ประเภท/ลักษณะงาน
ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ไม่ระบุ
เป้าหมายผู้เข้าร่วม
320
คน
จำนวนผู้เข้าร่วม
ไม่ระบุ
คน
รายรับ
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่ารายรับ
ไม่ระบุ
บาท
ค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตปลานิล จากการร่วมเสวนาของวิทยากร ประกอบด้วย
1. กลไกการตลาดปลานิลในจังหวัดเชียงราย คือ เกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตได้เอง
2. การรวมกลุ่มเลี้ยงปลานิลแล้วขาดระบบบริหารจัดการกลุ่มทำให้ไม่ยั่งยืน
3. การผลิตปลานิลเพื่อการส่งออกยังขาดการศึกษากลไกการตลาดประเทศอื่น ๆ ที่เป็นประเทศรับซื้อ อาทิเช่น ต้นทุนการผลิตปลานิลของประเทศจีนที่ถูกกว่าระบบการผลิตในประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปปรับลดปริมาณการนำเข้าปลานิลจากประเทศไทยขณะที่ยังมีกำลังการผลิตเท่าเดิม เป็นต้น
4. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการประมงยังขาดการสำรวจตลาดผู้บริโภค ว่าด้วยเรื่องของคุณภาพ ราคา บรรจุภัณฑ์ และความนิยมของตลาดเป้าหมาย เช่น การผลิตปลาหยองเพื่อส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น และขนมปั้นสิบ คุกกี้ หรือไส้อั่วปลาเพื่อผลิตเป็นสินค้าชุมชนต้นแบบ เป็นต้น
5. ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตปลานิลที่เป็นสถิติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลผลิตปลานิลที่มีต่อพื้นที่ในจังหวัดกับปริมาณการส่งออกของผลิตภัณฑ์ไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลวัตถุดิบได้อย่างถูกต้องเพราะข้อมูลที่มีในแต่ละหน่วยงานไม่สอดคล้องกัน เป็นต้น
6. การกำหนดราคาผลผลิตปลานิลหรือสัตว์น้ำในการส่งออกในปัจจุบันนั้นประเทศผู้ซื้อบางประเทศเข้ามามีบทบาทในการกำหนดราคาส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตโดยตรง
แนวทางการจัดการเพื่อให้เกิดการเลี้ยงปลานิลอย่างยั่งยืน จากการร่วมเสวนาของวิทยากร ประกอบด้วย
1. การสร้างพ่อค้าในชุมชนเพื่อให้สามารถกำหนดราคาผลผลิตที่เป็นธรรมต่อผู้เลี้ยงได้เอง
2. การสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงปลาในชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืนและมีส่วนแบ่งการตลาดของชนิดปลาที่เลี้ยงอย่างสมดุล ยกตัวอย่าง กลุ่มสันทรายแบ่งส่วนการตลาดโดยการรับซื้อผลผลิตปลานิลร่วมกับปลาดุก
3. การสนับสนุนสถานศึกษาให้กำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีแนวทางด้านการตลาดและนวัตกรรม เพื่อรองรับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการด้านการประมงในอนาคต
4. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการประมงควรมีแผนประเมินความต้องการของผู้บริโภคก่อนให้การสนับสนุนหรือขับเคลื่อนนโยบาย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการผลิตปลาอินทรีย์กับมูลค่าผลผลิตที่ได้
5. การดำเนินงานภาคเอกชนใช้ระบบกลไกทางการตลาดในการปรับแผนในการผลิตปลานิลเป็นสำคัญ เนื่องด้วยระบบบริหารจัดการไม่สามารถหยุดหรือเลิกกิจการระหว่างรอบการผลิตได้ เพราะในตลาดปลานิลยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อสร้างธุรกิจให้อยู่ในระดับของความยั่งยืนก็จะเป็นความมั่นคงของครอบครัวต่อไป