โครงการศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2558

วันที่เริ่มต้น 03/08/2558 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 31/08/2558 เวลา 0:00
สถานที่จัด ไม่ระบุ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะเศรษฐศาสตร์ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
คณะเศรษฐศาสตร์ 1
หน่วยงานภายนอก 0
รวม 1

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
จากการการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลการพัฒนาเหล่านี้ก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้านลบตามมาด้วย โดยเฉพาะกับนักเรียน นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มักประสบปัญหาการตามกระแสวัตถุนิยม และความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ จนทำให้เยาวชนไทยหลงผิดไปตามกระแสนิยมจนกลายเป็นปัญหา
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างผู้ที่มีความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ และมีการเรียนการสอนด้านการสหกรณ์ รวมถึงด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่ครอบคลุมในหลาย ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับการเกษตรที่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทย แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อการนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษา เพื่อให้ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีความเข้าใจในในหลักการและพื้นฐานทางการเกษตรโดยผ่านการปฏิบัติ ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งคณะเศรษฐศาสตร์ได้รับการจัดสรรพื้นที่ภายในฟาร์มมหาวิทยาลัยสำหรับใช้เป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ ซึ่งในพื้นที่ประกอบไปด้วยบ่อเก็บน้ำ 1 แห่ง และอาคารโรงเรือนจำนวน 1 หลัง ประกอบกับศูนย์วิจัยฯ มีพันธกิจในการจัดบริการวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยการประยุกต์และพัฒนาองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ
ดังนั้น ศูนย์วิจัยฯ จึงจัดทำ โครงการ ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ โดยอาศัยพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรภายในฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เนื้อที่ 35 ไร่ เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ การผลิตทางการเกษตรให้กับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ คณาจารย์สามารถใช้ประโยชน์ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาหลักเกษตรกรรมทั่วไป เศรษฐศาสตร์การผลิต การจัดการฟาร์ม บัญชีฟาร์ม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการตลาดเกษตร เป็นต้น โดยจะได้มีการจัดทำแปลงสาธิตการผลิตไม้ผล จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ มะม่วง มะนาวและลำไยนอกจากนั้นยังจะมีการปรับปรุงอาคารโรงเรือนโดยการติดตั้งระบบไฟฟ้า เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและงานด้านบริการวิชาการของคณะเศรษฐศาสตร์ต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 3  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 50 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล