและควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงกล พรมยะ และนายประเสริฐ ประสงค์ผล
รายวิชาที่นักศึกษานำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่
- รายวิชา ชป352 โรคปลา
- รายวิชา พล221 หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- รายวิชา ชป232 นิเวศวิทยาแหล่งน้ำ
- รายวิชา ชป331 แพลงก์ตอนวิทยา
- รายวิชา ชป322 โรคสัตว์น้ำ
การขั้นตอนการทำงานมีดังนี้
การนำผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้กับการเรียน การสอน
โครงการที่ 1) การผลิตสาหร่ายสไปรูลินาอินทรีย์จากน้ำทิ้งโรงอาหารอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อผลิตอาหารปลาปลอดภัยสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ ๑ (พ.ศ. 2555-2559)
โครงการที่ 2) การเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของ สาหร่ายสไปรูลินาสายพันธุ์ แม่โจ้ กับสายพันธุ์อื่นๆ ในระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.

การนำผลงานการบริการวิชาการมาประยุกต์ใช้กับการเรียน การสอน
1) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสาหร่าย และแพลงก์ตอน: การใช้สาหร่าย แพลงก์ตอน และพืชน้ำ ในการผลิตสัตว์น้ำอินทรีย์ เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร
2) โครงการระบบการเพาะเลี้ยงและการสร้าง Brand วิสาหกิจชุมชนต้นแบบในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ บ้านแม่แก๊ดน้อย ตำบลสันหลวง อำเภอสันทราย จ. เชียงใหม่
3) โครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า ณ สมหมายฟาร์ม และเทวินฟาร์ม ต. สันทรายหลวง อ. สันทราย จ. เชียงใหม่
โดยคุณสมบัติของน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามเกณฑ์มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีค่าดังนี้
-pH อยู่ระหว่าง 6.5-8.5
-DO ไม่ต่ำกว่า 5 mg/l
-ค่าความเป็นด่าง (alkalinity) อยู่ระหว่าง 100-120 mg/l as CaCO3
- ค่าฮอร์โธฟอสเฟส-ฟอสฟอรัส ( PO4-P) อยู่ระหว่าง 0.1-0.5 mg/l
-ค่าแอมโมเนียม-ไนโตรเจน (NH3-N) ไม่เกิน 0.05 mg/l
(Boyd and Tucker, 1992)
และมีแนวทางในการป้องกันที่สอดคล้องกับหลักการป้องกันมลพิษน้ำมี 3 ข้อ ดังนี้
1. หลักการอนุรักษ์ เช่น ลดการใช้ยาฆ่าแมลงและศัตรูพืช ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ในขณะอาบน้ำหรือ แปรงฟัน ทำให้มนุษย์มีทรัพยากรธรรมชาติใช้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น
2. หลักการกำจัดมลสารด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4 กระบวนการผสมผสานกัน ได้แก่ กระบวนการทางกายภาพ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์แบบผสมผสาน เพื่อกำจัดมลสารที่ปนเปื้อนในน้ำทำให้มนุษย์สามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ตลอดไป
3. หลักการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนมีจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้น้ำ โดยการแจก
แผ่นพับ โปสเตอร์ให้ประชาชนทราบและนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล