โครงการการนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ประจำปีงบประมาณ 2557

วันที่เริ่มต้น 17/02/2557 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 31/08/2557 เวลา 0:00
สถานที่จัด บ้านดินพอเพียง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
จังหวัดหวัดชุมพรถือได้ว่าเป็นประตูสู่ภาคใต้ และด้วยทรัพยากรที่มีความโดดเด่นและหลากหลาย ทั้งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และ วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนปักษ์ใต้ ซึ่งวิสัยทัศน์ในการพัฒนาของจังหวัด คือ การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยวชั้นนำของภาคใต้ แต่ด้วยปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งสภาวะเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองระดับประเทศ ตลอดจนปัญหาภัยธรรมชาติจากสภาวะอุณหภูมิบรรยากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้ผลผลิตและราคาผลิตผลการเกษตรไม่เป็นไปตามความคาดหมาย รายได้ที่พึงจะได้รับลดน้อยลงและไม่สมดุลกับค่าใช้จ่าย ดังนั้นประชาชนในจังหวัดชุมพร จึงหันกลับมาพึ่งพระบารมีตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ทั้งในระดับครอบครัวและระดับชุมชนให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมและพื้นที่นั้นๆ จนประสบผลสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันหลายชุมชนมีการพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ตามศาสตร์พระราชา โดยเฉพาะศาสตร์แห่งการพึ่งพาตนเองในระดับครัวเรือน และองค์กร ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้เพลิน ภายในชุมพรคาบาน่ารีสอร์ท อำเภอปะทิว , ศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาแก้มลิงหนองใหญ่ โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ตามพระราชดำริ อำเภอเมือง , ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนคนอยู่กับป่า (หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ) อำเภอพะโต๊ะ , ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านกำนันเคว็ด อำเภอหลังสวน , ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติบ้านทอนอม (บ้านลุงนิล) อำเภอทุ่งตะโก เป็นต้น ทั้งนี้กิจกรรมการเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าว มีการขับเคลื่อนโดยภาคประชาชนภายใต้ชื่อ “เครือข่ายจากภูผาสู่มหานที” ซึ่งการรวมเครือข่ายแต่ละครั้งมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเรื่อง เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ และเครือข่ายธนาคารต้นไม้ โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ดังนั้นในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการเกษตร และเป็นแหล่งผลิตบุคลากรออกสู่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก โดยมีการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่นักศึกษา บุคคลากร ประชาชนภายในท้องถิ่น และบุคคลทั่วไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายผลสู่การนำกลับไปใช้ที่บ้าน และในชีวิตประจำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป กอปรกับมหาวิทยาลัยฯ เป็นสมาชิกของเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที จึงควรมีการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ด้วยศาสตร์แห่งพระราชา โดยการนำเอาองค์ความรู้ด้านต่างๆ ของสมาชิกเครือข่ายฯ มาปรับใช้กับพื้นที่มหาวิทยาลัยฯ เช่น การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำและจุลินทรีย์น้ำ การทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อเป็นคลังอาหาร การแยกขยะเปียกเพื่อทำปุ๋ยน้ำชีวภาพและเป็นอาหารสัตว์เศรษฐกิจเพื่อลดต้นทุน การปลูกต้นไม้สำหรับใช้สอยตามแนวคิดป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อการใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีคุณค่า และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมของนักศึกษาและบุคลากร นอกจากนี้เพื่อร่วมเผยแพร่องค์ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ระดับองค์กร จนถึงระดับประเทศ นำไปสู่การพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจ และพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 6  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 150 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   150 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
สำเร็จตามวัตถุประสงค์
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล