กลองหลวงล้านนาไทย_ ครั้งที่ 11_3 พ.ค.2558 (06837)

วันที่เริ่มต้น 03/05/2558 เวลา 6:00 วันที่สิ้นสุด 03/05/2558 เวลา 19:00
สถานที่จัด ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อ.อำเภอ จ.เชียงใหม่ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะผลิตกรรมการเกษตร สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
พงษ์ศิริ ศรีธิวงศ์
กอบลาภ อารีศรีสม คณะผลิตกรรมการเกษตร
อรชร ศรีดวงแก้ว คณะผลิตกรรมการเกษตร ฝ่ายกิจการพิเศษ
อรทัย จันต๊ะมงคล คณะผลิตกรรมการเกษตร ฝ่ายกิจการพิเศษ
อภิริยา นามวงศ์พรหม คณะผลิตกรรมการเกษตร สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
5501101376   นายสหพล   จิ๋ว : พืชไร่ 8ชั่วโมง
5501113332   นางสาวศรัณยา   ปัญญายืน : ปฐพีศาสตร์ 8ชั่วโมง
5501124333   นางสาวสวรรค์ญา   อ่วมจิ๋ว : เกษตรเคมี 8ชั่วโมง
5501125335   นางสาวรัชดาภรณ์   หอมจันทร์ : การพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร 8ชั่วโมง
5501126342   นางสาวอังสนา   อินเสน : วิทยาการสมุนไพร 8ชั่วโมง
5701101369   นายสิริวุฒิ   นาสมยนต์ : พืชไร่ 8ชั่วโมง
5701105310   นางสาวจันทร์จิรา   ซาววงค์ : อารักขาพืช (กีฏวิทยา) 8ชั่วโมง
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการส่งเสริมในด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างในสังคม จึงให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตศิลปะ วัฒนธรรมของชาวล้านนา กลองหลวงเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนาที่เก่าแก่อีกชนิดหนึ่ง เป็นศิลปะทางวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับสังคมล้านนาไทยมาอย่างช้านาน ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดนี้แสดงออกถึงความสามารถทางเชิงช่างของคนโบราณ ที่นำไม้มาทำเป็นกลองเพื่อเป็นการประกอบการบรรเลงดนตรีของคนไทยล้านนา นับเป็นเครื่องดนตรีที่ยิ่งใหญ่ อลังการ แทบจะพูดได้ว่าไม่มีชนชาติใดทำได้

ชาวล้านนามีประเพณีการตีกลองหลวงในงานพิธีสำคัญและงานรื่นเริงต่างๆ สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการชมรมกลองหลวงล้านนาไทย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พิจารณาจัดการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทยขึ้น โดยเอากลองหลวงที่มีอยู่ในเขตภาคเหนือมาร่วมประกวด และเห็นว่าขบวนแห่แบบศิลปล้านนาไทยนั้น เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้เพราะชาวล้านนามีขบวนแห่ที่สวยงามในโอกาสต่าง ๆ เช่น แห่ครัวทาน แห่ลูกแก้ว

สิ่งประกอบในขบวนแห่นั้น แสดงถึงศิลปะอันสวยงามมีคุณค่าควรอนุรักษ์และนำออกมาเผยแพร่ต่อคนรุ่นใหม่ โดยประกอบด้วยธงทิว ตุงชัย ต้นหมาก ต้นผึ้ง หมากสุ่ม หมากเบ็ง พร้อมทั้งการแข่งขันฟ้อนพื้นเมือง ซึ่งการจัดการแข่งขันแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทยและการฟ้อนเล็บพื้นเมืองแสดงถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและ เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่ดีงามต่อไป ตลอดจนสร้างจุดสนใจให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดเชียงใหม่

จึงเห็นเป็นการสมควรจัดการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย ครั้งที่ 11 ประจำปี 2558 ในวันอาทิตย์ ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จะมาเยี่ยมชมสักการะอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และเดินจับจ่ายซื้อของที่ถนนคนเดิน ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำนุบำรุงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมไทยล้านนา ให้เป็นมิ่งขวัญศิริมงคลแก่เกษตรกรไทย และวัดวาอารามต่างๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย
และจัดกิจกรรมแข่งขันฟ้อนเล็บล้านนา ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลานกิจกรรมหน้าอาคารคณะศิลปศาสตร์ เพื่อให้ทีมแข่งขันฟ้อนเล็บได้เข้ามาเยี่ยมชม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 8  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 1500 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   196400 บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย 192205 บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม 2558 จัดการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย ครั้งที่ 11 เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองชัย จูวัฒนสำราญ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร กล่าวรายงานที่มาและวัตถุประสงค์ในการจัดงาน และได้รับเกียรติจาก อาจารย์กฤษดา ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกลองหลวง มีศรัทธาประชาชนจากจังหวัดเชียงใหม่ - ลำพูน ส่งกลองหลวงเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 30 ลูก โดย ดร.เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้มอบรางวัล
1. รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ กลองหลวงจากวัดสปุ๋งหลวง
2. รางวัลชนะอันดับ 2 ได้แก่ กลองหลวง ขุนน้ำอินทนนท์
3. รางวัลชนะอันดับ 3 ได้แก่ กลองหลวง เจ้าพ่อเมืองจี้
4. รางวัลชนะอันดับ 4 ได้แก่ กลองหลวง เหมืองจี้หลวง
การจัดงานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ท่องเที่ยวรอบบริเวณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
ซึ่งเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน อีกทั้งคณะผลิตฯ
ยังได้บูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา โดยการนำเด็กนักศึกษาเข้าร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมทั้งกระบวนการ
ซึ่งถือว่าได้รับความร่วมมือจากสโมสรและชมรมนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ในการจัดเตรียมงานทั้งกระบวนการเป็นอย่างดี
อีกทั้งนักศึกษายังได้รับประสบการณ์การจัดกิจกรรม โดยการประยุกย์ใช้กระบวนการ PDCA
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล